กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ตะโละกาโปร์

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการลดขยะ ลดโรค ใส่ใจสิ่งแวดล้อม โรงเรียนบ้านท่ากุน เฟส3

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ตะโละกาโปร์

โรงเรียนบ้านท่ากุน

นางสุไวดา สาแยตือปะ
นางสาวนูรอิฟตินณา บารานิง
นางสาวแวรอสนะ แวสะแลแม
นางสาวสารีฟะห์ เจะยามา
นางซูยานา เจะอาลี

โรงเรียนบ้านท่ากุน

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานขยะ , แผนงานมลพิษจากสิ่งแวดล้อม

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ปริมาณขยะในโรงเรียนต่อเดือน (นับเป็นกิโลกรัม)

 

200.00
2 ร้อยละของครัวเรือนที่คัดแยกขยะเป็นประจำ

 

10.00
3 ร้อยละของหมู่บ้านหรือชุมชนที่มีและใช้มาตรการด้านการจัดการขยะ

 

2.00
4 จำนวนกลุ่มหรือเครือข่ายการจัดการขยะในชุมชน

 

3.00
5 ปริมาณขยะของครัวเรือนทั้งหมดในชุมชนต่อวัน

 

50.00
6 ร้อยละของครัวเรือนที่มีความจำเป็นต้องเผาขยะ เศษวัสดุ หรือซากวัสดุการเกษตร

 

80.00
7 ร้อยละของหมู่บ้าน/ชุมชนที่มีและใช้มาตรการลดมลพิษทางอากาศ

 

1.00
8 ร้อยละของประชาชนที่มีพฤติกรรมการป้องกันผลกระทบต่อสุขภาพจาก PM2.5

 

5.00

ในปัจจุบัน ปัญหาเรื่องขยะมูลฝอยนับว่าเป็นปัญหาสำคัญทั้งในระดับชุมชนและระดับประเทศ สาเหตุมาจากประชากรในประเทศมีจำนวนมากขึ้น ชุมชนก็เพิ่มขึ้น สถานประกอบการต่าง ๆ มีมากขึ้น และสิ่งที่ตามมาอย่างเลี่ยงไม่ได้ก็คือ ขยะมูลฝอย ย่อมมีจำนวนมากขึ้นตามไปด้วย ดังนั้นโรงเรียนก็จัดเป็นแหล่งสำคัญหนึ่งที่ผลิตของเสียออกสู่สิ่งแวดล้อมได้ แม้ว่าขยะจากโรงเรียน ชุมชนหรืออาคารบ้านเรือนจะไม่ใช่ของเสียที่เป็นอันตราย เมื่อเปรียบเทียบกับของเสียจากโรงงานอุตสาหกรรมหรือเกษตรกรรม แต่ถ้ามีปริมาณมากก็ก่อให้เกิดผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของนักเรียน ประชาชน และสิ่งแวดล้อมได้ โดยเฉพาะขยะมูลฝอยจาก โรงเรียน ชุมชนหรืออาคารบ้านเรือน ขยะที่สามารถย่อยสลายได้ในธรรมชาติ ขยะที่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้ (recycle) ขยะประเภทวัสดุเหลือใช้ ขยะที่อาจเป็นอันตรายอันเนื่องมาจากสารพิษ เป็นต้น ซึ่งการแก้ปัญหาขยะมูลฝอยในพื้นที่และกลไกเพื่อการคัดแยกขยะ แปรรูปขยะเป็นพลังงานด้วยนวัตกรรมที่เหมาะสมกับพื้นที่ และเป็นการเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมโรคและลดแหล่งเพาะพันธุ์พาหะนำโรคต่าง ๆ กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อมใน
โรงเรียนบ้านท่ากุน จึงได้จัดโครงการลดขยะ ลดโรค ใส่ใจสิ่งแวดล้อมโรงเรียนบ้านท่ากุน การจัดการขยะมูลฝอยและสิ่งแวดล้อม จึงจัดให้มีระบบการจัดการขยะในโรงเรียน ภายใต้แนวคิด ตามหลัก 3 Rs ได้แก่ การลดการใช้(Reduce) การใช้ซ้ำ(Reuse) และการนำกลับมาใช้ใหม่ (Recycle) เพื่อกระตุ้นให้นักเรียนได้ตระหนักและรับรู้ถึงความจำเป็นในการคัดแยกขยะและการใช้ประโยชน์จากขยะ เพื่อเป็นการลดปริมาณขยะที่มีประสิทธิภาพ และป้องกันปัญหาการเกิดมลพิษที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ทั้งยังส่งเสริมให้แต่ละห้องเรียนมีการจัดการขยะที่ต้นทาง กลางทาง และปลายทาง เพื่อไม่ให้ขยะดังกล่าวตกค้าง ทำให้โรงเรียนสะอาด น่าอยู่ และไม่มีแหล่งเพาะพันธุ์โรคจากขยะในโรงเรียนบ้านท่ากุน

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อส่งเสริมให้นักเรียน มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการลด และการคัดแยกขยะ

นักเรียนสามารถคัดแยกขยะได้ (ปริมาณขยะที่คัดแยกได้ นับเป็นกิโลกรัม)

