กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบเสนอโครงการกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่น

กปท.7

แบบจัดทำแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.กำแพง รหัส กปท. L8010

อำเภอละงู จังหวัดสตูล

ตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2561 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ข้อ 16 (2) “ให้พิจารณาอนุมัติโครงการ หรือกิจกรรม ให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของกองทุนตามข้อ 10”

อาศัยอำนาจของประกาศ ฯ ข้อ 10 “เงินกองทุนหลักประกันสุขภาพตามข้อ 7 วรรคหนึ่ง ให้ใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมเป็นค่าใช้จ่ายตามแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ที่คณะกรรมการกองทุนอนุมัติ” จึงได้จัดทำแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ประจำปีงบประมาณ 2567 โดยมีรายละเอียด ดังนี้

1.
ชื่อ
check_box_outline_blank
แผนงาน
check_box
โครงการ
check_box_outline_blank
กิจกรรม
โครงการหยุดยั้งฟันผุ ด้วยวิธี SMART ร่วมกับซิลเวอร์ไดเอมีนฟลูออไรด์ในเด็กปฐมวัย ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก เขตตำบลกำแพง ปีที่ 2
2.
ชื่อ
check_box_outline_blank
หน่วยงาน
check_box_outline_blank
องค์กร
check_box_outline_blank
กลุ่มประชาชน
ฝ่ายทันตสาธารณสุข โรงพยาบาลละงู
กลุ่มคน
1.นางสาวภณิดา สิงห์อินทร์ ผู้ประสานงานคนที่ 1 (089-4499421)
2.นางสาวนุรรัยมีย์ แยบคาย ผู้ประสานงานคนที่ 2 (099-3630119)
3.นางสาวขัยรีหย๊ะ ชะยานัย
4 นางสาวจุฑาทิพย์ รอเกตุ
5 นายสันติชัย เข่งเงิน
3.
หลักการและเหตุผล

โรคฟันผุเป็นโรคติดเชื้อเรื้อรังที่พบมากในเด็ก และยังคงเป็นปัญหาทางทันตสาธารณสุขที่สําคัญของประเทศไทย จากผลการสํารวจสภาวะทันตสุขภาพแห่งชาติครั้งที่ 8 พ.ศ. 2560 พบว่าเด็กไทยอายุ 3 ปี และ 5 ปี มีความชุกในการเกิดฟันผุ ร้อยละ 52.9 และ 75.6 ตามลำดับ ค่าเฉลี่ยฟันผุถอนอุด (dmft) 2.8 ซี่ และ 4.5 ซี่ต่อคน ตามลำดับ ซึ่งไม่ได้รับการรักษาคิดเป็นร้อยละ 52.0 ซึ่งเป็นสาเหตุหลักของอาการเจ็บปวดและการสูญเสียฟันน้ำนม เด็กอายุ 3 ปี ร้อยละ 2.3 มีประสบการณ์การสูญเสียฟันในช่องปากโดยพบว่าในปัจจุบัน เด็กปฐมวัยเริ่มมีฟันผุตั้งแต่อายุยังน้อย มีการลุกลามได้เร็ว มีลักษณะการผุหลายๆ ซี่ในช่องปาก และมีจำนวนฟันผุเพิ่มมากขึ้นเมื่ออายุเพิ่มขึ้น และฟันผุในระยะแรกเริ่มสามารถลุกลามเป็นรูฟันผุได้ในระยะเวลา 6-12 เดือนนอกจากนั้นพบว่าเด็กในเขตภาคใต้มีความจำเป็นต้องได้รับบริการรักษาทางทันตกรรมมากที่สุด จากการสำรวจเด็กทั้งหมดในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสังกัดองค์การบริหารส่วนตำบลกำแพงในปี พ.ศ. 2566 จำนวน 6 ศูนย์ ได้แก่ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านควนไสน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านท่าแลหลา ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านปากปิง ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านปิใหญ่ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านป่าฝาง และศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านตูแตหรำ พบฟันผุร้อยละ 63.50 มีค่าเฉลี่ยฟันผุประมาณ 4.69 ซี่ต่อคน จากข้อมูลดังกล่าวพบว่ามีอุบัติการณ์โรคฟันผุสูงและพบว่าเด็กเล็กที่เพิ่งเข้ามาเรียนไม่เคยได้รับการรักษาด้วยการอุดฟันหรือหยุดยั้งฟันผุมาก่อนคิดเป็นร้อยละ 67.35 ทำให้มีฟันผุลุกลามจนทะลุโพรงประสาทฟัน เกิดอาการปวดทรมาน ทำให้เด็กไม่สามารถเคี้ยวอาหารได้ รับประทานอาหารได้น้อยลง เกิดภาวะขาดสารอาหาร ซึ่งส่งผลกระทบต่อการพัฒนาการ การเจริญเติบโตของร่างกายและคุณภาพชีวิตของเด็ก จึงจำเป็นต้องได้รับการส่งเสริมและป้องกันโรคดังกล่าว

