กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลคลองขุด

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการสถานที่จำหน่ายอาหารสะอาด ปราศจากโรค เทศบาลตำบลคลองขุด

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลคลองขุด

กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลตำบลคลองขุด

ชื่อองค์กร กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลตำบลคลองขุด
1. นายธีระจันทร์ทองพูน ผู้อำนวยการกองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม 089-7344506
2. นายวินิชถวิลวรรณ์ หัวหน้าฝ่ายบริหารงานสาธารณสุข 086-9662545
3. นางสาวบิสนีเด่นดารา นักวิชาการสุขาภิบาลปฏิบัติการ 087-2815258
4. นางวิภารัตน์คุ้มกัน นักวิชาการสุขาภิบาลปฏิบัติการ 090-0125626
5. นางสาวอังคณา มรรคาเขต นักวิชาการสุขาภิบาลปฏิบัติการ 091-4595296

เทศบาลตำบลคลองขุด

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอาหารและโภชนาการ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 เพื่อพัฒนาและยกระดับสถานที่จำหน่ายอาหารให้ได้เกณฑ์มาตรฐานด้านสุขาภิบาลอาหาร

 

60.00

ตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ.2535 พระราชบัญญัติรักษาความสะอาดและความเรียบร้อยของบ้านเมือง พ.ศ.2535 พระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ.2522 พระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ.2558 มีบทบัญญัติให้อำนาจแก่ราชการส่วนท้องถิ่น มีอำนาจกำกับดูแล ในการควบคุมดูแลสถานที่จำหน่ายอาหารหรือสถานที่สะสมอาหาร ให้เป็นไปตามข้อกำหนดของท้องถิ่น และนโยบายกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุขได้ให้ความสำคัญในเรื่องอาหารปลอดภัยโดยตลอด เพราะอาหารเป็นปัจจัยที่สำคัญต่อสุขภาพของประชาชน ทั้งในด้านคุณภาพและความสะอาด นอกจากนี้อาหารยังเป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิต การบริโภคอาหารที่ไม่สะอาดเป็นสาเหตุสำคัญของการเกิดโรคภัยไข้เจ็บต่างๆ ได้ โดยมีเชื้อโรคและสารปนเปื้อนหลายชนิดที่เป็นอันตรายถึงแก่ชีวิต หลักสำคัญในการเลือกรับประทานอาหารนอกเหนือจากรสชาติอาหารแล้ว สิ่งที่ต้องคำนึงและพิจารณาควบคู่ไปด้วย คือ คุณค่าตามหลักโภชนาการ คุณภาพ ความสะอาด ปราศจากสารปนเปื้อน เพราะประชาชนมีโอกาสเสี่ยงต่อการรับประทานอาหารที่ไม่สะอาดจากผู้ประกอบอาหารขาดความรู้ความเข้าใจในเรื่องการสุขาภิบาลอาหารและน้ำ ผู้สัมผัสอาหารที่ขาดความรู้ ความเข้าใจ และไม่ปฏิบัติตนให้ถูกต้องในระหว่างการเตรียม ปรุง ประกอบอาหาร ปลอดภัย มีคุณค่าตามหลักโภชนาการและปราศจากสารปนเปื้อนนั้น จำเป็นต้องมีระบบการดูแล ควบคุม ตรวจสอบคุณภาพความปลอดภัยของอาหาร
ดังนั้น จะเห็นว่าจากสถานการณ์เจริญเติบโตทางเศรษฐกิจและการเปลี่ยนแปลงทางด้านสังคมอย่างรวดเร็วของประเทศไทยในปัจจุบัน ทำให้วิถีชีวิตของประชาชนเปลี่ยนแปลงไป พฤติกรรมการบริโภคอาหารนอกบ้านมากขึ้น จากเดิมปรุงอาหารรับประทานเองที่บ้าน เปลี่ยนเป็นการบริโภคอาหารที่ไม่สะอาดจากผู้ประกอบการที่ขาดความรู้ ความเข้าใจในเรื่องสุขาภิบาลอาหารและน้ำ ขาดการควบคุมดูแลสถานประกอบการให้ได้มาตรฐาน และถูกสุขลักษณะตามกฎหมายและข้อกำหนดของท้องถิ่น ซึ่งทำให้อาหารเสี่ยงต่อการปนเปื้อนเชื้อโรคได้
งานสุขาภิบาลและอนามัยสิ่งแวดล้อม กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลตำบลคลองขุด ตระหนักถึงความสำคัญของปัญหา จึงได้ทำโครงการสถานที่จำหน่ายอาหารสะอาด ปราศจากโรค เทศบาลตำบลคลองขุด เพื่อเป็นการดูแลคุณภาพของการสุขาภิบาลของร้านอาหาร ควบคุมคุณภาพอาหารที่จำหน่ายให้สะอาด และเพื่อเป็นการเฝ้าระวัง พัฒนาและยกระดับสถานประกอบการตามหลักสุขาภิบาลอาหาร CFGT (Clean food good taste) จึงเป็นเป้าหมายที่สำคัญ เพื่อให้ได้อาหารที่สะอาด ปลอดภัย ปราศจากสารปนเปื้อน ที่อาจเป็นสาเหตุให้เกิดโรคระบบทางเดินอาหารแก่ผู้ประกอบการและผู้บริโภคได้

