กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการลดขยะ ลดโรค ใส่ใจสิ่งแวดล้อม โรงเรียนบ้านท่ากุน เฟส3
รหัสโครงการ 67-L8420-02-07
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงเรียนบ้านท่ากุน
วันที่อนุมัติ 1 ตุลาคม 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ตุลาคม 2566 - 30 กันยายน 2567
กำหนดวันส่งรายงาน 27 กันยายน 2567
งบประมาณ 9,520.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสุไวดา สาแยตือปะ
พี่เลี้ยงโครงการ นางวรรณาพร บัวสุวรรณ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลตะโละกาโปร์ อำเภอยะหริ่ง จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด 6.899161,101.37085place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานขยะ , แผนงานมลพิษจากสิ่งแวดล้อม
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 104 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ปริมาณขยะในโรงเรียนต่อเดือน (นับเป็นกิโลกรัม)
200.00
2 ร้อยละของครัวเรือนที่คัดแยกขยะเป็นประจำ
10.00
3 ร้อยละของหมู่บ้านหรือชุมชนที่มีและใช้มาตรการด้านการจัดการขยะ
2.00
4 จำนวนกลุ่มหรือเครือข่ายการจัดการขยะในชุมชน
3.00
5 ปริมาณขยะของครัวเรือนทั้งหมดในชุมชนต่อวัน
50.00
6 ร้อยละของครัวเรือนที่มีความจำเป็นต้องเผาขยะ เศษวัสดุ หรือซากวัสดุการเกษตร
80.00
7 ร้อยละของหมู่บ้าน/ชุมชนที่มีและใช้มาตรการลดมลพิษทางอากาศ
1.00
8 ร้อยละของประชาชนที่มีพฤติกรรมการป้องกันผลกระทบต่อสุขภาพจาก PM2.5
5.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ในปัจจุบัน ปัญหาเรื่องขยะมูลฝอยนับว่าเป็นปัญหาสำคัญทั้งในระดับชุมชนและระดับประเทศ สาเหตุมาจากประชากรในประเทศมีจำนวนมากขึ้น ชุมชนก็เพิ่มขึ้น สถานประกอบการต่าง ๆ มีมากขึ้น และสิ่งที่ตามมาอย่างเลี่ยงไม่ได้ก็คือ ขยะมูลฝอย ย่อมมีจำนวนมากขึ้นตามไปด้วย ดังนั้นโรงเรียนก็จัดเป็นแหล่งสำคัญหนึ่งที่ผลิตของเสียออกสู่สิ่งแวดล้อมได้ แม้ว่าขยะจากโรงเรียน ชุมชนหรืออาคารบ้านเรือนจะไม่ใช่ของเสียที่เป็นอันตราย เมื่อเปรียบเทียบกับของเสียจากโรงงานอุตสาหกรรมหรือเกษตรกรรม แต่ถ้ามีปริมาณมากก็ก่อให้เกิดผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของนักเรียน ประชาชน และสิ่งแวดล้อมได้ โดยเฉพาะขยะมูลฝอยจาก โรงเรียน ชุมชนหรืออาคารบ้านเรือน ขยะที่สามารถย่อยสลายได้ในธรรมชาติ ขยะที่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้ (recycle) ขยะประเภทวัสดุเหลือใช้ ขยะที่อาจเป็นอันตรายอันเนื่องมาจากสารพิษ เป็นต้น ซึ่งการแก้ปัญหาขยะมูลฝอยในพื้นที่และกลไกเพื่อการคัดแยกขยะ แปรรูปขยะเป็นพลังงานด้วยนวัตกรรมที่เหมาะสมกับพื้นที่ และเป็นการเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมโรคและลดแหล่งเพาะพันธุ์พาหะนำโรคต่าง ๆ กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อมใน
โรงเรียนบ้านท่ากุน จึงได้จัดโครงการลดขยะ ลดโรค ใส่ใจสิ่งแวดล้อมโรงเรียนบ้านท่ากุน การจัดการขยะมูลฝอยและสิ่งแวดล้อม จึงจัดให้มีระบบการจัดการขยะในโรงเรียน ภายใต้แนวคิด ตามหลัก 3 Rs ได้แก่ การลดการใช้(Reduce) การใช้ซ้ำ(Reuse) และการนำกลับมาใช้ใหม่ (Recycle) เพื่อกระตุ้นให้นักเรียนได้ตระหนักและรับรู้ถึงความจำเป็นในการคัดแยกขยะและการใช้ประโยชน์จากขยะ เพื่อเป็นการลดปริมาณขยะที่มีประสิทธิภาพ และป้องกันปัญหาการเกิดมลพิษที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ทั้งยังส่งเสริมให้แต่ละห้องเรียนมีการจัดการขยะที่ต้นทาง กลางทาง และปลายทาง เพื่อไม่ให้ขยะดังกล่าวตกค้าง ทำให้โรงเรียนสะอาด น่าอยู่ และไม่มีแหล่งเพาะพันธุ์โรคจากขยะในโรงเรียนบ้านท่ากุน

