กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลคลองทรายขาว

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการสร้างเสริมสุขภาพผู้สูงอายุแบบองค์รวมตำบลคลองทรายขาวปีงบประมาณ 2567

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลคลองทรายขาว

สำนักงานสาธารณสุขอำเภอกงหรา

ตำบลคลองทรายขาว

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานผู้สูงอายุ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 จำนวนผู้สูงอายุที่ได้รับการคัดกรองแล้วมีภาวะซึมเศร้าและกังวล(คน)

 

13.00
2 ร้อยละของผู้สูงอายุ ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (150 นาทีต่อสัปดาห์)

 

20.00
3 จำนวนบุคคลในครอบครัวที่มีความรู้ความเข้าใจและสามารถปฏิบัติต่อผู้สูงอายุที่ต้องได้รับการดูแล (คน)

 

104.00
4 ร้อยละของผู้สูงอายุที่มีกลุ่มหรือสังกัดชมรม

 

52.00
5 ร้อยละสถานที่หรือพื้นที่สาธารณะที่มีสภาพแวดล้อมเอื้อต่อการใช้ชีวิตของผู้สูงอายุ

 

40.00
6 ร้อยละของผู้สูงอายุที่มีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูง

 

23.99
7 ร้อยละของผู้สูงอายุทีมีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน

 

24.00

หลักการและเหตุผล
คุณภาพชีวิตที่ดี เป็นเป้าหมายหลักของสังคม คือประชาชนมีสุขภาพอนามัยดีทั้งร่างกาย และจิตใจทุกเพศ ทุกวัย จากสถานการณ์ผู้สูงอายุของประเทศไทย พบว่าประเทศไทยเริ่มเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ (Aging Society) ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2548 และมีแนว โน้มการเพิ่มขึ้นของผู้สูงอายุร้อยละ 3.6 ต่อปี และในปี พ.ศ. 2566พบว่าจังหวัดพัทลุงมีผู้สูงอายุจำนวน 9,916คน คิดเป็นร้อยละ 24.82 ซึ่งเป็นการเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์(Complete Aging Society) และตำบลคลองทรายขาว มีผู้สูงอายุจำนวน 1,011 คน จากประชากรทั้งหมด 5,395 คน คิดเป็นร้อยละ 18 73 จากการพัฒนาด้านสาธารณสุขและทางการแพทย์ ทำให้อัตราการตายลดลง ผู้สูงอายุมีชีวิตที่ยืนยาวขึ้น ยังไงก็ตามจากการเสื่อมถอยของร่างกายตามวัย รวมทั้งผลข้างเคียงและภาวะแทรกซ้อนจากโรคเรื้อรังหรืออุบัติเหตุ ได้นำไปสู่ความถดถอยของร่างกาย เกิดภาวะพึ่งพิง ไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ หรือช่วยเหลือตนเองได้น้อย ทำให้มีผลกระทบทางด้านเศรษฐกิจ สังคม และครอบครัว รวมถึงคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุเอง จึงมีการจัดทำแผนยุทธศาสตร์ชาติเพื่อพัฒนาระบบการดูแลสุขภาพให้รองรับและสอดคล้องกับสถานการณ์ผู้สูงอายุ โดยเน้นการพัฒนาที่ยั่งยืน มีความเป็นเลิศ 4 ด้านของกระทรวงสาธารณสุข คือ 1) ส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค และคุ้มครองผู้บริโภคเป็นเลิศ (Promotion, Prevention & Protection Excellence)2) บริการเป็นเลิศ (Service Excellence)3) บุคลากรเป็นเลิศ (People Excellence)4) บริหารเป็นเลิศด้วยธรรมาภิบาล (Governance Excellence) เพื่อให้บรรลุเป้าหมาย “ผู้สูงอายุสุขภาพดี ดูแลตนเองได้ และมีคุณภาพชีวิตที่ดี”
ดังนั้น เพื่อให้การดำเนินงาน การส่งเสริม ป้องกัน และสร้างสุขภาพตามนโยบายของรัฐบาล และกระทรวงสาธารณสุข เป็นไปตามนโยบายของกระทรวงสาธารณสุข และสอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์ชาติอำเภอกงหราจึงได้จัดดำเนินโครงการการส่งเสริมการดูแลสุขภาพของผู้สูงอายุแบบองค์รวม ประจำปี 2564 ขึ้น โดยมุ่งหวังให้ประชาชนในวัยสูงอายุมีความรู้ ตระหนัก และมีพฤติกรรมในการดูแลตนเองและครอบครัว อย่างถูกต้องเหมาะสม รวมทั้งบุคลากรได้รับการพัฒนาทักษะ เพื่อให้เกิดการพัฒนา และการบูรณาการร่วมกันในการขับเคลื่อนการดูแลผู้สูงอายุโดยเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประโยชน์สูงสุด

