กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลชะรัด

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการป้องกันแก้ปัญหายาเสพติด TO BE NUMBER ONE 2567

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลชะรัด

ชมรม To be number ONE บ้านชะรัด

1.นายดำรงค์ หมาดลาย
2.นางสาวนาซีน เอียดวงศ์
3.นางสาววริษา เอียดขาว
4.นางสาวสุริยา โอดภิบาล
5.นางสาวฟารีด๊ะ เงินจันทร์

หมู่ที่ 5 ตำบลชะรัด อำเภอกงหรา จังหวัดพัทลุง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานสิ่งเสพติด

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 จำนวนกลุ่มหรือเครือข่ายเฝ้าระวังยาเสพติดในชุมชน

กลุ้ม ชมรม TO BE NUMBER ONE บ้านชะรัด

1.00
2 จำนวนพื้นที่ปลอดภัย พื้นที่สร้างสรรค์ ที่เอื้อต่อการป้องกัน และแก้ไขปัญหายาเสพติด

รพ.สต.บ้านชะรัด 1 แห่ง

1.00
3 ร้อยละของเด็กและเยาวชน อายุ 6-12 ปีในชุมชน ที่เสี่ยงต่อการใช้สารเสพติด

เด็กและเยาวชน อายุ 612 ปี จำนวน 300 คน
เด็กและเยาวชน อายุ 6-12 ปี ที่เสี่ยงต่อการใช้สารเสพติด จำนวน 55 คน

18.13

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อเพิ่มจำนวนกลุ่มหรือเครือข่ายเฝ้าระวังยาเสพติดในชุมชน

จำนวนกลุ่มหรือเครือข่ายเฝ้าระวังยาเสพติดในชุมชน

1.00 3.00
2 เพื่อเพิ่มจำนวนพื้นที่ปลอดภัย พื้นที่สร้างสรรค์ ที่เอื้อต่อการป้องกัน และแก้ไขปัญหายาเสพติด

จำนวนพื้นที่ปลอดภัย พื้นที่สร้างสรรค์ ที่เอื้อต่อการป้องกัน และแก้ไขปัญหายาเสพติด

1.00 3.00
3 เพื่อลดเด็กและเยาวชน อายุ 6-12 ปีในชุมชน ที่เสี่ยงต่อการใช้สารเสพติด

ร้อยละของเด็กและเยาวชน อายุ 6-12 ปีในชุมชน ที่เสี่ยงต่อการใช้สารเสพติด

18.30 10.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 300
กลุ่มวัยทำงาน 10
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/02/2024

กำหนดเสร็จ 30/09/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ประชุมสร้างความเข้าใจกับคณะทำงาน

ชื่อกิจกรรม
ประชุมสร้างความเข้าใจกับคณะทำงาน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรม
1.ประชุมสร้างความเข้าใจโครงการแก่คณะทำงาน จำนวน 15 คน ประกอบด้วย จนท.รพ.สต./ครู/อสม.
2.กำหนดกติการ่วมกัน
3.คัดเเลือกแกนนำนักเรียนของแต่ละโรงเรียน
งบประมาณ
-ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 15 คน ๆ ละ 20 บาท เป็นเงิน 300 บาท
-ค่าป้ายไวนิลโครงการ ขนาด 1X3 เมตร เป็นเงิน 300 บาท
-ค่าวัสดุ(สมุดบันทึก/ปากกา/ปากกาเคมี/กระดาษบรูฟ) เป็นเงิน 2,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
27 กุมภาพันธ์ 2567 ถึง 27 กุมภาพันธ์ 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.ได้ทะเบียนกลุ่มเป้าหมายสมาชิก
2.ได้กติกา/ข้อตกลงร่วมกัน
3.ได้แกนนำ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
2600.00

