กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.กายูคละ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการอสม.ร่วมใจคัดกรองโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง (อสม. บ้านสามแยก)

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.กายูคละ

กลุ่มอสม.บ้านสามแยก

1.นายนัสรี มะแซ
2.นางมัยนี วาเตะ
3.นางสาวซูรีย๊ะ วาแต
4.นางฮาซือเมาะ ยูโซะ
5.นางซูเรียนา อับดุลลาเตะ

ตำบลกายูคละ

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

อสม. เป็นกลุ่ม/องค์กรที่อยู่ใกล้ชิดกับประชาชนมากที่สุด และเป็นผู้ที่รู้ปัญหาความต้องการของประชาชนในชุมชนได้เป็นอย่างดี เป็นตัวแทนของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในตำบลที่สามารถให้บริการแก่ประชาชนขั้นพื้นฐานได้ทันท่วงที เนื่องจากอาศัยอยู่ในพื้นที่ และ อสม. ยังเป็นผู้ช่วยเจ้าหน้าที่ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) ในด้านการส่งเสริมสุขภาพ การให้ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับสุขภาพ พร้อมทั้งกระจายข่าวสารด้านสุขภาพให้แก่ประชาชนได้รับทราบ เพื่อให้ประชาชนได้รับบริการที่ทั่วถึงและทันเวลา สำหรับกิจกรรมที่ อสม.ดำเนินการในพื้นที่ที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ การนัดให้ไปรับบริการต่าง ๆ ที่ รพ.สต. กิจกรรมชั่งน้ำหนัก เจาะเลือดตรวจค่าน้ำตาลในเลือด วัดความดันโลหิต ฯลฯ ซึ่งในแต่ละกิจกรรมมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ผู้ให้บริการจะต้องมีความรู้ความสามรถและทักษะที่ถูกต้อง รวมถึงมีอุปกรณ์ ในการให้บริการ เช่น เครื่องวัดค่าน้ำตาลในเลือด เครื่องวัดความดันโลหิต เครื่องชั่งน้ำหนัก หรือวัสดุอุปกรณ์อื่น ๆ ที่สนับสนุนการให้บริการ ซึ่งปัจจุบันความพร้อมของอุปกรณ์ดังกล่าวยังมีไม่เพียงพอในการให้บริการประชาชน ดังนั้น ชมรมอสม.บ้านสามแยก จึงได้จัดทำโครงการอสม. ร่วมใจคัดกรองโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง เพื่อให้ประชาชนกลุ่มเสี่ยงมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง รวมทั้งเพื่อให้อสม.บ้านสามแยก มีศักยภาพในการให้บริการตรวจคัดกรองโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงในกลุ่มเสี่ยง ซึ่งจะเป็นการค้นหาผู้ป่วยรายใหม่และส่งต่อผู้ที่มีผลผิดปกติ ให้ได้รับการรักษาต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ประชาชนกลุ่มเสี่ยงมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคเบาหวานโรคความดันโลหิตสูง และโรคที่เกิดจากพฤติกรรมการดำเนินชีวิต
  • ร้อยละ 100 ของผู้เข้าอบรม มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคเบาหวานโรคความดันโลหิตสูง และโรคที่เกิดจากพฤติกรรมการดำเนินชีวิต
100.00 100.00
2 เพื่อจัดหาวัสดุอุปกรณ์ในการตรวจคัดกรองโรคเบื้องต้น

มีวัสดุอุปกรณ์ในการตรวจคัดกรองโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง

100.00 100.00
3 เพื่อตรวจคัดกรองโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง และประเมินความเสี่ยงด้านสุขภาพของประชาชนอายุ 35 ปีขึ้นไป

ประชาชนอายุ 35 ปี ขึ้นไป ได้รับการตรวจคัดกรองโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ประเมินความเสี่ยงด้านสุขภาพ

100.00 100.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 100
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 28/11/2023

กำหนดเสร็จ 30/09/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 อบรมให้ความรู้

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • กิจกรรมอบรมให้ความรู้ ประชาชนที่มีอายุ 35 ปี ขึ้นไป จำนวน 100 ่คน
  1. ป้ายประชาสัมพันธ์โครงการ (1.2*2.4 เมตร) 1 ผืน = 1,200 บ.
  2. ค่าตอบแทนวิทยากร ชั่วโมงละ 600 บ. x 6 ชั่วโมง= 3,600 บ.
  3. อาหารกลางวัน 60 บ. x 100 คน x 1 มื้อ = 6,000 บ.
  4. อาหารว่างพร้อมเครื่องดื่ม 30 บ. x 100 คน x 2 มื้อ= 6,000 บ.
  5. วัสดุอุปกรณ์ในการอบรม (กระเป๋าผ้า ปากกา สมุด) 80 บ. x 100 ชุด= 8,000 บ.
ระยะเวลาดำเนินงาน
28 พฤศจิกายน 2566 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ประชาชนกลุ่มเสี่ยงได้รับความรู้เกี่ยวกับโรคเบาหวนและความดันโลหิตสูง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
24800.00

กิจกรรมที่ 2 คัดกรองโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง

ชื่อกิจกรรม
คัดกรองโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรมคัดกรองโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง
1. เครื่องวัดความดัน 2,500 บ. x 1 เครื่อง = 2,500 บ.
2. เครื่องตรวจระดับน้ำตาลในเลือด 3,500 บ. x 1 เครื่อง = 3,500 บ.
3. เข็มเจาะปลายนิ้ว 200 บ. x 4 กล่อง = 800 บ.
4. แผ่นตรวจระดับน้ำตาลในเลือด 460 x 4 กล่อง = 1,840 บ.
5. สำลีก้อน 220 บ. x 2 ห่อ = 440 บ.
6. แอลกอฮอล์ 85 บ. x 2 ขวด = 170 บ.
7. ถุงมือทางการแพทย์ 350 บ. x 2 กล่อง = 700 บ.

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 ตุลาคม 2566 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ประชาชนที่มีความเสี่ยงได้รับการตรวจคัดกรองโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
9950.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 34,750.00 บาท

หมายเหตุ :
ทุกรายการสามารถถัวเฉลี่ยจ่ายกันได้)

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.อสม. มีความรู้ความสามารถและมีศักยภาพในการคัดกรองโรคและประเมินความเสี่ยงด้านสุขภาพให้ประชาชนในพื้นที่
2.ประชาชนมีการปรับเปลี่ยนพฤติการรมสุขภาพและเข้าถึงการบริการสุขภาพเบื้องต้นได้ทั่วถึงและทันเวลา
3.ประชาชนได้รับการคัดกรองโรคเบื้องต้น ติดตามและส่งต่อการรักษา


>