กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการมหัศจรรย์ 1000 วัน พลัส สู่ 2500 วัน

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลลำไพลโดย นางสาวจินตณีย์ หีมบวชตำแหน่งพยาบาลวิชาชีพชำนาญการ

6 หมู่บ้าน ในเขตพื้นที่เทศบาลตำบลลำไพล อำเภอเทพา จังหวัดสงขลาได้แก่พื้นที่ หมู่ที่ 1,2,3,9,11 และ 12 ตำบลลำไพล

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอนามัยแม่และเด็ก

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของหญิงตั้งครรภ์ ที่ฝากครรภ์ก่อน 12 สัปดาห์

 

75.00
2 ร้อยละของหญิงคลอด ที่ได้รับการตรวจและเยี่ยมหลังคลอด

 

100.00
3 ร้อยละของแม่ที่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่เป็นระยะเวลา 6 เดือน

 

40.00
4 ร้อยละของหญิงวัยเจริญพันธุ์ ที่มีภาวะซีด

 

86.00
5 ร้อยละของหญิงฝากครรภ์ที่สามารถฝากครรภ์ครบ 5 ครั้ง

 

73.00
6 ร้อยละของหญิงตั้งครรภ์ ที่ได้รับการคัดกรองและป้องกันโรคทาลัสซีเมีย

 

100.00
7 จำนวนหญิงวัยเจริญพันธุ์ที่มีภาวะตั้งครรภ์วัยรุ่น(อายุน้อยกว่า 20 ปี) (คน)

 

1.00

จากการรายงานอัตราความครอบคลุม

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อให้หญิงตั้งครรภ์เข้ารับบริการฝากครรภ์ทันทีเมื่อทราบว่าตั้งครรภ์ 2.เพื่อให้หญิงตั้งครรภ์ได้รับการดูแลตามมาตรฐาน 5 ครั้งตามเกณฑ์ 3.ทารกแรกเกิดน้ำหนักตัวไม่น้อยกว่า 2,500กรัม4.3 หญิงตั้งครรภ์มีอสม.ดูแลเป็นรายบุคคลมาฝากครรภ์ตามเกณฑ์ 5.เพื่อให้หญิงตั้งครรภ์มีความรู้และตระหนักถึงความสำคัญของการฝากครรภ์และสามารถดูแลตนเองในระยะตั้งครรภ์และหลังคลอดได้

1.ความครอบคลุมหญิงตั้งครรภ์รายใหม่ ฝากครรภ์ก่อน 12 สัปดาห์มากกว่าร้อยละ 80 ( มาฝากครรภ์ก่อน 12 สัปดาห์ ) 2.หญิงตั้งครรภ์ฝากครรภ์ครบ 5 ครั้งตามเกณฑ์มากกว่าร้อยละ 80 3.ทารกแรกเกิดน้ำหนักตัวไม่น้อยกว่า 2,500 กรัม น้อยกว่าร้อยละ 7
4.หญิงตั้งครรภ์ที่มี อสม.ดูแลเป็นรายบุคคลมาฝากครรภ์ตามเกณฑ์ ร้อยละ 100 5.หญิงตั้งครรภ์มีความรู้และสามารถดูแลตนเองในระยะตั้งครรภ์และหลังคลอดได้ ( ตอบแบบสอบถามได้มากกว่า 6/10 ข้อ )

0.00
2 เพื่อส่งเสริมหญิงตั้งครรภ์ฝากครรภ์ครบ 5 ครั้ง

ร้อยละของหญิงฝากครรภ์ ที่สามารถฝากครรภ์ครบ 5 ครั้ง เพิ่มขึ้น

73.00 80.00
3 เพื่อเพิ่มจำนวนหญิงตั้งครรภ์ฝากครรภ์ก่อน 12 สัปดาห์

ร้อยละของหญิงตั้งครรภ์ ฝากครรภ์ก่อน 12 สัปดาห์ (เพิ่มขึ้น)

75.00 80.00
4 เพื่อแก้ปัญหาหญิงวัยเจริญพันธุ์ที่มีภาวะตั้งครรภ์วัยรุ่น

จำนวนหญิงวัยเจริญพันธุ์ที่มีภาวะตั้งครรภ์วัยรุ่น(อายุน้อยกว่า 20 ปี) (คน)

1.00 0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด 60
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 03/10/2023

กำหนดเสร็จ 30/09/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ประชุมชี้แจงโครงการแก่ อสม.เพื่อกำหนดกลุ่มเป้าหมาย และคัดเลือก อสม.แกนนำด้านแม่และเด็ก

ชื่อกิจกรรม
ประชุมชี้แจงโครงการแก่ อสม.เพื่อกำหนดกลุ่มเป้าหมาย และคัดเลือก อสม.แกนนำด้านแม่และเด็ก
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.ประชุมชี้แจงโครงการ แก่ อสม. ในเวทีประชุมประจเดือน อสม.(ไม่ต้องใช้งบประมาณ) 2.คัดเลือก อสม.แกนนำ จำนวน 48 คน