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อส่งเสริมให้นักเรียน มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการลด และการคัดแยกขยะ

นักเรียนสามารถคัดแยกขยะได้ (ปริมาณขยะที่คัดแยกได้ นับเป็นกิโลกรัม)

30.00 50.00
2 เพื่อส่งเสริมให้นักเรียนสามารถจัดการขยะอย่างถูกวิธี และการนำขยะไปใช้ให้เกิดประโยชน์

นักเรียนสามารถประดิษฐ์สิ่งของจากขยะได้ (นับเป็นชิ้น)

0.00 10.00
3 เพื่อให้นักเรียนมีความรู้ในการผลิตปุ๋ยชีวภาพและสามารถผลิตปุ๋ยชีวภาพได้

นักเรียนสามารถผลิตปุ๋ยชีวภาพได้ (นับเป็นกิโลกรัม)

10.00 30.00
4 เพื่อลดปริมาณขยะของครัวเรือนทั้งหมดในชุมชนต่อวัน

ปริมาณขยะของครัวเรือนทั้งหมดในชุมชนต่อวัน

50.00 20.00
5 เพื่อเพิ่มครัวเรือนที่คัดแยกขยะเป็นประจำ

ร้อยละของครัวเรือนที่คัดแยกขยะเป็นประจำ

10.00 30.00
6 เพื่อเพิ่มจำนวนกลุ่มหรือเครือข่ายการจัดการขยะในชุมชน

จำนวนกลุ่มหรือเครือข่ายการจัดการขยะในชุมชน

3.00 5.00
7 เพื่อเพิ่มหมู่บ้านหรือชุมชนที่มีและใช้มาตรการในการจัดการขยะ

ร้อยละของหมู่บ้านหรือชุมชนที่มีและใช้มาตรการด้านการจัดการขยะ

2.00 5.00
8 เพื่อเพิ่มประชาชนที่มีพฤติกรรมการป้องกันผลกระทบต่อสุขภาพจาก PM2.5

ร้อยละของประชาชนที่มีพฤติกรรมการป้องกันผลกระทบต่อสุขภาพจาก PM2.5

5.00 10.00
9 เพื่อลดครัวเรือนที่มีความจำเป็นต้องเผาขยะ เศษวัสดุ หรือซากวัสดุการเกษตร

ร้อยละของครัวเรือนที่มีความจำเป็นต้องเผาขยะ เศษวัสดุ หรือซากวัสดุการเกษตร

80.00 40.00
10 เพื่อเพิ่มหมู่บ้าน/ชุมชนที่มีและใช้มาตรการลดมลพิษทางอากาศ

ร้อยละของหมู่บ้าน/ชุมชนที่มีและใช้มาตรการลดมลพิษทางอากาศ

1.00 3.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 9,520.00 0 0.00
15 ม.ค. 67 - 30 ก.ย. 67 สิ่งประดิษฐ์จากขยะ 0 5,180.00 -
15 ม.ค. 67 - 30 ก.ย. 67 ผลิตปุ๋ยชีวภาพ 0 3,210.00 -
15 ม.ค. 67 - 30 ก.ย. 67 ธนาคารขยะ 0 1,130.00 -
1 ส.ค. 67 - 30 ก.ย. 67 ถอดบทเรียน 0 0.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  • ผู้เรียนมีความรู้ความเข้าใจถึงแนวทางการลด คัดแยกขยะ และสามารถจัดการขยะอย่างถูกวิธี
    และการนำขยะไปใช้ให้เกิดประโยชน์
  • นักเรียนมีความตระหนัก และจิตสำนึกในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 30 พ.ย. 2566 09:17 น.