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อเพิ่มผู้สูงอายุที่มีภาวะซึมเศร้าต้องได้รับการดูแล

จำนวนผู้สูงอายุที่มีภาวะซึมเศร้าได้รับการดูแล เพิ่มขึ้น

13.00 13.00
2 เพื่อเพิ่มจำนวนบุคคลในครอบครัวที่มีความรู้ความเข้าใจและสามารถปฏิบัติต่อผู้สูงอายุที่ต้องได้รับการดูแล

จำนวนบุคคลในครอบครัวที่มีความรู้ความเข้าใจและสามารถปฏิบัติต่อผู้สูงอายุที่ต้องได้รับการดูแล เพิ่มขึ้น

104.00 50.00
3 เพื่อให้เกิดนโยบายสาธารณะเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ

จำนวน สถานที่หรือพื้นที่สาธารณะที่มีสภาพแวดล้อมเอื้อต่อการใช้ชีวิตของผู้สูงอายุ เพิ่มขึ้น

40.00 10.00
4 เพื่อเพิ่มการเข้าร่วมกลุ่ม/ชมรม ของผู้สูงอายุ

ผู้สูงอายุมีกลุ่มหรือสังกัดชมรม เพิ่มขึ้น

52.00 20.00
5 เพื่อลดจำนวนผู้สูงอายุทีมีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน

ผู้สูงอายุทีมีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน ลงลด

24.00 5.00
6 เพื่อลดจำนวนผู้สูงอายุที่มีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูง

ผู้สูงอายุที่มีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูง ลดลง

23.99 10.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ 1,028
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 04/12/2023

กำหนดเสร็จ 13/09/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 การคัดกรองสุขภาพผู้สูงอายุเพื่อคัดกรองปัญหาสุขภาพ และภาวะ Geraitric Syndrom

ชื่อกิจกรรม
การคัดกรองสุขภาพผู้สูงอายุเพื่อคัดกรองปัญหาสุขภาพ และภาวะ Geraitric Syndrom
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ผู้สูงอายุทุกคนได้รับการประเมิน และคัดกรองสุขภาพ

ระยะเวลาดำเนินงาน
22 พฤศจิกายน 2566 ถึง 31 พฤษภาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

นำผลการประเมินและคัดกรองมาวางแผนการดูแลผู้สูงอายุได้อย่างเหมาะสม

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 2 เสริมทักษะการเขียนแผนการดูแลสุขภาพดีของผู้สูงอายุ (Wellness Plan)

ชื่อกิจกรรม
เสริมทักษะการเขียนแผนการดูแลสุขภาพดีของผู้สูงอายุ (Wellness Plan)
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

-ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 65 คนๆละ1มื้อๆละ70บาท เป็นเงิน  4,550.- บาท -ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 65 คนๆละ2มื้อๆละ30 บาท เป็นเงิน  3,900.- บาท รวมเป็นเงินจำนวน 8,450.- บาท *****งบส่งเสริมป้องกันสุขภาพเครือข่ายบริการสุขภาพอำเภอกงหรา

