กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ตำมะลัง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการอบรมให้ความรู้ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของผู้ป่วยโรคเรื้อรังในรพ.สต.ตำมะลังปีงบประมาณ 2567

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ตำมะลัง

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลตำมะลัง

1.นางเดียงสา ยังเจริญ ตำแหน่ง ผอ.รพ.สต.ตำมะลัง
2. นายลิขสิทธิ์หนูนุ่มตำแหน่ง พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ
3. นางสาวดรุณี บิลังโหลดตำแหน่ง พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ
4. นายอารีย์ ลัสมาน ตำแหน่ง นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ
5. นางยูวัยดา มาราสา ตำแหน่ง นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ

ตำบลตำมะลัง อำเภอเมือง จังหวัดสตูล

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของผู้ป่วยเบาหวานที่เกิดภาวะแทรกซ้อน เช่น เบาหวานขึ้นจอประสาทตา แผล ไตวาย

 

19.38

ด้วยปัจจุบันกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง เป็นปัญหาสำคัญทางสาธารณสุขและมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะโรคเบาหวาน(DM)และโรคความดันโลหิตสูง (HT) เป็นภัยเงียบที่ส่งผลกระทบทำให้เกิดภาวะโรคแทรกซ้อน ทำให้เกิดความพิการและตายก่อนวัยอันควร การเกิดโรคมีสาเหตุจากหลายปัจจัยเสี่ยงที่มาจากพฤติกรรมการรับประทานอาหารที่ไม่เหมาะสม ขาดการออกกำลังกาย และนำไปสู่การเจ็บป่วยแทรกซ้อนที่สำคัญ อาทิ โรคจอประสาทตาเสื่อม โรคไตวายเรื้อรัง (CKD)โรคหัวใจและหลอดเลือด(CVD) แผลเรื้อรัง การถูกตัดขา ตัดนิ้ว เป็นต้น ความเจ็บป่วยเหล่านี้ส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยตลอดจนค่าใช้จ่ายด้านสาธารณสุขโดยรวม

จากผลการดำเนินงานคัดกรองค้นหาผู้ป่วยเบาหวานของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลตำมะลัง โดย อสม. ได้จัดทำโครงการตรวจคัดกรอง เพื่อค้นหาโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงเบื้องต้น พบว่ามีผู้ป่วยรายใหม่และผู้มีภาวะเสี่ยงสูงจำนวนเพิ่มขึ้นทุกปีโดยเฉพาะในปี 2565 พบผู้ป่วยรายใหม่ในชุมชน ความดันโลหิตสูง จำนวน 12 คน และผู้ป่วยเบาหวาน จำนวน 9 คน สถานการณ์โรคไม่ติดต่อในคลินิกโรคเรื้อรัง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลตำมะลังตำบลตำมะลัง อำเภอเมือง จังหวัดสตูลในปีงบ 2566 พบว่ามีผู้ป่วยความดันโลหิตสูงควบคุมความดันโลหิตได้ดีร้อยละ 63.93และผู้ป่วยเบาหวานควบคุมระดับน้ำตาลได้ดี ร้อยละ 14.58(ข้อมูลจาก HDC สสจ. จังหวัดสตูล) ในจำนวนผู้ป่วยเบาหวาน ความดันโลหิตสูง พบว่ามีภาวะแทรกซ้อน ดังนี้ 1)โรคไตเสื่อม 2) โรคจอประสาทตา 3) โรคหัวใจหลอดเลือด 4) โรคอัมพฤกษ์ (เส้นเลือดสมองแตก) เป็นต้น
จากสภาพปัญหาดังกล่าวโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลตำมะลังได้ดำเนินการแก้ไขปัญหาเบาหวาน ความดันโลหิตสูงโดยมีกิจกรรมอบรมให้ความรู้ในเรื่องการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพเพื่อสร้างการมีส่วนร่วมของผู้ป่วยและญาติในการดูแลตนเองในด้านการรักษาและส่งเสริมสุขภาพของผู้ป่วยเบาหวาน ในคลินิกของหน่วยบริการปฐมภูมิ เพื่อลดภาวะแทรกซ้อนต่างๆจากโรค

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อแก้ปัญหาผู้ป่วยเบาหวานที่เกิดภาวะแทรกซ้อน เช่น เบาหวานขึ้นจอประสาทตา แผล ไตวาย

ร้อยละของผู้ป่วยเบาหวานที่เกิดภาวะแทรกซ้อน เช่นเบาหวานขึ้นจอประสาทตา แผล ไตวาย ลดลง

0.00 0.00
2 เพื่อให้ผู้ป่วยมีความรู้ ความตระหนัก เกี่ยวกับโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง
  1. ผู้ป่วยความดันโลหิตสูงควบคุมความดันโลหิตได้ดี มากกว่าหรือเท่ากับร้อยละ 50
  2. ผู้ป่วยเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลได้ดี มากกว่าหรือเท่าร้อยละ 30
0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 189
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/01/2024

กำหนดเสร็จ 30/09/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 จัดกิจกรรมอบรมให้ความรู้ แก่ผู้ป่วย ญาติ และ แกนนำสุขภาพ