โรคฟันผุในเด็กเล็กสามารถป้องกันได้โดยผู้ปกครองหรือผู้ดูแลเด็ก ที่จะช่วยส่งเสริมทันตสุขภาพของเด็กก่อนวัยเรียนได้ดีที่สุด เนื่องจากเป็นผู้ที่อยู่ใกล้ชิดและมีบทบาทสำคัญในการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมด้านสุขภาพของเด็กพร้อมทั้งการเฝ้าระวังโรค ด้วยการแปรงฟันให้สะอาดอย่างสม่ำเสมอ เพื่อลดการสะสมของคราบจุลินทรีย์แต่เมื่อมีการผุจนสูญเสียแร่ธาตุและเนื้อฟันเป็นโพรงเกิดขึ้นแล้ว การรักษาจึงต้องเป็นการหยุดยั้งเพื่อไม่ให้ผุลุกลามไปสู่โพรงประสาทฟันจนมีอาการปวดได้ ซึ่งแนวทางการรักษาต้องเป็นการเก็บรักษาเนื้อฟันไว้ให้ได้มากที่สุด (Non-invasive treatment or minimal invasive treatment) เช่น การใช้ฟลูออไรด์วาร์นิช ซิลเวอร์ไดเอมีนฟลูออไรด์ และบูรณะฟันด้วยวิธี Simplified and Modified Atraumatic Restoration Treatment (SMART) เป็นต้น การอุดฟันโดยวิธี SMART เป็นเทคนิคการอุดฟันที่คิดค้นเพื่อใช้ในการบูรณะฟันในกรณีที่ไม่สามารถจัดบริการรักษาแบบปกติได้ จะบูรณะด้วยกลาสไอโอโนเมอร์ซีเมนต์ มีคุณสมบัติปลดปล่อยฟลูออไรด์ ลดปริมาณเชื้อแบคทีเรียในช่องปาก เพิ่มการคืนกลับของแร่ธาตุ ควบคุมการลุกลามและการดำเนินของโรคฟันผุ ป้องกันการเกิดฟันผุซ้ำ ซึ่งประสิทธิผลในการบูรณะด้วยวิธีนี้มีประโยชน์ในการจัดการฟันน้ำนมผุลุกลามรุนแรงในเด็กเล็ก ใช้เครื่องมือพื้นฐานใช้มือ (Hand instrument) ในการอุดฟัน ให้อัตราความสำเร็จในการรักษาสูง การทบทวนงานวิจัยอย่างเป็นระบบ ของ De Amorim RG และคณะปี ค.ศ. 2012 พบอัตราการคงอยู่ของวัสดุประมาณร้อยละ 93 และ 62 ในการอุดฟันด้านเดียวและหลายด้าน ตามลำดับ และคงอยู่ร้อยละ 86 เมื่อเวลาผ่านไป 3 ปี นอกจากนั้นเด็กที่ได้รับการรักษาวิธีนี้ไม่มีอาการปวดคิดเป็นร้อยละ 93 ประโยชน์ของการอุดฟันด้วยวิธี SMART คือ ค่าใช้จ่ายน้อย เจ็บปวดน้อย ลดความกังวลของเด็ก สามารถเก็บฟันไว้ได้โดยไม่ต้องถอน เป็นการให้บริการทันตกรรมเชิงรุก สามารถดำเนินการในชุมชนได้โดยที่ไม่จำเป็นต้องใช้เครื่องมือที่ทันสมัย และเลือกใช้ในกิจกรรมทันตสุขภาพในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กได้ดี ซึ่งทางฝ่ายทันตสาธารณสุขได้ให้การรักษาวิธีการนี้แก่เด็กก่อนวัยเรียนในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดองค์การบริหารส่วนตำบลกำแพงมาแล้วในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา พบว่าในปีพ.ศ. 2566 มีเด็กได้รับการรักษาด้วยวิธี SMART คิดเป็นร้อยละ 77.34 ของเด็กที่มีฟันผุภายหลังการรักษาเด็กไม่มีอาการปวดฟัน และมีอัตราการยึดติดของวัสดุร้อยละ 90.77 ซึ่งให้ผลความสำเร็จค่อนข้างสูง