30.00 50.00
2 เพื่อส่งเสริมให้นักเรียนสามารถจัดการขยะอย่างถูกวิธี และการนำขยะไปใช้ให้เกิดประโยชน์

นักเรียนสามารถประดิษฐ์สิ่งของจากขยะได้ (นับเป็นชิ้น)

0.00 10.00
3 เพื่อให้นักเรียนมีความรู้ในการผลิตปุ๋ยชีวภาพและสามารถผลิตปุ๋ยชีวภาพได้

นักเรียนสามารถผลิตปุ๋ยชีวภาพได้ (นับเป็นกิโลกรัม)

10.00 30.00
4 เพื่อลดปริมาณขยะของครัวเรือนทั้งหมดในชุมชนต่อวัน

ปริมาณขยะของครัวเรือนทั้งหมดในชุมชนต่อวัน

50.00 20.00
5 เพื่อเพิ่มครัวเรือนที่คัดแยกขยะเป็นประจำ

ร้อยละของครัวเรือนที่คัดแยกขยะเป็นประจำ

10.00 30.00
6 เพื่อเพิ่มจำนวนกลุ่มหรือเครือข่ายการจัดการขยะในชุมชน

จำนวนกลุ่มหรือเครือข่ายการจัดการขยะในชุมชน

3.00 5.00
7 เพื่อเพิ่มหมู่บ้านหรือชุมชนที่มีและใช้มาตรการในการจัดการขยะ

ร้อยละของหมู่บ้านหรือชุมชนที่มีและใช้มาตรการด้านการจัดการขยะ

2.00 5.00
8 เพื่อเพิ่มประชาชนที่มีพฤติกรรมการป้องกันผลกระทบต่อสุขภาพจาก PM2.5

ร้อยละของประชาชนที่มีพฤติกรรมการป้องกันผลกระทบต่อสุขภาพจาก PM2.5

5.00 10.00
9 เพื่อลดครัวเรือนที่มีความจำเป็นต้องเผาขยะ เศษวัสดุ หรือซากวัสดุการเกษตร

ร้อยละของครัวเรือนที่มีความจำเป็นต้องเผาขยะ เศษวัสดุ หรือซากวัสดุการเกษตร

80.00 40.00
10 เพื่อเพิ่มหมู่บ้าน/ชุมชนที่มีและใช้มาตรการลดมลพิษทางอากาศ

ร้อยละของหมู่บ้าน/ชุมชนที่มีและใช้มาตรการลดมลพิษทางอากาศ

1.00 3.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 104
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/10/2023

กำหนดเสร็จ 30/09/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 สิ่งประดิษฐ์จากขยะ

ชื่อกิจกรรม
สิ่งประดิษฐ์จากขยะ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ตะกร้าใหญ่ 4 ใบ x 60 บาท = 180 บาท
  • วัสดุอุปกรณ์ประดิษฐ์ 5,000 บาท
    รวมจำนวนทั้งสิ้น 5,180 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
15 มกราคม 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

นักเรียนสามารถจัดการขยะอย่างถูกวิธี และการนำขยะไปใช้ให้เกิดประโยชน์

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
5180.00

กิจกรรมที่ 2 ผลิตปุ๋ยชีวภาพ

ชื่อกิจกรรม
ผลิตปุ๋ยชีวภาพ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • จอบ 3 ด้าม x 300 บาท= 900 บาท
  • บ่อแว่น 3 บ่อ x250 บาท = 750 บาท
  • กระสอบ 20 ใบ x 10 บาท = 200 บาท
  • กะละมัง 4 ใบ x 120 บาท = 480 บาท
  • ขี้วัว 10 ถุง x 60 บาท = 600 บาท
  • บัวรดน้ำ 2 อัน x 80 = 160 บาท
  • ถุงมือ 4 ถุง x 30 บาท = 120 บาท รวมจำนวนทั้งสิ้น 3,210 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
15 มกราคม 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

นักเรียนมีความรู้ในการผลิตปุ๋ยชีวภาพและสามารถผลิตปุ๋ยชีวภาพได้

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
3210.00

กิจกรรมที่ 3 ธนาคารขยะ

ชื่อกิจกรรม
ธนาคารขยะ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ตะกร้าใหญ่ 3 ใบ x 250 บาท = 750 บาท
  • ถังพลาสติก 3 ใบ x 60 บาท = 180 บาท
  • วัสดุอุปกรณ์ทำป้าย = 200 บาท
    รวมจำนวนทั้งสิ้น 1,130 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
15 มกราคม 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

นักเรียน มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการลด และการคัดแยกขยะ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
1130.00

กิจกรรมที่ 4 ถอดบทเรียน

ชื่อกิจกรรม
ถอดบทเรียน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

มีการถอดบทเรียนจากนักเรียนที่เข้าร่วมกิจกรรม และทดสอบความรู้ที่ได้รับจากการดำเนินงาน

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 สิงหาคม 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

นักเรียนสามารถถอดบทเรียนจากกิจกรรมที่ได้ดำเนินการ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 9,520.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

- ผู้เรียนมีความรู้ความเข้าใจถึงแนวทางการลด คัดแยกขยะ และสามารถจัดการขยะอย่างถูกวิธี
และการนำขยะไปใช้ให้เกิดประโยชน์
- นักเรียนมีความตระหนัก และจิตสำนึกในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม


>