กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุด้วยกิจกรรมทางสังคม
รหัสโครงการ 67-L5275-02-003
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ งานสังคมสงเคราะห์ สำนักปลัดเทศบาลเมืองทุ่งตำเสา
วันที่อนุมัติ 22 พฤศจิกายน 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 พฤศจิกายน 2566 - 31 กรกฎาคม 2567
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 37,100.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวสุมณฑา แป้นชุม
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานผู้สูงอายุ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มผู้สูงอายุ 160 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้สูงอายุ :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัญหาด้านสภาพจิตใจของผู้สูงอายุเกิดจากความรู้สึกสูญเสีย ทั้งคนใกล้ชิดอย่างบุตรหลานที่ค่อยๆ เติบโตแยกย้ายไปมีครอบครัว รวมถึงเพื่อนสนิทหรือคู่ชีวิตที่ล้มหายตายจากไป สูญเสียความสามารถการเป็นที่พึ่ง ภาวะผู้นำ การยอมรับจากผู้อื่น อีกทั้งโลกปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว สภาพสังคมแบบในอดีตเริ่มเลือนหายไป การแข่งขันสูงขึ้น จากครอบครัวใหญ่กลายเป็นครอบครัวเล็ก เป็นต้น ด้วยการเปลี่ยนแปลงต่างๆทั้งภายในและภายนอก ทำให้ผู้สูงอายุมีแนวโน้มจะกลับไปเป็นเหมือนเด็กที่ต้องการการพึ่งพาอาศัยจากผู้อื่นสัญญาณเตือนที่บ่งชี้ว่าผู้สูงอายุจำเป็นต้องได้รับการดูแลสุขภาพจิตอย่างใกล้ชิด อาทิ ๑) มีการเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์ เกิดความรู้สึกเหงา ว้าเหว่ เบื่อหน่าย ๒) ไม่เห็นคุณค่าในตัวเอง ค่อยๆ แยกตัวออกมาจากสังคม ๓) ไม่อยากทำอะไร ๔) มีความเกี่ยวข้องกับโรคทางกาย เช่น โรคหัวใจ เบาหวาน ความดันโลหิตสูง ๕) ขาดกำลังใจ จากสัญญาณเตือนเหล่านี้ สามารถพัฒนาจนกลายเป็นโรคซึมเศร้าได้ซึ่งปัจจุบันพบว่า ๑๐-๒๐% ของผู้ที่อายุมากกว่า ๖๐ ปี มีภาวะซึมเศร้าโดยเฉพาะผู้หญิง และยิ่งมีอายุมากความเสี่ยงก็จะยิ่งเพิ่มมากขึ้นอีกด้วย นอกจากนี้อัตราฆ่าตัวตายยังพบในผู้สูงอายุมากกว่าวัยอื่นๆ สะท้อนให้เห็นสภาพจิตใจที่ไม่มั่นคงของคนสูงวัย การดูแลผู้สูงอายุจำเป็นต้องได้รับความร่วมมือจากคนใกล้ชิด ด้วยวัยที่ห่างกันอาจจะทำให้การสื่อสารแตกต่างกันบ้าง ลูกหลานควรพยายามปรับตัวเพื่อที่จะเข้าใจคนวัยนี้มากขึ้นสิ่งแรกที่แนะนำ คือทำให้พวกเขารู้สึกมีส่วนร่วมกับครอบครัว โดยการใช้เวลาอยู่กับผู้สูงอายุ พูดคุยและรับฟัง รวมถึงดูแลใส่ใจด้านสุขภาพ พาผู้สูงอายุในบ้านไปพบแพทย์ นอกจากการสนับสนุนภายในครอบครัวแล้ว สังคมภายนอกเองก็มีผลอย่างมาก ผู้สูงอายุที่อาศัยอยู่แต่ในบ้านมีแนวโน้มเกิด “ภาวะเนือยนิ่ง” คือมีความรู้สึกห่อเหี่ยว หดหู่ ดังนั้นการทำกิจกรรมต่างๆตามความสนใจจะสามารถช่วยเยียวยาจิตใจผู้สูงวัยได้มากทีเดียว กิจกรรมทางสังคมจะทำให้ผู้สูงอายุได้พบปะกับผู้อื่นในวัยใกล้เคียงกัน จึงไม่รู้สึกโดดเดี่ยว ปรับตัวและยอมรับตัวเองได้ง่ายขึ้น สนับสนุนให้พวกเขามีความนับถือในตัวเอง ป้องกันการเกิดภาวะซึมเศร้า แนวทางการจัดกิจกรรมสังคมควรจะมีความหลากหลายและสามารถแก้ปัญหาของผู้สูงอายุได้ เช่น ช่วยดูแลสุขภาพ ทำให้จิตใจสดชื่น มีความภูมิใจในชีวิต จัดการกับสภาวะอารมณ์ เป็นต้น กิจกรรมทางสังคมที่แนะนำสำหรับผู้สูงอายุ ได้แก่ กิจกรรมรูปแบบออกกำลังกาย กิจกรรมเผยแพร่ความรู้ กิจกรรมส่งเสริมความรู้ให้ผู้สูงอายุ กิจกรรมการท่องเที่ยว กิจกรรมตามประเพณีและศาสนา กิจกรรมพัฒนาสังคมกิจกรรมธรรมปฏิบัติ
จากข้อมูลจากกองทุนหลักประกันสุขภาพ เพื่อการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงเทศบาลเมืองทุ่งตำเสา ณ เดือนกันยายน ๒๕๖๖ มีประชากรทั้งหมด ๑๗,๑๘๓ คน มีผู้สูงอายุ (อายุ ๖๐ ปีขึ้นไป) จำนวน ๒,๕๑๔ คน คิดเป็นร้อยละ ๑๔.๖๓ซึ่งถือว่าตำบลทุ่งตำเสาก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ (Aging society) (อ้างอิง กลุ่มเสริมสร้างและพัฒนาศักยภาพเครือข่าย กองส่งเสริมศักยภาพผู้สูงอายุ : สังคมผู้สูงอายุ (Aging Society) คือ สังคมที่มีประชากรอายุ ๖๐ ปีขึ้นไปที่อยู่จริงในพื้นที่ต่อประชากรทุกช่วงอายุในพื้นที่เดียวกัน และมีอัตราเท่ากับหรือมากกว่าร้อยละ ๑๐ ขึ้นไป หรือมีประชากรอายุ ๖๕ ปีขึ้นไปที่อยู่จริงในพื้นที่ต่อประชากรทุกช่วงอายุในพื้นที่เดียวกัน อัตราเท่ากับหรือมากกว่าร้อยละ ๗) ทั้งนี้พบว่าตำบลทุ่งตำเสามีผู้สูงอายุกลุ่มติดเตียง จำนวน ๑๕ ราย กลุ่มติดบ้าน จำนวน ๔๑ ราย กลุ่มติดสังคม จำนวน ๒,๔๓๑ ราย เพื่อเป็นการดูแลสุขภาพตามช่วงวัยส่งเสริมสนับสนุนพัฒนาการผู้สูงอายุกลุ่มติดสังคมได้มีกิจกรรมทางสังคมที่เหมาะสม งานสังคมสงเคราะห์ ฝ่ายอำนวยการ สำนักปลัดเทศบาล จึงได้จัดทำ “โครงการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุด้วยกิจกรรมทางสังคม” ขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อป้องกันภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุโดยใช้กิจกรรมทางสังคม

