กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบลเทศบาลตำบลควนธานี

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการชุมชนลดเสี่ยงลดโรคไม่ติดต่อเรื้อรังโดยบัดดี้ อสม. ปี 2567

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบลเทศบาลตำบลควนธานี

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลควนธานี

ม.1-6 ตำบลควนธานี

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวานความดัน

ปัจจุบันโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs) หรือที่เรียกกันว่า “โรควิถีชีวิต” ซึ่งเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญในระดับประเทศและระดับโลก เป็นโรคที่สำคัญที่ทำให้คนไทยเจ็บป่วย พิการ และเสียชีวิต มีแนวโน้มความรุนแรงที่เพิ่มขึ้นในทุกๆ ปี จากสภาพเศรษฐกิจและสังคมไทยในปัจจุบัน การดำเนินชีวิตที่ต้องแข่งขันเวลา ทำให้การใส่ใจในการดูแลสุขภาพลดลง โดยสาเหตุของการเกิดโรคนั้น ส่วนหนึ่งมาจากพันธุกรรม และพฤติกรรมสุขภาพที่ไม่เหมาะในการดำเนินชีวิต อันได้แก่ พฤติกรรมการบริโภคอาหาร (รับประทานอาหาร หวาน มัน เค็ม เกินความต้องการที่ร่างกายรับได้ รับประทานผัก ผลไม้น้อยไป) พฤติกรรมทางการเคลื่อนไหวทางกายน้อย ขาดการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ การดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ สูบบุหรี่ รวมถึงภาวะเครียด ทำให้เกิดภาวะไขมันในเลือดสูง ภาวะความดันโลหิตสูง ภาวะน้ำตาลในเลือดสูง ภาวะน้ำหนักเกินและอ้วน ซึ่งถ้าหากไม่มีการจัดการตนเองให้หลีกเลี่ยงจากพฤติกรรมเสี่ยง จะส่งผลให้เกิดการเจ็บป่วยด้วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs) หรือโรควิถีชีวิต พิการ เสียชีวิต และสร้างภาระค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษาเป็นอย่างมากจะเห็นได้ว่าสถานการณ์การเกิดผู้ป่วยโรคเบาหวาน และความดันโลหิตสูง ในพื้นที่รพสต.ควนธานีในปี 2566 พบว่า มีผู้ป่วยความดันโลหิตสูงรายใหม่ จำนวน 19 คน ผู้ป่วยเบาหวานรายใหม่ จำนวน 18 คน ซึ่งยังมีเป็นจำนวนมากที่ไม่สามารถควบคุมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมได้
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลควนธานีได้เล็งเห็นความสำคัญของการติดตามดูแลกลุ่มเสี่ยงที่ยังไม่สามารถควบคุมความดันโลหิต และเบาหวานได้ โดยใช้กระบวนการติดตามกลุ่มเสี่ยงของบัดดี้ อสม.อย่างต่อเนื่อง เพื่อให้กลุ่มเสี่ยงสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพไม่กลายเป็นผู้ป่วย และสามารถกลับมาเป็นกลุ่มปกติได้ จึงได้จัดทำโครงการชุมชนลดเสี่ยงลดโรคไม่ติดต่อเรื้อรังโดยบัดดี้ อสม. ปี 2567

3.00

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อสร้างชุมชนต้นแบบ “ลดเสี่ยง ลดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง” โดยใช้บัดดี้ อสม. ดูแลกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน และความดันโลหิตสูง

๑.อัตราการเกิดโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูงรายใหม่ ในกลุ่มเสี่ยงลดลง

3.00 50.00
2 2.เพื่อให้มีมาตรการชุมชน “ลดเสี่ยง ลดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง”ที่เป็นข้อตกลงของชุมชน

ตัวชี้วัดความสำเร็จ ๑.อัตราการเกิดโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูงรายใหม่ ในกลุ่มเสี่ยงลดลง

2.มีบุคคลต้นแบบ/มาตรการของชุมชน ลดโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง

