กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการการประเมินและแก้ไขปัญหาภาวะโภชนาการในเด็กเล็ก และเด็กก่อนวัยเรียน ของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการการประเมินและแก้ไขปัญหาภาวะโภชนาการในเด็กเล็ก และเด็กก่อนวัยเรียน ของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก.....

1.
2.
3.
4.
5.

อบต...............

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอาหารและโภชนาการ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของเด็กอายุ 0-5 ปี ที่มีภาวะผอม

 

10.00
2 ร้อยละของเด็กอายุ 0-5 ปี ที่มีภาวะเตี้ย

 

10.00

ภาวะโภชนาการที่ดี เป็นรากฐานสำคัญของการมีสุขภาพดีตลอดชีวิตโดยเฉพาะในช่วงที่มีการเจริญเติบโตตั้งแต่ในครรภ์มารดาจนถึงวัยรุ่น เนื่องจากการเจริญเติบโตมีทั้งด้านสมองและร่างกาย หากขาดอาหาร สิ่งที่พบเห็นคือ เด็กตัวเล็ก ผอมเตี้ย ซึ่งเป็นการแสดงออกทางด้านร่างกาย แต่ผลที่เกิดขึ้นมิใช่แค่เพียงด้านร่างกายเท่านั้น ยังมีผลต่อการพัฒนาสมองด้วยทำให้สติปัญญาต่ำ เรียนรู้ช้า อีกด้วย เด็กตั้งแต่แรกเกิดจนถึง 2 ปี มีการเจริญเติบโตทางด้านสมองมากกว่าด้านร่างกายเช่นเดียวกับในช่วงที่อยู่ในครรภ์มารดา หลังจากนั้นสมองจะมีการพัฒนาไปเรื่อยๆ ควบคู่กับการเจริญ- เติบโต ทารกแรกเกิดจะมีน้ำหนักตัวประมาณ 3,000 กรัม น้ำหนักตัวจะเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในช่วงปีแรก โดยมีน้ำหนักตัวเป็น 2 เท่าของน้ำหนักแรกเกิดเมื่ออายุ 5 เดือน และประมาณ 3 เท่าของแรกเกิดเมื่ออายุ 1 ปี หลังจากนั้น น้ำหนักตัวจะเพิ่มเพียงปีละ 2-3 กิโลกรัม สำหรับความยาวของเด็กแรกเกิด โดยเฉลี่ยประมาณ 50 เซนติเมตร และที่อายุ 1 ปี เพิ่มเป็น 1.5 เท่าของส่วนสูงแรกเกิดหรือประมาณ 75 เซนติเมตร ที่อายุ 4 ปี เพิ่มเป็น 2 เท่าของแรกเกิดหรือประมาณ 100 เซนติเมตร ดังนั้น อาหารจึงเป็นปัจจัยสำคัญต่อสติปัญญาและสุขภาพของเด็ก รวมทั้งพัฒนาการของเด็ก เด็กที่กินอาหารครบ 5 หมู่และมีความหลากหลาย ในปริมาณที่เหมาะสม จะมีการเจริญเติบโตดี การพัฒนาของสมองดี เด็กจะฉลาด เรียนรู้เร็ว มีความสนใจต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นผลทำให้พัฒนาการของเด็กเหมาะสมตามวัยแต่ในทางตรงกันข้าม เด็กที่ได้รับอาหารไม่เพียงพอ ย่อมมีผลทำให้การพัฒนาของสมองไม่ดี ไม่ฉลาด ไม่อยากเรียนรู้สิ่งต่างๆรอบตัว และเรียนรู้ช้า เป็นผลให้มีพัฒนาการไม่เหมาะสมตามวัยแม้เด็กจะได้รับการกระตุ้นพัฒนาการ จะไม่สามารถปรับปรุงให้ดีขึ้นได้หากยังไม่แก้ไขในเรื่องการขาดอาหารของเด็กเสียก่อน
การประเมินการเจริญเติบโตของเด็ก จะทำให้ทราบว่า เด็กได้รับสารอาหารปริมาณมาก (คาร์โบไฮเดรท ไขมัน โปรตีน) เพียงพอหรือไม่ ทั้งนี้ การเจริญเติบโตของเด็กอายุ 0-5 ปี เปลี่ยนแปลงได้ง่าย จึงจำเป็นต้องมีการประเมินการเจริญเติบโตทุก 3 เดือน เพื่อติดตามการเปลี่ยนแปลงการเจริญเติบโต ทำให้สามารถส่งเสริมการเจริญเติบโต หรือป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาโภชนาการด้านขาดและเกินหรือหากมีปัญหาโภชนาการแล้ว จะได้จัดการแก้ไขได้ทันท่วงที