๑. ร้อยละ ๑๐๐ ของผู้สูงอายุที่เข้าร่วมโครงการได้รับการประเมินความเสี่ยงของโรคซึมเศร้า ๒. ร้อยละ ๑๐๐ ของผู้สูงอายุที่เข้าร่วมกิจกรรมเข้าร่วมกิจกรรมทางสังคม ตามแผนงานโครงการ มากกว่า ร้อยละ ๘๐

0.00
2 เพื่อส่งเสริมให้ผู้สูงอายุกลุ่มติดสังคมมีกิจกรรมทางสังคมที่เหมาะสม
  1. ผู้สูงอายุร้อยละ ๑๐๐ มีการทำกิจกรรมทางสังคมที่เหมาะสม อย่างน้อยเดือนละ ๑ ครั้ง
  2. ผู้สูงอายุมีค่าความสามารถในการดำเนินชีวิตประจำวัน (ดัชนีบาร์เธลเอดีแอล : Barthel ADL index) มากกว่าหรือเท่ากับ ๑๑ คะแนน
  3. ร้อยละ ๘๐ ของผู้เข้าร่วมโครงการมีระดับความพึงพอใจผ่านเกณฑ์ประเมิน (เกณฑ์ผ่านประเมิน คือ มากกว่าร้อยละ ๗๐)
0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 37,100.00 0 0.00
??/??/???? จัดประชุมชี้แจงโครงการ /สรุปผลโครงการ 0 500.00 -
1 - 31 ธ.ค. 66 ประเมินภาวะซึมเศร้าในกลุ่มผู้สูงอายุผู้เข้าร่วมกิจกรรม ก่อนและหลัง 0 640.00 -
1 ม.ค. 67 - 30 มิ.ย. 67 นันทนาการเพื่อสร้างเสริมสุขภาวะแบบองค์รวม 0 31,360.00 -
1 ม.ค. 67 - 30 มิ.ย. 67 หิ้วปิ่นโต ฟังธรรม 0 3,300.00 -
1 มี.ค. 67 - 30 เม.ย. 67 คัดเลือก “ผู้สูงอายุตัวอย่างตำบลทุ่งตำเสา” 0 1,300.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑.ผู้สูงอายุได้รับการประเมินความเสี่ยงของภาวะซึมเศร้า
๒.ผู้สูงอายุมีกิจกรรมทางสังคมเหมาะสม ป้องกัน/ลดจำนวนผู้สูงอายุกลุ่มติดบ้าน/ติดเตียงในชุมชน
๓.มีข้อมูลสุขภาพเพื่อเฝ้าระวังภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุให้แก่ครอบครัวและหน่วยบริการสาธารณสุขดูแลต่อเนื่อง

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 7 ธ.ค. 2566 15:57 น.