กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการสถานที่จำหน่ายอาหารสะอาด ปราศจากโรค เทศบาลตำบลคลองขุด
รหัสโครงการ L5300-67-1-2
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลตำบลคลองขุด
วันที่อนุมัติ 23 พฤศจิกายน 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กุมภาพันธ์ 2567 - 30 กันยายน 2567
กำหนดวันส่งรายงาน 30 ตุลาคม 2567
งบประมาณ 20,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวอังคณา มรรคาเขต
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ เทศบาล ตำบลคลองขุด อำเภอเมืองสตูล จังหวัดสตูล
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอาหารและโภชนาการ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 เพื่อพัฒนาและยกระดับสถานที่จำหน่ายอาหารให้ได้เกณฑ์มาตรฐานด้านสุขาภิบาลอาหาร
60.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ.2535 พระราชบัญญัติรักษาความสะอาดและความเรียบร้อยของบ้านเมือง พ.ศ.2535 พระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ.2522 พระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ.2558 มีบทบัญญัติให้อำนาจแก่ราชการส่วนท้องถิ่น มีอำนาจกำกับดูแล ในการควบคุมดูแลสถานที่จำหน่ายอาหารหรือสถานที่สะสมอาหาร ให้เป็นไปตามข้อกำหนดของท้องถิ่น และนโยบายกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุขได้ให้ความสำคัญในเรื่องอาหารปลอดภัยโดยตลอด เพราะอาหารเป็นปัจจัยที่สำคัญต่อสุขภาพของประชาชน ทั้งในด้านคุณภาพและความสะอาด นอกจากนี้อาหารยังเป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิต การบริโภคอาหารที่ไม่สะอาดเป็นสาเหตุสำคัญของการเกิดโรคภัยไข้เจ็บต่างๆ ได้ โดยมีเชื้อโรคและสารปนเปื้อนหลายชนิดที่เป็นอันตรายถึงแก่ชีวิต หลักสำคัญในการเลือกรับประทานอาหารนอกเหนือจากรสชาติอาหารแล้ว สิ่งที่ต้องคำนึงและพิจารณาควบคู่ไปด้วย คือ คุณค่าตามหลักโภชนาการ คุณภาพ ความสะอาด ปราศจากสารปนเปื้อน เพราะประชาชนมีโอกาสเสี่ยงต่อการรับประทานอาหารที่ไม่สะอาดจากผู้ประกอบอาหารขาดความรู้ความเข้าใจในเรื่องการสุขาภิบาลอาหารและน้ำ ผู้สัมผัสอาหารที่ขาดความรู้ ความเข้าใจ และไม่ปฏิบัติตนให้ถูกต้องในระหว่างการเตรียม ปรุง ประกอบอาหาร ปลอดภัย มีคุณค่าตามหลักโภชนาการและปราศจากสารปนเปื้อนนั้น จำเป็นต้องมีระบบการดูแล ควบคุม ตรวจสอบคุณภาพความปลอดภัยของอาหาร ดังนั้น จะเห็นว่าจากสถานการณ์เจริญเติบโตทางเศรษฐกิจและการเปลี่ยนแปลงทางด้านสังคมอย่างรวดเร็วของประเทศไทยในปัจจุบัน ทำให้วิถีชีวิตของประชาชนเปลี่ยนแปลงไป พฤติกรรมการบริโภคอาหารนอกบ้านมากขึ้น จากเดิมปรุงอาหารรับประทานเองที่บ้าน เปลี่ยนเป็นการบริโภคอาหารที่ไม่สะอาดจากผู้ประกอบการที่ขาดความรู้ ความเข้าใจในเรื่องสุขาภิบาลอาหารและน้ำ ขาดการควบคุมดูแลสถานประกอบการให้ได้มาตรฐาน และถูกสุขลักษณะตามกฎหมายและข้อกำหนดของท้องถิ่น ซึ่งทำให้อาหารเสี่ยงต่อการปนเปื้อนเชื้อโรคได้
งานสุขาภิบาลและอนามัยสิ่งแวดล้อม กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลตำบลคลองขุด ตระหนักถึงความสำคัญของปัญหา จึงได้ทำโครงการสถานที่จำหน่ายอาหารสะอาด ปราศจากโรค เทศบาลตำบลคลองขุด เพื่อเป็นการดูแลคุณภาพของการสุขาภิบาลของร้านอาหาร ควบคุมคุณภาพอาหารที่จำหน่ายให้สะอาด และเพื่อเป็นการเฝ้าระวัง พัฒนาและยกระดับสถานประกอบการตามหลักสุขาภิบาลอาหาร CFGT (Clean food good taste) จึงเป็นเป้าหมายที่สำคัญ เพื่อให้ได้อาหารที่สะอาด ปลอดภัย ปราศจากสารปนเปื้อน ที่อาจเป็นสาเหตุให้เกิดโรคระบบทางเดินอาหารแก่ผู้ประกอบการและผู้บริโภคได้

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อพัฒนาและยกระดับสถานที่จำหน่ายอาหารให้ได้เกณฑ์มาตรฐานด้านสุขาภิบาลอาหาร

ร้อยละ 80 ของสถานที่จำหน่ายอาหารได้รับการตรวจสารปนเปื้อน และแบคทีเรียในอาหารผ่านเกณฑ์มาตรฐานด้านสุขาภิบาลอาหาร CFGT (Clean food good taste)

60.00 80.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 20,000.00 0 0.00
1 ก.พ. 67 - 30 เม.ย. 67 อบรมให้ความรู้ ความเข้าใจเรื่องการจัดการ เฝ้าระวัง ดูแล คุณภาพสถานที่จำหน่ายอาหาร แก่ผู้ประกอบการร้านอาหาร 0 8,820.00 -
1 เม.ย. 67 - 30 ก.ย. 67 เฝ้าระวัง ดูแล คุณภาพสถานที่จำหน่ายอาหาร แก่ผู้ประกอบการร้านอาหาร 0 11,180.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.ผู้ที่เข้ารับการอบรมมีความรู้ ความเข้าใจและเห็นความสำคัญในการจัดการเฝ้าระวัง ดูแล คุณภาพสถานที่จำหน่ายอาหาร
2.สถานที่จำหน่ายอาหารในพื้นที่ได้รับการพัฒนาและยกระดับสถานที่จำหน่ายอาหารให้ได้เกณฑ์มาตรฐานด้านสุขาภิบาลอาหาร ทำให้ประชาชนได้รับความปลอดภัยในการบริโภคอาหารได้มากยิ่งขึ้น

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 8 ธ.ค. 2566 14:23 น.