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อพัฒนาและยกระดับสถานที่จำหน่ายอาหารให้ได้เกณฑ์มาตรฐานด้านสุขาภิบาลอาหาร

ร้อยละ 80 ของสถานที่จำหน่ายอาหารได้รับการตรวจสารปนเปื้อน และแบคทีเรียในอาหารผ่านเกณฑ์มาตรฐานด้านสุขาภิบาลอาหาร CFGT (Clean food good taste)

60.00 80.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]
กลุ่มเป้าหมายจำแนกเพิ่มเติม
ตัวแทนผู้ประกอบการสถานที่จำหน่ายอาหาร 30

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/02/2024

กำหนดเสร็จ 30/09/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 อบรมให้ความรู้ ความเข้าใจเรื่องการจัดการ เฝ้าระวัง ดูแล คุณภาพสถานที่จำหน่ายอาหาร แก่ผู้ประกอบการร้านอาหาร

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้ ความเข้าใจเรื่องการจัดการ เฝ้าระวัง ดูแล คุณภาพสถานที่จำหน่ายอาหาร แก่ผู้ประกอบการร้านอาหาร
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

อบรมให้ความรู้ ความเข้าใจเรื่องการจัดการ เฝ้าระวัง ดูแล คุณภาพสถานที่จำหน่ายอาหาร แก่ผู้ประกอบการร้านอาหาร
กิจกรรมที่ 1 อบรมให้ความรู้ ความเข้าใจเรื่องการจัดการ เฝ้าระวัง ดูแล คุณภาพสถานที่จำหน่ายอาหาร แก่ผู้ประกอบการร้านอาหาร
1. ค่าไวนิลโครงการ ขนาด 2.0 X 1.2 เมตร ตารางเมตรละ 150 บาท  เป็นเงิน     360 บาท
2. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มในการอบรม  จำนวน 30 คน x 30 บาท x 2 มื้อเป็นเงิน 1,800 บาท
3. ค่าอาหารกลางวัน          จำนวน 30 คน x 70 บาท x 1 มื้อเป็นเงิน 2,100 บาท
4. ค่าสัมมนาคุณวิทยากร      จำนวน 6 ชั่วโมงๆ ละ 600 บาท เป็นเงิน  3,600 บาท
5. ค่าวัสดุอุปกรณ์ในการจัดอบรม ประกอบด้วย
- ค่าถ่ายเอกสารคู่มือหลักสูตรฝึกอบรม จำนวน 30 ชุดๆ ละ 15 บาท เป็นเงิน    450 บาท
- ปากกา จำนวน 30 ด้าม x 5 บาท  เป็นเงิน       150 บาท
- แฟ้มใส่เอกสาร จำนวน 30 ซอง x 12 บาท  เป็นเงิน       360 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กุมภาพันธ์ 2567 ถึง 30 เมษายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้ประกอบการร้านอาหารมีความรู้ ความเข้าใจและเห็นความสำคัญในการจัดการเฝ้าระวัง ดูแล คุณภาพสถานที่จำหน่ายอาหาร

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
8820.00

กิจกรรมที่ 2 เฝ้าระวัง ดูแล คุณภาพสถานที่จำหน่ายอาหาร แก่ผู้ประกอบการร้านอาหาร

ชื่อกิจกรรม
เฝ้าระวัง ดูแล คุณภาพสถานที่จำหน่ายอาหาร แก่ผู้ประกอบการร้านอาหาร
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

เฝ้าระวัง ดูแล คุณภาพสถานที่จำหน่ายอาหาร แก่ผู้ประกอบการร้านอาหาร
- ตรวจประเมินสุขลักษณะสถานที่จำหน่าย
- เก็บตัวอย่างอาหารจากสถานที่จำหน่ายอาหารเพื่อหาสารปนเปื้อน และเชื้อแบคทีเรียในอาหาร

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

สถานที่จำหน่ายอาหารในพื้นที่ได้รับการพัฒนาและยกระดับสถานที่จำหน่ายอาหารให้ได้เกณฑ์มาตรฐานด้านสุขาภิบาลอาหาร ทำให้ประชาชนได้รับความปลอดภัยในการบริโภคอาหารได้มากยิ่งขึ้น

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
11180.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 20,000.00 บาท

หมายเหตุ :
งบประมาณต่างๆ สามารถถัวจ่ายกันได้ตามการจ่ายจริง กิจกรรม สถานที่และเวลาสามารถเปลี่ยนแปลงได้ตามความเหมาะสม

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.ผู้ที่เข้ารับการอบรมมีความรู้ ความเข้าใจและเห็นความสำคัญในการจัดการเฝ้าระวัง ดูแล คุณภาพสถานที่จำหน่ายอาหาร
2.สถานที่จำหน่ายอาหารในพื้นที่ได้รับการพัฒนาและยกระดับสถานที่จำหน่ายอาหารให้ได้เกณฑ์มาตรฐานด้านสุขาภิบาลอาหาร ทำให้ประชาชนได้รับความปลอดภัยในการบริโภคอาหารได้มากยิ่งขึ้น


>