ซิลเวอร์ไดเอมีนฟลูออไรด์ (SDF) ความเข้นข้นร้อยละ 38 มีความสามารถในการหยุดยั้งฟันผุในชั้นเนื้อฟันได้ดี สารประกอบซิลเวอร์หรือเงินมีคุณสมบัติในการฆ่าเชื้อแบคทีเรีย และลดการย่อยสลายของคอลลาเจนในเนื้อฟันร่วมกับการคืนกลับแร่ธาตุโดยฟลูออไรด์ที่ผิวหน้าฟัน เกิดการแข็งตัวของเนื้อฟันในโพรงฟันผุ ลดอาการเสียวฟัน มีรายงานผลการศึกษาการทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบและ Meta-analysis ปี ค.ศ. 2019 พบว่าประสิทธิภาพการใช้ซิลเวอร์ไดเอมีนฟลูออไรด์ ในการยับยั้งฟันผุในชั้นเนื้อฟันของฟันน้ำนมสูงถึงร้อยละ 81 และ 89 ข้อดีคือ ใช้งานง่าย สะดวก ไม่แพง ปลอดภัย ใช้เวลาในการรักษาไม่นาน ไม่ต้องกรอฟันให้เกิดเสียงที่ทำให้เด็กกลัว ไม่พบอาการไม่พึงประสงค์ที่รุนแรง และไม่ทำให้เกิดความเจ็บปวดขณะรักษาจึงมีความเหมาะสมที่จะนำมาใช้ในการป้องกันและหยุดยั้งฟันผุในเด็กเล็กที่มีข้อจำกัด หรือให้ความร่วมมือในการรักษาทางทันตกรรมน้อย แต่มีข้อคำนึงถึงประการหนึ่งคือ หลังการใช้ซิลเวอร์ไดเอมีนฟลูออไรด์ในการหยุดยั้งฟันผุลุกลามได้มีประสิทธิภาพนั้น จะมีการเปลี่ยนรอยผุบริเวณนั้นเป็นสีดำอย่างถาวร แต่อย่างไรก็ตาม สีดำที่เกิดขึ้นก็มีลักษณะคล้ายรอยผุหยุดยั้งตามธรรมชาติ
การให้บริการทางทันตกรรมในระดับชุมชน จำเป็นต้องให้การรักษาเพื่อควบคุมการลุกลามของรอยโรคฟันผุ (Caries control) ในเวลา ค่าใช้จ่าย และทรัพยากรบุคคลที่มีอยู่อย่างจำกัด ซิลเวอร์ไดเอมีนฟลูออไรด์เป็นทางเลือกหนึ่งที่แนะนำในงานทันตสาธารณสุขชุมชน ในกลุ่มประชากรเด็กที่มีความเสี่ยงฟันผุสูง สำหรับในประเทศไทยมีแนวทางการใช้ฟลูออไรด์โดยทันตแพทยสมาคมแห่งประเทศไทยปี พ.ศ. 2560 ได้มีการแนะนำให้ใช้ซิลเวอร์ไดเอมีนฟลูออไรด์ที่รอยผุอย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง จนกว่ารอยโรคจะหยุดผุ หรือเมื่อได้รับการบูรณะหรือฟันน้ำนมหลุดเองตามธรรมชาติ ซึ่งได้มีการนำมาใช้เป็นครั้งแรกในระดับชุมชนของพื้นที่อำเภอละงูเมื่อปีที่ผ่านมา ซึ่งให้ผลการหยุดยั้งฟันผุในฟันน้ำนมที่มีฟันผุลุกลามร้อยละ 90.56 ของฟันที่ได้รับการรักษาด้วยซิลเวอร์ไดเอมีนฟลูออไรด์ และผู้ปกครองเด็กเล็กพึงพอใจต่อการรักษาในระดับมากที่สุดร้อยละ 92.28ดังนั้น กลุ่มงานทันตสาธารณสุข โรงพยาบาลละงู จึงได้จัดทำโครงการหยุดยั้งฟันผุด้วยวิธี SMART ร่วมกับซิลเวอร์ไดเอมีนฟลูออไรด์ในเด็กปฐมวัย ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเขตตำบลกำแพง เป็นปีที่ 2 เพื่อเป็นการต่อยอดโครงการ สร้างแรงจูงใจในการดูแลสุขภาพช่องปากเด็กเล็กควบคุมการลุกลามของโรคฟันผุ ป้องกันการเกิดฟันผุซ้ำ และเป็นการส่งเสริมป้องกันโรคในช่องปากให้กับเด็กเล็กได้อย่างต่อเนื่องครอบคลุม และแพร่หลายมากขึ้นต่อไป