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อลดภาวะผอม ในเด็กอายุ 0-5 ปี

ร้อยละของเด็กอายุ 0-5 ปี ที่มีภาวะผอม ลดลง 50%

10.00 10.00
2 เพื่อลดภาวะเตี้ยในเด็กอายุ 0-5 ปี

ร้อยละของเด็กอายุ 0-5 ปี ที่มีภาวะเตี้ย ลดลง 10%

10.00 10.00
3 เพื่อประเมินและเฝ้าระวังภาวะโภชนาการเด็กเล็ก และเด็กก่อนวัยเรียน

เด็กทุกคนได้รับการประเมินและเฝ้าระวังภาวะโภชนาการเด็กเล็ก และเด็กก่อนวัยเรียน 100 %

60.00 60.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 60
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/10/2023

กำหนดเสร็จ 30/06/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 สำรวจข้อมูลสุขภาพ จัดทำทะเบียน และฐานข้อมูลสุขภาพ ของนักเรียน

ชื่อกิจกรรม
สำรวจข้อมูลสุขภาพ จัดทำทะเบียน และฐานข้อมูลสุขภาพ ของนักเรียน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ตรวจสอบสภาพเครื่องชั่งน้ำหนักและที่วัดส่วนสูง หากชำรุด ขอสนับสนุนกองทุนฯ เพื่อจัดหาทดแทน
  2. ดำเนินการชั่งน้ำหนักและวัดส่วนสูงเด็กเล็กที่พ่อแม่นำมาฝาก ทุก 3 เดือน
  3. บันทึกผลน้ำหนักและส่วนสูงในสุมดทะเบียนเด็ก พร้อมแจ้ง พ่อแม่/ผู้ปกครองทราบและบันทึกในสมุดบันทึกสุขภาพเด็กสีชมพู
  4. จัดทำทะเบียนเด็กที่มีน้ำหนักเกินหรืออ้วน และเด็กที่มีน้ำหนัก น้อยหรือผอม แยกเป็นการเฉพาะ
    ค่าใช้จ่าย

- ค่าเครื่องชั่งน้ำหนัก (หากชำรุด)จำนวน 1 เครื่อง เป็นเงิน 1,500 บาท
- ค่าที่วัดส่วนสูง (หากชำรุด) จำนวน 1 เครื่อง เป็นเงิน 2,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 ตุลาคม 2566 ถึง 31 ตุลาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ทะเบียนเด็กที่มีน้ำหนักเกินหรืออ้วน และเด็กที่มีน้ำหนัก น้อยหรือผอม

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
1200.00

กิจกรรมที่ 2 การอบรมเชิงปฏิบัติการสำหรับผู้ปกครอง ในการดูแลน้ำหนักเด็ก(อ้วนหรือผอม)

ชื่อกิจกรรม
การอบรมเชิงปฏิบัติการสำหรับผู้ปกครอง ในการดูแลน้ำหนักเด็ก(อ้วนหรือผอม)
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • เชิญผู้ปกครองเด็กที่มีน้ำหนักเกินหรืออ้วน น้ำหนักน้อยหรือผอมเข้าร่วมการอบรมเชิงปฏิบัติการในการดูแลน้ำหนักเด็ก โดย วิทยากรจาก รพ. หรือ รพ.สต. (หรือตามหลักสูตรกรมอนามัย)
  • ความสำคัญของอาหาร อาหารที่เหมาะสมสำาหรับเด็กอ้วน อาหารที่ควรเพิ่มสำาหรับเด็กผอม
  • วิธีการปรับพฤติกรรมและนิสัยการกินของเด็ก
  • ความสำคัญของการเล่นและการออกกำลัง
  • วิธีการกระตุ้นให้เด็กเล่นและลดพฤติกรรมเนือยนิ่ง
  • การเป็นแบบอย่างที่ดีแก่เด็ก
    ค่าใช้จ่าย
  • ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 30 คน คนละ 50 บาท / มื้อ จำนวน 1 มื้อ เป็นเงิน 1,500 บาท
  • ค่าอาหารว่างและเครืองดื่ม จำนวน 30 คน คนละ 20 บาท / มื้อจำนวน 1 มื้อ เป็นเงิน 600 บาท
  • ค่าตอบแทนวิทยากร จำนวน 3 ชั่วโมง ชั่วโมงละ400 บาท เป็นเงิน 1,200 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤศจิกายน 2566 ถึง 15 พฤศจิกายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้ปกครองเด็กที่มีน้ำหนักเกินหรืออ้วน น้ำหนักน้อยหรือผอมเข้าร่วมการอบรมเชิงปฏิบัติการในการดูแลน้ำหนักเด็ก ร้อยละ80%