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 ตุลาคม 2566 ถึง 29 กุมภาพันธ์ 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.อสม.เข้ารับฟังการประชุมชี้แจงโครงการ จำนวน 105 คน 2.มี อสม.ที่ได้รับคัดเลือกเพื่อเป็นแกนนำด้านแม่และเด็ก จำนวน 48 คน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมอบรมให้ความรู้ อสม.แกนนำด้านอนามัยแม่และเด็กหมู่บ้านละ 8 คนรวม 48 คน

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมอบรมให้ความรู้ อสม.แกนนำด้านอนามัยแม่และเด็กหมู่บ้านละ 8 คนรวม 48 คน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.ค่าตอบแทนวิทยากรจำนวน1 คน จำนวน 3 ชั่วโมงๆละ 600บาท เป็นเงิน 1,800.00 บาท 2.ค่าอาหารกลางวันจำนวน 48 คนๆละ 1 มื้อๆละ 60 บาทเป็นเงิน 2,880.00 บาท 3.ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 48 คนๆละ 2 มื้อ ๆละ 35 บาทเป็นเงิน 3,360.00 บาท 4.คู่มือปฏิบัติงานสำหรับ อสม.แกนนำแม่และเด็ก จำนวน 48 เลามๆละ 100 บาท เป็นเงิน 4,800.00 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กุมภาพันธ์ 2567 ถึง 31 มีนาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

อสม.แกนนำด้านแม่และเด็ก จำนวน 48 คน มีความรู้ความเข้าใจ และมีแนวทางในการดำเนินงานด้านงานอนามัยแม่และเด็ก

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
12840.00

กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมอบรมให้ความรู้หญิงวัยเจริญพันธุ์ หญิงตั้งครรภ์ และหญิงหลังคลอด กลุ่มเป้าหมาย60คน

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมอบรมให้ความรู้หญิงวัยเจริญพันธุ์ หญิงตั้งครรภ์ และหญิงหลังคลอด กลุ่มเป้าหมาย60คน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรมโรงเรียนพ่อแม่ในกลุ่มหญิงวัยเจริญพันธุ์ หญิงตั้งครรภ์ และ หญิงหลังคลอด จำนวน 60 คน กลุ่มที่ 1 การเตรียมความพร้อมสำหรับการตั้งครรภ์ จำนวน 20 คน
กลุ่มที่ 2 การดูแลตนเองขณะตั้งครรภ์ทั้ง 3 ไตรมาสจำนวน 20 คน
กลุ่มที่ 3 การดูแลฟื้นฟูสุขภาพมารดาหลังคลอดและการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่จำนวน 20 คน

1.ประเมินความรู้ก่อน-หลังให้ความรู้เกี่ยวกับการเตรียมความพร้อมก่อนการตั้งครรภ์ การดูแลตนเองขณะตั้งครรภ์ทั้ง 3 ไตรมาส การดูแลตนเองและบุตรหลังคลอด -ค่าถ่ายเอกสารแบบทดสอบก่อนหลังจำนวน 120 ชุด ๆละ 1 บาท เป็นเงิน 120 บาท(ไม่ใช้งบประมาณ) 2.ให้ความรู้แก่กลุ่มเป้าหมาย โดยแบ่งเป็น 3 กลุ่ม กลุ่มที่ 1 ให้หญิงวัยเจริญพันธุ์หรือหญิงตั้งครรภ์ร่วมกันระดมความคิดเกี่ยวกับการเตรียมความพร้อมก่อนการตั้งครรภ์และนำเสนอ วิทยากรสรุปและให้ความรู้เกี่ยวการเตรียมความพร้อมสำหรับการตั้งครรภ์ การตรวจเลือดเพื่อหาภาวะเสี่ยงก่อนการตั้งครรภ์ การรับประทานยา ให้ความรู้เกี่ยวกับอาหาร การปฏิบัติตัว การปรับตัวเพื่อยอมรับการตั้งครรภ์ การดูแลตนเองขณะตั้งครรภ์

กลุ่มที่ 2 ให้หญิงวัยเจริญพันธุ์หรือหญิงตั้งครรภ์ร่วมกันระดมความคิดเกี่ยวกับการดูแลตนเองขณะตั้งครรภ์ทั้ง 3 ไตรมาส วิทยากรสรุปและให้ความรู้เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของหญิงตั้งครรภ์ การดูแลตนเองขณะตั้งครรภ์ทั้ง 3 ไตรมาส โภชนาการ การนับลูกดิ้น การมีเพศสัมพันธ์ การแต่งกาย อาการผิดปกติที่ควรพบแพทย์ วิธีการออกกำลังกายที่ปลอดภัย อาการผิดปกติที่ต้องไปรพ. กลุ่มที่ 3 ให้หญิงวัยเจริญพันธุ์หรือหญิงตั้งครรภ์ร่วมกันระดมความคิดเกี่ยวกับการดูแลตนเองและบุตรหลังคลอด วิทยากรสรุปและให้ความรู้เกี่ยวกับการดูแลตนเองหลังคลอด เช่นการอาบน้ำ การให้ความรู้เกี่ยวกับประโยชน์ของนมแม่เพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในช่วงหลังคลอดถึง 6 เดือน รายละเอียดค่าใช้จ่าย 1.ค่าจัดทำคู่มือฉบับหญิงตั้งครรภ์และและหญิงหลังคลอด จำนวน 60 เล่มๆละ 120 บาท เป็นเงิน 7,200 บาท 2.ค่าตอบแทนวิทยากรกลุ่ม จำนวน 3 คนๆละ 3 ชั่วโมงๆละ 600 บาท เป็นเงิน 5,400.00 บาท
3.ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 60 คนๆละ 1 มื้อ มื้อละ 60 บาท เป็นเงิน 3,600 บาท 4.ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 60 คน คนละ 2 มื้อๆ ละ 35 บาท เป็นเงิน 4,200 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
16 กุมภาพันธ์ 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