4.
วัตถุประสงค์(เพื่อการจัดบริการสร้างเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค ฟื้นฟูสมรรถภาพ และรักษาพยาบาลระดับปฐมภูมิเชิงรุก รวมถึงการจัดกระบวนการหรือกิจกรรมเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพ และการป้องกันโรค)
  • 1. เพื่อฟื้นฟูให้ความรู้และเพิ่มทักษะในการดูแลสุขภาพช่องปากที่ดีแก่ผู้ปกครองเด็กและครูผู้ดูแลเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก
    ตัวชี้วัด : ผู้ปกครองเด็กรายใหม่และครูผู้ดูแลเด็กมีความรู้และทักษะในการดูแลสุขภาพช่องปากเด็กเล็กเพิ่มขึ้นมากกว่าร้อยละ 80
    ขนาดปัญหา เป้าหมาย 80.00
  • 2. เพื่อให้เด็กปฐมวัย เข้าถึงบริการทางทันตกรรมและได้รับการบูรณะฟันน้ำนมเพิ่มขึ้น
    ตัวชี้วัด : เด็กปฐมวัยในศพด. เขตตำบลกำแพง เข้าถึงบริการทางทันตกรรม ได้รับการตรวจฟัน การหยุดยั้งฟันน้ำนมผุและบูรณะฟันน้ำนมอย่างน้อยร้อยละ 80
    ขนาดปัญหา เป้าหมาย 80.00
  • 3. เพื่อลดการผุลุกลามและหยุดยั้งฟันน้ำนมผุในเด็กปฐมวัย
    ตัวชี้วัด : วัสดุบูรณะฟันยึดติดในสภาพดี ฟันผุหยุดยั้ง ลดการสูญเสียฟันน้ำนม ลดอาการปวดฟันและลดการผุซ้ำในฟันน้ำนมที่ได้รับการรักษาไปอย่างน้อยร้อยละ 60
    ขนาดปัญหา เป้าหมาย 60.00
5.
วิธีดำเนินการ(ให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ตามข้อ 4)
  • 1. กิจกรรมด้านการส่งเสริมป้องกัน
    รายละเอียด

    1.1 กิจกรรมย่อย อบรมฟื้นฟูและให้ความรู้เพื่อเพิ่มทักษะในการดูแลสุขภาพช่องปากที่ดีแก่ผู้ปกครองเด็ก สร้างความเข้าใจเกี่ยวกับการบูรณะฟันด้วยวิธี SMART และการใช้ซิลเวอร์ไดเอมีนฟลูออไรด์หยุดยั้งฟันผุในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก หลักสูตร 1 วัน/ศพด.

    เป้าหมาย ผู้ปกครองเด็ก จำนวน 224 คน ประกอบด้วย

    • ผู้ปกครอง ศพด.บ้านควนไสน จำนวน 36 คน

    • ผู้ปกครอง ศพด.บ้านท่าแลหลา จำนวน 54 คน

    • ผู้ปกครอง ศพด.บ้านป่าฝาง จำนวน 37 คน

    • ผู้ปกครอง ศพด.บ้านปากปิง จำนวน 42 คน

    • ผู้ปกครอง ศพด.บ้านตูแตหรำ จำนวน 29 คน

    • ผู้ปกครอง ศพด.บ้านปิใหญ่ จำนวน 26 คน

    เป้าหมาย ครูผู้ดูแลเด็ก จำนวน 22 คน ประกอบด้วย

    • ครูผู้ดูแลเด็ก ศพด.บ้านควนไสน จำนวน 4 คน

    • ครูผู้ดูแลเด็ก ศพด.บ้านท่าแลหลา จำนวน 4 คน

    • ครูผู้ดูแลเด็ก ศพด.บ้านป่าฝาง จำนวน 4 คน

    • ครูผู้ดูแลเด็ก ศพด.บ้านปากปิง จำนวน 4 คน

    • ครูผู้ดูแลเด็ก ศพด.บ้านตูแตหรำ จำนวน 3 คน

    • ครูผู้ดูแลเด็ก ศพด.บ้านปิใหญ่ จำนวน 3 คน

    รายละเอียดกิจกรรม

    1.1.1 อบรมฟื้นฟูและให้ความรู้เพื่อเพิ่มทักษะในการดูแลสุขภาพช่องปากที่ดีแก่ผู้ปกครองเด็กและครูผู้ดูแลเด็กในศพด.

