กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลบ้านนา

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการป้องกันการจมน้ำ ในเด็กต่ำกว่า 15 ปี ประจำปี 2567

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลบ้านนา

รพ.สต.บ้านลำใน ตำบลบ้านนา

หมู่ที่ 2,4,7,10,12ตำบลบ้านนา/ รร.วัดลำใน / ศพด.บ้านลำใน

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของเด็กวัยเรียน(อายุ 6 ปีขึ้นไป)ที่ว่ายน้ำไม่ได้และมีโอกาสเสียชีวิตจากการจมน้ำ

 

20.00

จากรายงานองค์การอนามัยโลกพบว่า ในทุกๆปีมีเด็กทั่วโลก (อายุต่ำกว่า 15 ปี) เสียชีวิตจากการจมน้ำ เป็นอันดับ 3สำหรับสถานการณ์ของจังหวัดพัทลุง กลุ่มเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี เสียชีวิตจากการจมน้ำจำนวนหลายรายด้วยกัน ซึ่งพื้นที่ในเขตรับผิดชอบของรพ.สต.บ้านลำใน มีแหล่งน้ำธรรมาติที่เสี่ยงต่อการเกิดเหตุจมน้ำ หลายที่ด้วยกัเพราะมีน้ำตกเขาคราม และแหล่งน้ำธรรมาติที่เป็นแหล่งท่องเที่ยว ที่เด็กชอบมาเล่นน้ำและมีเด็กจมน้ำทุกปีดังนั้นรพ.สต.บ้านลำในได้กระหนักถึงความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นจึงจัดทำโครงการป้องกันการจมน้ำในเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปีประจำปี2567 ขึ้น เพื่อเฝ้าระวังและป้องกันไม่ให้เกิดเหตุเด็กจมน้ำต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้เด็กและผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้และทักษะในการเอาชีวิตรอดในน้ำ

ร้อยละ 80 ของผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้ความเข้าใจและมีทักษะในการเอาชีวิตรอดในน้ำ

20.00 50.00
2 เพื่อให้เด็กและผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้พื้นฐานในการช่วยเหลือผู้จมน้ำและการปฐมพยาบาลเบื้องต้น

ร้อยละ 80 ของผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้พื้นฐานและทักษะการช่วยเหลือผู้จมน้ำและการปฐมพยาบาลเบื้องต้น

20.00 80.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 135
กลุ่มวัยทำงาน 75
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]
กลุ่มเป้าหมายจำแนกเพิ่มเติม
ครูและเด็กศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านลำใน 45
เด็กนักเรียนโรงเรียนวัดลำใน 90
แกนนำ อสม. 75

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/01/2024

กำหนดเสร็จ 30/08/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 อบรมให้ความรู้และวิธีเอาตัวรอดในน้ำเพื่อลดการเสียชีวิตจากการจมน้ำแก่เด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี ในโรงเรียน

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้และวิธีเอาตัวรอดในน้ำเพื่อลดการเสียชีวิตจากการจมน้ำแก่เด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี ในโรงเรียน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

อบรมให้ความรู้แก่ครูและนักเรียนโรงเรียนวัดลำใน
- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มผู้เข้ารับการอบรม/ผู้จัด และวิทยากร จำนวน 90 คนๆ ละ1 มื้อๆ ละ 35 บาท เป็นเงิน 3,150 บาท
- ค่าสมนาคุณวิทยากรจำนวน 3 ชั่วโมงๆ ละ 600 บาท เป็นเงิน 1,800 บาท
- ค่าป้ายไวนิลรณรงค์การป้องกันการจมน้ำใน รร./ศพด./แหล่งน้ำธรรมชาติและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ขนาด 2x3 เมตร จำนาน 6 ป้ายๆ ละ 600 บาท เป็นเงิน 3,600 บาท
รวมเป็นเงิน 8,550 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2567 ถึง 31 มีนาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ร้อยละ 90ของครูและนักเรียนที่เข้ารับการอบรม มีความรู้และทักษะในการเอาชีวิตรอดในน้ำได้อย่างถูกต้อง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
8550.00

กิจกรรมที่ 2 อบรมให้ความรู้และวิธีเอาตัวรอดในน้ำเพื่อลดการเสียชีวิตจากการจมน้ำแก่เด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้และวิธีเอาตัวรอดในน้ำเพื่อลดการเสียชีวิตจากการจมน้ำแก่เด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

อบรมให้ความรู้แก่ครูและนักเรียนใน ศพด.บ้านลำใน
ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มจำนวน45 คนๆละ 1 มื้อๆละ 35 บาท เป็นเงิน1,575บาท
ค่าสมนาคุณวิทยกรจำนวน 3 ชั่วโมงๆๆละ 600 บาท เป็นเงิน1,800บาท
รวมเป็นเงิน 3,375บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2567 ถึง 31 มีนาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ร้อยละ 90ของครูและนักเรียนมีความรู้และวิธีการเอาตัวรอดในน้ำได้อย่างถูกต้อง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
3375.00

กิจกรรมที่ 3 อบรมให้ความรู้และวิธีการเอาตัวรอดและการช่วยเหลือเด็กจมน้ำแก่แกนนำในชุมชนและ อสม.

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้และวิธีการเอาตัวรอดและการช่วยเหลือเด็กจมน้ำแก่แกนนำในชุมชนและ อสม.
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

อบรมให้ความรู้แก่ อสม.และแกนนำในชุมชนในการเอาตัวรอดและช่วยเหลือเด็กจมน้ำ
ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มผู้เข้ารับการอบรมจำนวน 80 คนๆ ละ 1 มื้อๆ ละ 35 บาท เป็นเงิน 2,800 บาท
ค่าสมนาคุณวิทยากรจำนวน 3 ชม.ๆ ละ 600 บาท เป็นเงิน 1,800 บาท
ค่าวัสดุที่ใช้ในโครงการ 3,375 บาท รวมเป็นเงิน 7,975 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2566 ถึง 30 เมษายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ร้อยละ 90 ของกลุ่มเป้าหมาย มีความรู้และวิธีการเอาตัวรอดในน้ำและการช่วยเหลือและปฐมพยาบาลเบื้องต้นแก่ผู้จมน้ำได้อย่างถูกต้อง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
7975.00

กิจกรรมที่ 4 ประชุมแกนนำในการวางแผนการจัดการแหล่งท่องเที่ยวแหล่งน้ำธรรมชาติที่มีความเสี่ยงต่อการจมน้ำ

ชื่อกิจกรรม
ประชุมแกนนำในการวางแผนการจัดการแหล่งท่องเที่ยวแหล่งน้ำธรรมชาติที่มีความเสี่ยงต่อการจมน้ำ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ประชุมแกนนำเพื่อวางแผนการบริหารจัดการเพื่อป้องกันการจมน้ำในแหล่งน้ำธรรมชาติที่เป็นแหล่งท่องเที่ยวในเขตพื้นที่ รพ.สต.บ้านลำใน ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มจำนวน20คนๆละ 35 บาท เป็นเงิน 700บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2567 ถึง 30 เมษายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

แกนนำได้ร่วมกันจัดทำแผนการบริหารจัดการความเสี่ยงต่อการจมน้ำจำนวน 1 ชุด

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
700.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 20,600.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.ผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้และทักษะที่ถูกต้องในการเอาตัวรอดในน้ำ
2.ผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้และทักษะพื้นฐานในการช่วยเหลือผู้จมน้ำและการปฐมพยาบาลเบื้องต้น
3.มีแผนการบริหารจัดการการป้องกันการจมน้ำในพื้นที่


>