กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองทุ่งตำเสา

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุด้วยกิจกรรมทางสังคม

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองทุ่งตำเสา

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานผู้สูงอายุ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ปัญหาด้านสภาพจิตใจของผู้สูงอายุเกิดจากความรู้สึกสูญเสีย ทั้งคนใกล้ชิดอย่างบุตรหลานที่ค่อยๆ เติบโตแยกย้ายไปมีครอบครัว รวมถึงเพื่อนสนิทหรือคู่ชีวิตที่ล้มหายตายจากไป สูญเสียความสามารถการเป็นที่พึ่ง ภาวะผู้นำ การยอมรับจากผู้อื่น อีกทั้งโลกปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว สภาพสังคมแบบในอดีตเริ่มเลือนหายไป การแข่งขันสูงขึ้น จากครอบครัวใหญ่กลายเป็นครอบครัวเล็ก เป็นต้น ด้วยการเปลี่ยนแปลงต่างๆทั้งภายในและภายนอก ทำให้ผู้สูงอายุมีแนวโน้มจะกลับไปเป็นเหมือนเด็กที่ต้องการการพึ่งพาอาศัยจากผู้อื่นสัญญาณเตือนที่บ่งชี้ว่าผู้สูงอายุจำเป็นต้องได้รับการดูแลสุขภาพจิตอย่างใกล้ชิด อาทิ ๑) มีการเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์ เกิดความรู้สึกเหงา ว้าเหว่ เบื่อหน่าย ๒) ไม่เห็นคุณค่าในตัวเอง ค่อยๆ แยกตัวออกมาจากสังคม ๓) ไม่อยากทำอะไร ๔) มีความเกี่ยวข้องกับโรคทางกาย เช่น โรคหัวใจ เบาหวาน ความดันโลหิตสูง ๕) ขาดกำลังใจ จากสัญญาณเตือนเหล่านี้ สามารถพัฒนาจนกลายเป็นโรคซึมเศร้าได้ซึ่งปัจจุบันพบว่า ๑๐-๒๐% ของผู้ที่อายุมากกว่า ๖๐ ปี มีภาวะซึมเศร้าโดยเฉพาะผู้หญิง และยิ่งมีอายุมากความเสี่ยงก็จะยิ่งเพิ่มมากขึ้นอีกด้วย นอกจากนี้อัตราฆ่าตัวตายยังพบในผู้สูงอายุมากกว่าวัยอื่นๆ สะท้อนให้เห็นสภาพจิตใจที่ไม่มั่นคงของคนสูงวัย การดูแลผู้สูงอายุจำเป็นต้องได้รับความร่วมมือจากคนใกล้ชิด ด้วยวัยที่ห่างกันอาจจะทำให้การสื่อสารแตกต่างกันบ้าง ลูกหลานควรพยายามปรับตัวเพื่อที่จะเข้าใจคนวัยนี้มากขึ้นสิ่งแรกที่แนะนำ คือทำให้พวกเขารู้สึกมีส่วนร่วมกับครอบครัว โดยการใช้เวลาอยู่กับผู้สูงอายุ พูดคุยและรับฟัง รวมถึงดูแลใส่ใจด้านสุขภาพ พาผู้สูงอายุในบ้านไปพบแพทย์ นอกจากการสนับสนุนภายในครอบครัวแล้ว สังคมภายนอกเองก็มีผลอย่างมาก ผู้สูงอายุที่อาศัยอยู่แต่ในบ้านมีแนวโน้มเกิด “ภาวะเนือยนิ่ง” คือมีความรู้สึกห่อเหี่ยว หดหู่ ดังนั้นการทำกิจกรรมต่างๆตามความสนใจจะสามารถช่วยเยียวยาจิตใจผู้สูงวัยได้มากทีเดียว
กิจกรรมทางสังคมจะทำให้ผู้สูงอายุได้พบปะกับผู้อื่นในวัยใกล้เคียงกัน จึงไม่รู้สึกโดดเดี่ยว ปรับตัวและยอมรับตัวเองได้ง่ายขึ้น สนับสนุนให้พวกเขามีความนับถือในตัวเอง ป้องกันการเกิดภาวะซึมเศร้า แนวทางการจัดกิจกรรมสังคมควรจะมีความหลากหลายและสามารถแก้ปัญหาของผู้สูงอายุได้ เช่น ช่วยดูแลสุขภาพ ทำให้จิตใจสดชื่น มีความภูมิใจในชีวิต จัดการกับสภาวะอารมณ์ เป็นต้น กิจกรรมทางสังคมที่แนะนำสำหรับผู้สูงอายุ ได้แก่ กิจกรรมรูปแบบออกกำลังกาย กิจกรรมเผยแพร่ความรู้ กิจกรรมส่งเสริมความรู้ให้ผู้สูงอายุ กิจกรรมการท่องเที่ยว กิจกรรมตามประเพณีและศาสนา กิจกรรมพัฒนาสังคมกิจกรรมธรรมปฏิบัติ
จากข้อมูลจากกองทุนหลักประกันสุขภาพ เพื่อการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงเทศบาลเมืองทุ่งตำเสา ณ เดือนกันยายน ๒๕๖๖ มีประชากรทั้งหมด ๑๗,๑๘๓ คน มีผู้สูงอายุ (อายุ ๖๐ ปีขึ้นไป) จำนวน ๒,๕๑๔ คน คิดเป็นร้อยละ ๑๔.๖๓ซึ่งถือว่าตำบลทุ่งตำเสาก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ (Aging society) (อ้างอิง กลุ่มเสริมสร้างและพัฒนาศักยภาพเครือข่าย
กองส่งเสริมศักยภาพผู้สูงอายุ : สังคมผู้สูงอายุ (Aging Society) คือ สังคมที่มีประชากรอายุ ๖๐ ปีขึ้นไปที่อยู่จริงในพื้นที่ต่อประชากรทุกช่วงอายุในพื้นที่เดียวกัน และมีอัตราเท่ากับหรือมากกว่าร้อยละ ๑๐ ขึ้นไป หรือมีประชากรอายุ ๖๕ ปีขึ้นไปที่อยู่จริงในพื้นที่ต่อประชากรทุกช่วงอายุในพื้นที่เดียวกัน อัตราเท่ากับหรือมากกว่าร้อยละ ๗) ทั้งนี้พบว่าตำบลทุ่งตำเสามีผู้สูงอายุกลุ่มติดเตียง จำนวน ๑๕ ราย กลุ่มติดบ้าน จำนวน ๔๑ ราย กลุ่มติดสังคม จำนวน ๒,๔๓๑ ราย เพื่อเป็นการดูแลสุขภาพตามช่วงวัยส่งเสริมสนับสนุนพัฒนาการผู้สูงอายุกลุ่มติดสังคมได้มีกิจกรรมทางสังคมที่เหมาะสม งานสังคมสงเคราะห์ ฝ่ายอำนวยการ สำนักปลัดเทศบาล จึงได้จัดทำ “โครงการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุด้วยกิจกรรมทางสังคม” ขึ้น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อป้องกันภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุโดยใช้กิจกรรมทางสังคม