ระยะเวลาดำเนินงาน
29 มีนาคม 2567 ถึง 31 พฤษภาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

แกนนำผู้สูงอายุสามารถเขียนแผน และกำหนดรูปแบบการดูแลสุขภาพของตนเอง เพื่อปรับเปลี่ยนให้เหมาะสมในการดูแลสุขภาพ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 3 การพัฒนาคุณภาพชีวิตและการเรียนรู้เพิ่มความสามารถของผู้สูงอายุ

ชื่อกิจกรรม
การพัฒนาคุณภาพชีวิตและการเรียนรู้เพิ่มความสามารถของผู้สูงอายุ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

-กิจกรรมอบรมให้ความรู้การดูแลตัวเองในผู้สูงอายุ -กิจกรรมส่งเสริมอาชีพและภูมิปัญญาท้องถิ่นในผู้สูงอายุ -กิจกรรมนันทนาการเพื่อส่งเสริมสุขภาพจิตในกลุ่มผุ้สูงอายุ


*******อปท.ดำเนินการเอง

ระยะเวลาดำเนินงาน
13 กุมภาพันธ์ 2567 ถึง 22 สิงหาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

นำผลการประเมินและคัดกรองมาวางแผนการดูแลผู้สูงอายุได้อย่างเหมาะสม

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 4 มหกรรมสร้างสุขภาพดี และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในงผู้สูงอายุ

ชื่อกิจกรรม
มหกรรมสร้างสุขภาพดี และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในงผู้สูงอายุ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

--มหกรรมสร้างเสริมสุขภาพดีและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ในผู้สูงอายุ

-จัดบูธส่งเสริมอาชีพและภูมิปัญญาท้องถิ่นในผู้สูงอายุแต่ละชมรม
-กิจกรรมสันทนาการและออกกำลังกายของผู้สูงอายุ

-สัมมนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เรื่อง ปัญหาและการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุ

กิจกรรมแข่งกีฬาพื้นบ้านเพื่อส่งเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุ

-ประกวดผู้สูงอายุสุขภาพดีต้นแบบ อำเภอกงหรา

  • ค่าอาหารกลางวัน 1 มื้อ ๆ ละ 70 บาท จำนวน 77 คน รวมเป็นเงิน 5,390.- บาท -ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 2 มื้อ ๆ ละ 25 บาท จำนวน 77 คน รวมเป็นเงิน 3,850.- บาท
    • ค่าอุปกรณ์ออกกำลังกาย เป็นเงิน2,000.- บาท
    • ค่าจ้างเหมาเวทีและเครื่องเสียงเป็นเงิน 1,600.-บาท
    • ค่าป้ายโครงการเป็นเงิน800.- บาท
    • ค่าประกาศนียบัตรผู้สูงอายุต้น แบบพร้อมกรอบ จำนวน 3 ป้ายๆละ 200.- เป็นเงิน 600.- บาท -วัสดุอุปกรณ์ในการจัดบู้ทเป็นจำนวนเงิน 3,000.- บาท

รวมงบประมาณทั้งสิ้น17,240.- บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
5 มีนาคม 2567 ถึง 23 สิงหาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  • ผู้สูงอายุมีความรู้ความเข้าใจด้านสุขภาพเพิ่มขึ้น ร้อยละ 80 -ผู้สูงอายุที่เข้าร่วมกิจกรรมมีความพึงพอใจ ร้อยละ 80 -กลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมกิจกรรม ร้อยละ 100
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
17240.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 17,240.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ระบบการดูแลผู้สูงอายุมีประสิทธิภาพมากขึ้น มีความเข้มแข็งมากขึ้น
2. ผู้สูงอายุมีสุขภาพแข็งแรง ทั้งทางด้านร่างกายจิตใจอารมณ์ สังคมมีคุณภาพชีวิตที่ดี
3 .ผู้สูงอายุที่มีปัญหาสุขภาพได้รับการดูแลต่อเนื่อง
4. ผู้สูงอายุมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น


>