กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการสร้างเสริมสุขภาพผู้สูงอายุแบบองค์รวมตำบลคลองทรายขาวปีงบประมาณ 2567
รหัสโครงการ 67-L3307-01-11
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของรัฐ เช่น สสอ.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ สำนักงานสาธารณสุขอำเภอกงหรา
วันที่อนุมัติ 29 มีนาคม 2567
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 4 ธันวาคม 2566 - 13 กันยายน 2567
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 17,240.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายสุทธิพงค์ รักษ์พันธ์
พี่เลี้ยงโครงการ นายประเทือง อมรวิริยะชัย
พื้นที่ดำเนินการ ประชาชน ตำบลคลองทรายขาว อำเภอกงหรา จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานผู้สูงอายุ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มผู้สูงอายุ 1028 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้สูงอายุ :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 จำนวนผู้สูงอายุที่ได้รับการคัดกรองแล้วมีภาวะซึมเศร้าและกังวล(คน)
13.00
2 ร้อยละของผู้สูงอายุ ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (150 นาทีต่อสัปดาห์)
20.00
3 จำนวนบุคคลในครอบครัวที่มีความรู้ความเข้าใจและสามารถปฏิบัติต่อผู้สูงอายุที่ต้องได้รับการดูแล (คน)
104.00
4 ร้อยละของผู้สูงอายุที่มีกลุ่มหรือสังกัดชมรม
52.00
5 ร้อยละสถานที่หรือพื้นที่สาธารณะที่มีสภาพแวดล้อมเอื้อต่อการใช้ชีวิตของผู้สูงอายุ
40.00
6 ร้อยละของผู้สูงอายุที่มีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูง
23.99
7 ร้อยละของผู้สูงอายุทีมีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน
24.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

หลักการและเหตุผล คุณภาพชีวิตที่ดี เป็นเป้าหมายหลักของสังคม คือประชาชนมีสุขภาพอนามัยดีทั้งร่างกาย และจิตใจทุกเพศ ทุกวัย จากสถานการณ์ผู้สูงอายุของประเทศไทย พบว่าประเทศไทยเริ่มเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ (Aging Society) ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2548 และมีแนว โน้มการเพิ่มขึ้นของผู้สูงอายุร้อยละ 3.6 ต่อปี และในปี พ.ศ. 2566พบว่าจังหวัดพัทลุงมีผู้สูงอายุจำนวน 9,916คน คิดเป็นร้อยละ 24.82 ซึ่งเป็นการเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์(Complete Aging Society) และตำบลคลองทรายขาว มีผู้สูงอายุจำนวน 1,011 คน จากประชากรทั้งหมด 5,395 คน คิดเป็นร้อยละ 18 73 จากการพัฒนาด้านสาธารณสุขและทางการแพทย์ ทำให้อัตราการตายลดลง ผู้สูงอายุมีชีวิตที่ยืนยาวขึ้น ยังไงก็ตามจากการเสื่อมถอยของร่างกายตามวัย รวมทั้งผลข้างเคียงและภาวะแทรกซ้อนจากโรคเรื้อรังหรืออุบัติเหตุ ได้นำไปสู่ความถดถอยของร่างกาย เกิดภาวะพึ่งพิง ไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ หรือช่วยเหลือตนเองได้น้อย ทำให้มีผลกระทบทางด้านเศรษฐกิจ สังคม และครอบครัว รวมถึงคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุเอง จึงมีการจัดทำแผนยุทธศาสตร์ชาติเพื่อพัฒนาระบบการดูแลสุขภาพให้รองรับและสอดคล้องกับสถานการณ์ผู้สูงอายุ โดยเน้นการพัฒนาที่ยั่งยืน มีความเป็นเลิศ 4 ด้านของกระทรวงสาธารณสุข คือ 1) ส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค และคุ้มครองผู้บริโภคเป็นเลิศ (Promotion, Prevention & Protection Excellence)2) บริการเป็นเลิศ (Service Excellence)3) บุคลากรเป็นเลิศ (People Excellence)4) บริหารเป็นเลิศด้วยธรรมาภิบาล (Governance Excellence) เพื่อให้บรรลุเป้าหมาย “ผู้สูงอายุสุขภาพดี ดูแลตนเองได้ และมีคุณภาพชีวิตที่ดี” ดังนั้น เพื่อให้การดำเนินงาน การส่งเสริม ป้องกัน และสร้างสุขภาพตามนโยบายของรัฐบาล และกระทรวงสาธารณสุข เป็นไปตามนโยบายของกระทรวงสาธารณสุข และสอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์ชาติอำเภอกงหราจึงได้จัดดำเนินโครงการการส่งเสริมการดูแลสุขภาพของผู้สูงอายุแบบองค์รวม ประจำปี 2564 ขึ้น โดยมุ่งหวังให้ประชาชนในวัยสูงอายุมีความรู้ ตระหนัก และมีพฤติกรรมในการดูแลตนเองและครอบครัว อย่างถูกต้องเหมาะสม รวมทั้งบุคลากรได้รับการพัฒนาทักษะ เพื่อให้เกิดการพัฒนา และการบูรณาการร่วมกันในการขับเคลื่อนการดูแลผู้สูงอายุโดยเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประโยชน์สูงสุด