๑. ร้อยละ ๑๐๐ ของผู้สูงอายุที่เข้าร่วมโครงการได้รับการประเมินความเสี่ยงของโรคซึมเศร้า ๒. ร้อยละ ๑๐๐ ของผู้สูงอายุที่เข้าร่วมกิจกรรมเข้าร่วมกิจกรรมทางสังคม ตามแผนงานโครงการ มากกว่า ร้อยละ ๘๐

0.00
2 เพื่อส่งเสริมให้ผู้สูงอายุกลุ่มติดสังคมมีกิจกรรมทางสังคมที่เหมาะสม
  1. ผู้สูงอายุร้อยละ ๑๐๐ มีการทำกิจกรรมทางสังคมที่เหมาะสม อย่างน้อยเดือนละ ๑ ครั้ง
  2. ผู้สูงอายุมีค่าความสามารถในการดำเนินชีวิตประจำวัน (ดัชนีบาร์เธลเอดีแอล : Barthel ADL index) มากกว่าหรือเท่ากับ ๑๑ คะแนน
  3. ร้อยละ ๘๐ ของผู้เข้าร่วมโครงการมีระดับความพึงพอใจผ่านเกณฑ์ประเมิน (เกณฑ์ผ่านประเมิน คือ มากกว่าร้อยละ ๗๐)
0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ 160
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/11/2023

กำหนดเสร็จ 31/07/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 จัดประชุมชี้แจงโครงการ /สรุปผลโครงการ

ชื่อกิจกรรม
จัดประชุมชี้แจงโครงการ /สรุปผลโครงการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม สำหรับจัดประชุม   ๒5 บาท x ๑0 คน x ๒ ครั้ง เป็นเงิน ๕๐0.-บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ได้จัดประชุมชี้แจงโครงการ /สรุปผลโครงการ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
500.00