กิจกรรมที่ 2 ค่ายเยาวชนวัยใส ใส่ใจป้องกันภัยยาเสพติด

ชื่อกิจกรรม
ค่ายเยาวชนวัยใส ใส่ใจป้องกันภัยยาเสพติด
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรม
- จัดค่ายให้แก่แกนนำนักเรียน จำนวน 50 คน พิธีเปิด พร้อมวิทยากรบรรยาย 1 ชม. หลังจากนั้นแบ่งกลุ่มย่อย 3 กลุ่ม แต่ละกลุ่มไปเรียนรู้ในฐานเรียนรู้ จำนวน 3 ฐาน มีวิทยากรประจำฐานเรียนรู้ ครบทุกฐาน แล้วทุกกลุ่มมาสรุปในที่ประชุมใหญ่ ช่วงบ่าย แต่ละกลุ่มออกแบบ วางแผนการดำเนินงาน/กำหนดกติกาต่างๆ แล้วนำมาเสนอที่ประชุมใหญ่
งบประมาณ
- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม (สำหรับแกนนำและคณะทำงาน) จำนวน 65 คน ๆ ละ 2 มื้อ ๆ ละ 20 บาท เป็นเงิน 2,600 บาท
- ค่าอาหารกลางวัน (สำหรับแกนนำและคณะทำงาน) จำนวน 65 คน ๆ ละ 1 มื้อ ๆ ละ 60 บาท เป็นเงิน 3,900 บาท
- ค่าวิทยากร บรรยาย จำนวน 1 ชั่วโมง ๆ ละ 600 บาท เป็นเงิน 600 บาท
- ค่าวิทยากรประจำฐานเรียนรู้ จำนวน 3 คน ๆ ละ 3 ชม.ๆ ละ 300 บาท เป็นเงิน 2,700 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
30 มีนาคม 2567 ถึง 30 มีนาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.สมาชิกมีความรู้ในเรื่องยาเสพติด
2.มีกติกา/ข้อตกลงร่วมกัน
3.มีแผนการดำเนินงาน
4.ได้แกนนำ/สมาชิกชมรม

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
9800.00

กิจกรรมที่ 3 ร่วมรณรงค์ ตรวจคัดกรองยาเสพติดกับภาคีเครือข่ายในโรงเรียน

ชื่อกิจกรรม
ร่วมรณรงค์ ตรวจคัดกรองยาเสพติดกับภาคีเครือข่ายในโรงเรียน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรม
แกนนำนักเรียนออกร่วมกิจกกรมรณรงค์ยาเสพติดในโรงเรียน ทั้ง 2 โรงเรียน คือ รร.บ้านต้นประดู่ และโรงเรียนวัดควนขี้แรด ให้ความรู้ความเข้าใจ จัดนิทรรศการความรู้ยาเสพติด ร่วมออกตรวจคัดกรอง ร่วมกับ รพ.กงหรา และประเมินกลุ่มเสี่ยง ให้คำปรึกษา และให้การช่วยเหลือกลุ่มเสี่ยง หรือส่งต่อ งบประมาณ
- ค่าจัดทำสื่อประชาสัมพันธ์ยาเสพติด ไวนิล จำนวน 2 ชุด ๆละ 1,000 บาท เป็นเงิน 2,000 บาท
- ค่าเอกสารคัดกรองปัจจัยเสี้ยง จำนวน 300 ชุด ๆ ละ 1 บาท เป็นเงิน 300 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
20 พฤษภาคม 2567 ถึง 21 พฤษภาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.ได้กำลังคนและเครือข่ายเพื่อการเฝ้าระวังยาเสพติดในชุมชน
2.ได้ข้อตกลงร่วมในการเฝ้าระวังยาเสพติดในชุมชน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
2300.00

กิจกรรมที่ 4 ติดตาม เฝ้าระวัง การดำเนินงาน ในโรงเรียน

ชื่อกิจกรรม
ติดตาม เฝ้าระวัง การดำเนินงาน ในโรงเรียน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรม
ประชุมคณะทำงานเพื่อร่วมติดตาม สรุปผลการดำเนินงาน/ จัดทำเอกสารสรุปผลการดำเนินงาน
งบประมาณ
-ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 15 คน ๆ ละ 20 บาท เป็นเงิน 300 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
11 กันยายน 2567 ถึง 11 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

เอกสารสรุปผลการดำเนินงาน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
300.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 15,000.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.มีเครือข่ายเฝ้าระวังยาเสพติดในชุมชน
2.มีพื้นที่ปลอดภัย พื้นที่สร้างสรรค์ ที่เอื้อต่อการป้องกัน และแก้ไขปัญหายาเสพติด
3.เด็กและเยาวชน อายุ 6-12 ปีในชุมชน ที่เป็นกลุ่มเสี่ยงต่อการใช้สารเสพติด ลดลง


>