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
3300.00

กิจกรรมที่ 3 ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและอาหารเสริมสำหรับเด็ก (อ้วน/ผอม)

ชื่อกิจกรรม
ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและอาหารเสริมสำหรับเด็ก (อ้วน/ผอม)
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

-ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและอาหารเสริมสำหรับเด็ก (อ้วน/ผอม) ครูผู้ดูแลเด็กร่วมกับผู้ปกครองในการแก้ปัญหาเด็กน้ำหนักเกิน หรืออ้วน น้ำหนักน้อยหรือผอม โดย 1.1 ที่ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก - ครูผู้ดูแลเด็ก กระตุ้นให้เด็กอ้วนลดพฤติกรรมเนือยนิ่ง และออกไปเล่นในสนามอย่างน้อยให้ได้วันละ 60 นาที หรือมากกว่า กระตุ้นให้เด็กกินผักผลไม้มากขึ้น(ตามที่กรมอนามัยแนะนำ)
- กรณีเด็กผอม ครูผู้ดูแลเด็กเพิ่มอาหารเสริมให้เด็ก 1 มื้อ เช่น นมและไข่ กระตุ้นให้เด็กเล่นตามปกติ อย่างน้อย วันละ 60 นาที (ตามที่กรมอนามัยแนะนำ)
1.2 ที่บ้าน - ผู้ปกครอง กรณีเด็กอ้วน ดูแลเรืองการกินของเด็ก ลดการ กินขนมกรุบกรอบ / ขนมหวาน กินโปรตีนเนื้อสัตว์ กระตุ้น ให้เล่นเพิ่มเติม กรณีเด็กผอม กระตุ้นให้เด็กกินมากขึ้น เพิ่มอาหารที่มีไขมัน / โปรตีน (ตามที่กรมอนามัยแนะนำ)
2. จัดหานม ปลากระป๋องและไข่เพิ่มเติม สำหรับให้เด็กที่ศูนย์เด็กเล็ก และสนับสนุนให้เด็กที่ครอบครัวมีฐานะยากจน
ค่าใช้จ่าย
-ค่าอาหารเสริม เช่น นมกล่อง จำนวน 20 กล่อง กล่องละ 5 บาท วันละ 1 มื้อ จำนวน 120 วัน เป็นเงิน 12,000 บาท, ไข่/ปลา/ไก่/เนื้อสัตว์/ผัก/ผลไม้ จำนวน 20 คนมื้อละ 10 บาท วันละ 1 มื้อ 120 วัน เป็นเงิน 24,000 บาท
- ค่าป้ายประชาสัมพันธ์ไวนิล เป็นเงิน 500 บาท
- ค่าวัสดุ / อุปกรณ์ที่ใช้ในการดำเนินงาน เป็นเงิน 300 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 ธันวาคม 2566 ถึง 30 มิถุนายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  • เด็กได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ทุกคน ทุกวัน ร้อยละ 90 %
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
36800.00

กิจกรรมที่ 4 ติดตามประเมินภาวะโภชนาการ และให้คำแนะนำอย่างต่อเนื่อง

ชื่อกิจกรรม
ติดตามประเมินภาวะโภชนาการ และให้คำแนะนำอย่างต่อเนื่อง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ชั่งน้ำหนัก / วัดส่วนสูงเด็ก เดือนละ 1 ครั้ง จนครบ 3-6 เดือน และแนะนำผู้ปกครองให้ดำเนินการต่อเนื่อง
  • สรุปผลการดำเนินงานตามแผนงานโครงการพร้อมแนบรายงาน ส่งให้กองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 ธันวาคม 2566 ถึง 31 กรกฎาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.รายงานน้ำหนักและส่วนสูงของเด็ก
2.รายงานสรุปผลการดำเนินงานของโครงการฯ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 41,300.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

เด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียนมีภาวะโภชนาการปกติ


>