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อเพิ่มผู้สูงอายุที่มีภาวะซึมเศร้าต้องได้รับการดูแล

จำนวนผู้สูงอายุที่มีภาวะซึมเศร้าได้รับการดูแล เพิ่มขึ้น

13.00 13.00
2 เพื่อเพิ่มจำนวนบุคคลในครอบครัวที่มีความรู้ความเข้าใจและสามารถปฏิบัติต่อผู้สูงอายุที่ต้องได้รับการดูแล

จำนวนบุคคลในครอบครัวที่มีความรู้ความเข้าใจและสามารถปฏิบัติต่อผู้สูงอายุที่ต้องได้รับการดูแล เพิ่มขึ้น

104.00 50.00
3 เพื่อให้เกิดนโยบายสาธารณะเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ

จำนวน สถานที่หรือพื้นที่สาธารณะที่มีสภาพแวดล้อมเอื้อต่อการใช้ชีวิตของผู้สูงอายุ เพิ่มขึ้น

40.00 10.00
4 เพื่อเพิ่มการเข้าร่วมกลุ่ม/ชมรม ของผู้สูงอายุ

ผู้สูงอายุมีกลุ่มหรือสังกัดชมรม เพิ่มขึ้น

52.00 20.00
5 เพื่อลดจำนวนผู้สูงอายุทีมีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน

ผู้สูงอายุทีมีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน ลงลด

24.00 5.00
6 เพื่อลดจำนวนผู้สูงอายุที่มีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูง

ผู้สูงอายุที่มีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูง ลดลง

23.99 10.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 17,240.00 0 0.00
22 พ.ย. 66 - 31 พ.ค. 67 การคัดกรองสุขภาพผู้สูงอายุเพื่อคัดกรองปัญหาสุขภาพ และภาวะ Geraitric Syndrom 0 0.00 -
13 ก.พ. 67 - 22 ส.ค. 67 การพัฒนาคุณภาพชีวิตและการเรียนรู้เพิ่มความสามารถของผู้สูงอายุ 0 0.00 -
5 มี.ค. 67 - 23 ส.ค. 67 มหกรรมสร้างสุขภาพดี และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในงผู้สูงอายุ 0 17,240.00 -
29 มี.ค. 67 - 31 พ.ค. 67 เสริมทักษะการเขียนแผนการดูแลสุขภาพดีของผู้สูงอายุ (Wellness Plan) 0 0.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ระบบการดูแลผู้สูงอายุมีประสิทธิภาพมากขึ้น มีความเข้มแข็งมากขึ้น
  2. ผู้สูงอายุมีสุขภาพแข็งแรง ทั้งทางด้านร่างกายจิตใจอารมณ์ สังคมมีคุณภาพชีวิตที่ดี 3 .ผู้สูงอายุที่มีปัญหาสุขภาพได้รับการดูแลต่อเนื่อง
  3. ผู้สูงอายุมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 24 พ.ย. 2566 10:39 น.