กิจกรรมที่ 2 ประเมินภาวะซึมเศร้าในกลุ่มผู้สูงอายุผู้เข้าร่วมกิจกรรม ก่อนและหลัง

ชื่อกิจกรรม
ประเมินภาวะซึมเศร้าในกลุ่มผู้สูงอายุผู้เข้าร่วมกิจกรรม ก่อนและหลัง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าสำเนาแบบประเมิน จำนวน 32 ชุด (ก่อนแลหลังเข้าร่วมโครงการ) เป็นเงิน 640.-บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 ธันวาคม 2566 ถึง 31 ธันวาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ได้ประเมินภาวะซึมเศร้าในกลุ่มผู้สูงอายุผู้เข้าร่วมกิจกรรม

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
640.00

กิจกรรมที่ 3 นันทนาการเพื่อสร้างเสริมสุขภาวะแบบองค์รวม

ชื่อกิจกรรม
นันทนาการเพื่อสร้างเสริมสุขภาวะแบบองค์รวม
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม สำหรับผู้เข้าร่วมกิจกรรม/จนท.ผู้จัดโครงการ/วิทยากร  ๒5 บาท x 50 คน x ๒ มื้อ x 4 รุ่น เป็นเงิน   1,000.-บาท
  • ค่าอาหารกลางวันสำหรับผู้เข้าร่วมกิจกรรม/จนท.ผู้จัดโครงการ/วิทยากร ๖๐บาท x ๑ มื้อ x ๕๐ คน x ๔ รุ่น เป็นเงิน 1๒,๐๐๐.-บาท
  • ค่าของที่ระลึก จำนวน ๔ ชิ้น เป็นเงิน ๖,๐๐๐.-บาท
  • ค่าวัสดุอุปกรณ์ในการทำกิจกรรมนอกสถานที่ เช่น กระดาษบรู้ฟ ปากกา กระดาษสี เชือก กาว ฯลฯ เป็นเงิน ๓,๐๐๐.-บาท
  • ป้ายไวนิลประชาสัมพันธ์โครงการ ขนาด ๑ x ๒.๔ เมตร จำนวน ๑ ผืน เป็นเงิน ๓๖๐.- บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มกราคม 2567 ถึง 30 มิถุนายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

นันทนาการเพื่อสร้างเสริมสุขภาวะแบบองค์รวม

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
31360.00

กิจกรรมที่ 4 หิ้วปิ่นโต ฟังธรรม

ชื่อกิจกรรม
หิ้วปิ่นโต ฟังธรรม
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าตอบแทนวิทยากรบรรยาย ๖๐๐บาท x ๑ชม. x ๓ ครั้ง (วัดทุ่งตำเสา,วัดหูแร่และวัดพรุชบา  เป็นเงิน ๑,๘๐๐.- บาท
  • ค่าน้ำดื่ม ๑๐บาท x ๕๐ คน x ๓ ครั้ง เป็นเงิน ๑,๕๐๐.-บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มกราคม 2567 ถึง 30 มิถุนายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ได้จัดกิจกรรม หิ้วปิ่นโต ฟังธรรม

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
3300.00

กิจกรรมที่ 5 คัดเลือก “ผู้สูงอายุตัวอย่างตำบลทุ่งตำเสา”

ชื่อกิจกรรม
คัดเลือก “ผู้สูงอายุตัวอย่างตำบลทุ่งตำเสา”
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับประชุมกรรมการ  ๒๕ บาท x ๒ครั้ง x ๑๐ คน เป็นเงิน ๕๐๐.-บาท
  • ค่าจัดทำประกาศ ๒๐ บาท x ๑๐ รางวัล เป็นเงิน ๒๐๐.- บาท
  • ค่าจัดซื้อโล่ ๒๐๐ บาท x ๓ รางวัล เป็นเงิน ๖๐๐.- บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2567 ถึง 30 เมษายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ได้ผู้รับการคัดเลือก “ผู้สูงอายุตัวอย่างตำบลทุ่งตำเสา”

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
1300.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 37,100.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

๑.ผู้สูงอายุได้รับการประเมินความเสี่ยงของภาวะซึมเศร้า
๒.ผู้สูงอายุมีกิจกรรมทางสังคมเหมาะสม ป้องกัน/ลดจำนวนผู้สูงอายุกลุ่มติดบ้าน/ติดเตียงในชุมชน
๓.มีข้อมูลสุขภาพเพื่อเฝ้าระวังภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุให้แก่ครอบครัวและหน่วยบริการสาธารณสุขดูแลต่อเนื่อง


>