หญิงวัยเจริญพันธุ์หรือหญิงตั้งครรภ์มีความรู้ความเข้าใจเรื่องอนามัยแม่และเด็ก

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
20400.00

กิจกรรมที่ 4 การคัดกรองภาวะซีดในหญิงวัยเจริญพันธุ์

ชื่อกิจกรรม
การคัดกรองภาวะซีดในหญิงวัยเจริญพันธุ์
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.ค้นหาหญิงวัยเจริญพันธุ์ที่เตรียมพร้อมสู่การมีบุตร โดย อสม. 2.กิจกรรมตรวจเลือดเพื่อคัดกรองภาวะซีดในหญิงวัยเจริญพันธุ์     -ค่าแถบตรวจเลือด จำนวน 4  ขวดๆละ 1250 บาท เป็นเงิน 5000.00 บาท    -ค่าเข็มเจาะเลือด  จำนวน 1 กล่องๆละ 350 บาท เป็นเงิน 350 บาท    -สำลีแอลกอฮอล์  จำนวน 1 กล่องๆละ   400 บาท เป็นเงิน  400 บาท 3.จ่ายยาเสริมธาตุเหล็กในหญิงวัยเจริญพันธุ์ที่มีภาวะซีด   - ค่ายาโฟลิคและเฟอรรัส เฟอรมาริค (ใช้จาก รพ.สต.ลำไพล)

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2567 ถึง 31 กรกฎาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

มีหญิงวัยเจริญพันธุ์ได้รับการคัดกรองภาวะซีดเพิ่มมากขึ้น

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
5750.00

กิจกรรมที่ 5 ตรวจพัฒนาการเด็กอายุ 9 เดือน - 5 ปี เชิงรุก

ชื่อกิจกรรม
ตรวจพัฒนาการเด็กอายุ 9 เดือน - 5 ปี เชิงรุก
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.ลงพื้นที่ตรวจพัฒนาการเชิงรุกในกลุ่มที่ไม่สามารถมารับบริการในสถานบริการได้ 2.ส่งต่อกรณีพบพัฒนาการล่าช้า 3.ติดตามพัฒนาการซ้ำ

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

เด็กอายุ 9 เดือน - 5 ปี ได้รับการตรวจพัฒนาการครอบคลุมมากขึ้น

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 6 คัดกรองภาวะซีดในเด็กอายุ 6 เดือน - 1 ปี

ชื่อกิจกรรม
คัดกรองภาวะซีดในเด็กอายุ 6 เดือน - 1 ปี
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.คัดกรองภาวะซีดในเด็กอายุ 6 เดือน -1 ปี
  - ค่าแถบตรวจภาวะซีด จำนวน 2 กล่องๆละ 1250.00 บาท เป็นเงิน 2500.00 บาท   -ค่าเข็มเจาะ จำนวน 1 กล่องๆละ 350 บาท เป็นเงิน 350 บาท   -สำลีแอลกอฮอล  จำนวน 1 กล่องๆละ 400 บาท เป็นเงิน 400 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

เด็กอายุ 6 เดือน-1 ปี ได้รับการคัดกรองภาวะซีดเพิ่มขึ้น

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
3250.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 42,240.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. หญิงตั้งครรภ์ในพื้นที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลลำไพลทุกคน ได้ตระหนักถึงความสำคัญของการฝาก
ครรภ์ก่อนอายุครรภ์ 12 สัปดาห์ และมาฝากครรภ์ครบ 5 ครั้งตามเกณฑ์
2. หญิงตั้งครรภ์ได้รับการดูแลในระยะตั้งครรภ์และหลังคลอดตามกลุ่มความเสี่ยงเป็นรายบุคคลได้อย่างมีคุณภาพ
3. แกนนำอนามัยแม่และเด็กมีความรู้และความสามารถให้การแนะนำแก่หญิงวัยเจริญพันธ์ หญิงตั้งครรภ์และหญิง หลังคลอดให้มีพฤติกรรมในการดูแลสุขภาพของตนเองที่ถูกต้องเหมาะสม


>