3.00 70.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 82
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 82
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/01/2024

กำหนดเสร็จ 30/09/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 1.อบรมให้ความรู้อสม.บัดดี้กลุ่มเสี่ยง

ชื่อกิจกรรม
1.อบรมให้ความรู้อสม.บัดดี้กลุ่มเสี่ยง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.อบรมให้ความรู้อสม.บัดดี้กลุ่มเสี่ยง เรื่องโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวานและแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากบุคคลต้นแบบ ในการลดโรค ความดันโลหิตสูงเบาหวานรวม 82 คน - ค่าวิทยากร 600 บาท 1 คน= 3,000 บาท - ค่าอาหารกลางวัน 50 บาท82 คน= 4,100 บาท - ค่าอาหารว่าง 25 บาท 82 คน 2 มื้อ= 4,100 บาท - ค่าวัสดุอุปกรณ์= 1,000บาท
รวม 11200 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มกราคม 2567 ถึง 31 มกราคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.อสม.และแกนนำมีความรู้เรื่องโรคความดันโลหิตสูง เบาหวานและสามารถให้คำแนะนำ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
11200.00

กิจกรรมที่ 2 2.จัดกิจกรรมอบรมกลุ่มเสี่ยงเรื่องการปรับเปลี่ยน พฤติกรรมสุขภาพในชุมชน

ชื่อกิจกรรม
2.จัดกิจกรรมอบรมกลุ่มเสี่ยงเรื่องการปรับเปลี่ยน พฤติกรรมสุขภาพในชุมชน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จัดกิจกรรมอบรมกลุ่มเสี่ยงเรื่องการปรับเปลี่ยน พฤติกรรมสุขภาพ  ในชุมชน 82 คน  จำนวน 2 ครั้ง
- ค่าอาหารว่าง จำนวน 82 คน ๆ ละ 25 บาท 2 ครั้ง  เป็นเงิน = 4,100 บาท   รวมเป็นเงิน 4100 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กุมภาพันธ์ 2567 ถึง 31 มีนาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

กลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง และประชาชนทั่วไปมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพได้อย่างเหมาะสมตามบริบท

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
4100.00

กิจกรรมที่ 3 3 กิจกรรม ติดตามเยี่ยมกลุ่มเสี่ยงที่บ้าน

ชื่อกิจกรรม
3 กิจกรรม ติดตามเยี่ยมกลุ่มเสี่ยงที่บ้าน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ติดตามเยี่ยมกลุ่มเสี่ยงที่บ้าน โดยการวัดความดันโลหิต และเจาะน้ำตาลในเลือด โดยอสม.เดือนละ 1 ครั้ง -  สมุดประจำตัวกลุ่มเสี่ยง จำนวน 82 เล่มๆละ 30 บาท  = 2,460-ค่าเครื่องเจาะน้ำตาลในเลือด จำนวน 6 เครื่อง ๆละ 600 บาท
    เป็นเงิน 3,600 บาท •  -ค่าแถบตรวจน้ำตาลกล่องละ 320 บาท 6 กล่อง เป็นเงิน 1,920 บาท •  -ค่าเข็มเจาะเลือด กล่องละ 100 บาท 6 กล่อง เป็นเงิน 600 บาท
•  รวมเป็นเงิน 8,580  บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มกราคม 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

มีมาตรการของชุมชน ที่เป็นข้อตกลงและปฏิบัติเพื่อไม่เกิดโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง และไตวายเรื้อรังรายใหม่

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
8580.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 23,880.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

๑. บัดดี้ อสม.,กลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง และประชาชนทั่วไปมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพได้อย่างเหมาะสมตามบริบท
๒. บัดดี้ อสม. และกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูงไม่ป่วยเป็นโรคโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง และไตวายเรื้อรังรายใหม่
๓.มีมาตรการของชุมชน ที่เป็นข้อตกลงและปฏิบัติเพื่อไม่เกิดโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง และไตวายเรื้อรังรายใหม่


>