ชื่อกิจกรรม
จัดกิจกรรมอบรมให้ความรู้ แก่ผู้ป่วย ญาติ และ แกนนำสุขภาพ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กลุ่มเป้าหมาย คือ ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง ผู้ป่วยโรคเบาหวาน ญาติ และแกนนำสุขภาพ จำนวน60คน
โดยมีรายละเอียดดังนี้ (1) ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มจำนวน60 คนx30บาท x 2 มื้อ x 1 วัน เป็นเงิน3,600 บาท (2) ค่าอาหารกลางวันจำนวน60 คนx 60บาท x 1 มื้อx 1วัน เป็นเงิน3,600 บาท (3) ค่าตอบแทนวิทยากร 5 ชั่วโมง x 600 บาทx 1 วัน เป็นเงิน 3,000 บาท รวมเป็นเงิน10,200 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กุมภาพันธ์ 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. เพื่อให้ผู้ป่วยมีความรู้ ความตระหนัก เกี่ยวกับโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง
  2. เพื่อให้ผู้ป่วยมีการปรับเลี่ยนพฤติกรรมอย่างเหมาะสมนำไปสู่การควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด, ระดับความดันโลหิต ให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
10200.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมคลินิกสีแดง ให้ความรู้แก่ผู้ป่วยโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง และญาติ

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมคลินิกสีแดง ให้ความรู้แก่ผู้ป่วยโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง และญาติ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กลุ่มเป้าหมาย คือ ผู้ป่วยโรคเบาหวาน  ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง  และญาติ   จำนวน  60  คน โดยมีรายละเอียดดังนี้
(1) ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม
    จำนวน  60 คน  x 30  บาท x 1 มื้อ  x 7  ครั้ง   เป็นเงิน  12,600 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มกราคม 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. เพื่อให้ผู้ป่วยมีความรู้ ความตระหนัก เกี่ยวกับโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง
  2. เพื่อให้ผู้ป่วยมีการปรับเลี่ยนพฤติกรรมอย่างเหมาะสม  นำไปสู่การควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด, ระดับความดันโลหิต ให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
12600.00

กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมคลินิกสีเขียว ให้ความรู้แก่ผู้ป่วยโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง และญาติ

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมคลินิกสีเขียว ให้ความรู้แก่ผู้ป่วยโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง และญาติ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กลุ่มเป้าหมาย คือ โรคความดันโลหิตสูง และญาติ   จำนวน  80  คน โดยมีรายละเอียดดังนี้ (1) ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม
     จำนวน  80 คน  x 30  บาท x 1 มื้อ  x 4  ครั้ง       เป็นเงิน 9,600 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มกราคม 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. เพื่อให้ผู้ป่วยมีความรู้ ความตระหนัก เกี่ยวกับโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง
  2. เพื่อให้ผู้ป่วยมีการปรับเลี่ยนพฤติกรรมอย่างเหมาะสม  นำไปสู่การควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด, ระดับความดันโลหิต ให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
9600.00

กิจกรรมที่ 4 กิจกรรมตรวจคัดกรองวัณโรค

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมตรวจคัดกรองวัณโรค
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

โดยการ X-RAY ปอดในผู้ป่วยโรคเบาหวาน ที่มีผลเลือด HbA1C > 7 %  จำนวน 50 ราย โดยมีรายละเอียดดังนี้ (1) ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม
     จำนวน  50 คน  x 30  บาท x 1 มื้อ  x 1  ครั้ง       เป็นเงิน 1,500 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มกราคม 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. เพื่อให้ผู้ป่วยมีความรู้ ความตระหนัก เกี่ยวกับโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง
  2. เพื่อให้ผู้ป่วยมีการปรับเลี่ยนพฤติกรรมอย่างเหมาะสม  นำไปสู่การควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด, ระดับความดันโลหิต ให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
1500.00

กิจกรรมที่ 5 กิจกรรมตรวจฟันในผู้ป่วยโรคเรื้อรัง

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมตรวจฟันในผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรมตรวจฟันในผู้ป่วยโรคเรื้อรัง   โดยทันตาภิบาล ปีละ 1 ครั้ง ในกลุ่มผู้ป่วยโรคเบาหวาน และผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง อายุ>60 ปี รวมจำนวน 150 คน (1) ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม
     จำนวน 150 คน x 30  บาท x 1 มื้อ  x 1  ครั้ง     เป็นเงิน 4,500 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มกราคม 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. เพื่อให้ผู้ป่วยมีความรู้ ความตระหนัก เกี่ยวกับโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง
  2. เพื่อให้ผู้ป่วยมีการปรับเลี่ยนพฤติกรรมอย่างเหมาะสม  นำไปสู่การควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด, ระดับความดันโลหิต ให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
4500.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 38,400.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. กลุ่มเป้าหมาย สามารถควบคุมให้อยู่ในเกณฑ์ปกติได้ ลดการเกิดภาวะโรคแทรกซ้อน
2. อัตราความรุนแรงของโรคลดลง อัตราความพิการลดลง


>