    1.1.2 ให้ความรู้ สร้างความเข้าใจเกี่ยวกับการบูรณะฟันด้วยวิธี SMART และการใช้ซิลเวอร์ไดเอมีนฟลูออไรด์หยุดยั้งฟันผุ

    1.1.3 ฝึกปฏิบัติทักษะการแปรงฟัน แบบ Hand on ให้แก่ผู้ปกครองเด็กและครูผู้ดูแลเด็กในศพด. และให้แผ่นพิมพ์สื่อการดูแลสุขภาพช่องปากสำหรับเด็กเล็กเพื่อทบทวนความรู้ ให้สามารถนำไปปฏิบัติได้จริงที่บ้านและศพด.

    1.1.4 สร้างกลุ่มไลน์สำหรับผู้ปกครองเพื่อติดตามผลการนำทักษะการแปรงฟันเด็กเล็กไปปฏิบัติจริง และเป็นช่องทางให้ความรู้อย่างต่อเนื่อง

    งบประมาณ

    • ค่าวิทยากร (ไม่ขอเบิก)

    • ค่าถ่ายเอกสารแบบสอบถามผู้ปกครองผู้เข้าร่วมการอบรม จำนวน 224 ชุดๆ ละ2 บาท เป็นเงิน 448 บาท

    • ค่าถ่ายเอกสารแบบทดสอบความรู้ในการเข้าอบรม จำนวน 246 ชุดๆ ละ 2 บาท เป็นเงิน 492 บาท

    • ค่าป้ายไวนิลโครงการ จำนวน 1 ผืน ขนาด 1.5 x 3 เมตร เป็นเงิน 675 บาท

    • ค่าแผ่นพิมพ์สื่อการดูแลสุขภาพช่องปากสำหรับเด็กเล็กจำนวน 224 ชุดๆละ 10 บาท เป็นเงิน 2,240 บาท

    • ค่าวัสดุสาธิตการแปรงฟัน 224 ชุดๆ ละ 37 บาท เป็นเงิน 8,288 บาท

    รวมเป็นเงิน 12,143 บาท

    ศพด.บ้านควนไสน

    • ค่าอาหารกลางวันสำหรับผู้เข้าอบรมและผู้สังเกตการณ์จำนวน 44 คนๆละ 1 มื้อๆละ 65 บาทเป็นเงิน 2,860 บาท

    • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับผู้เข้าอบรมและผู้สังเกตการณ์ จำนวน 44 คนๆละ 2 มื้อๆละ 25 บาท เป็นเงิน 2,200 บาท

    รวมเป็นเงิน 5,060 บาท

    ศพด.บ้านท่าแลหลา

    • ค่าอาหารกลางวันสำหรับผู้เข้าอบรมและผู้สังเกตการณ์ จำนวน 62 คนๆละ 1 มื้อๆละ 65 บาทเป็นเงิน 4,030 บาท

    • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับผู้เข้าอบรมและผู้สังเกตการณ์ จำนวน 62 คนๆละ 2 มื้อๆละ 25 บาทเป็นเงิน 3,100 บาท

    รวมเป็นเงิน 7,130 บาท

    ศพด.บ้านป่าฝาง

    • ค่าอาหารกลางวันสำหรับผู้เข้าอบรมและผู้สังเกตการณ์จำนวน 45 คนๆละ 1 มื้อๆละ 65 บาทเป็นเงิน 2,925 บาท

    • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับผู้เข้าอบรมและผู้สังเกตการณ์จำนวน 45 คนๆละ 2 มื้อๆละ 25 บาท เป็นเงิน 2,250 บาท

    รวมเป็นเงิน 5,175 บาท

    ศพด.บ้านปากปิง

    • ค่าอาหารกลางวันสำหรับผู้เข้าอบรมและผู้สังเกตการณ์ จำนวน 50 คนๆละ 1 มื้อๆละ 65 บาทเป็นเงิน 3,250 บาท

    • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับผู้เข้าอบรมและผู้สังเกตการณ์ จำนวน 50 คนๆละ 2 มื้อๆ ละ 25 บาทเป็นเงิน 2,500 บาท

    รวมเป็นเงิน 5,750 บาท

    ศพด.บ้านตูแตหรำ

    • ค่าอาหารกลางวันสำหรับผู้เข้าอบรมและผู้สังเกตการณ์ จำนวน 36 คนๆละ 1 มื้อๆละ 65 บาท เป็นเงิน 2,340 บาท

    • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับผู้เข้าอบรมและผู้สังเกตการณ์จำนวน 36 คนๆละ 2 มื้อๆ ละ 25 บาทเป็นเงิน 1,800บาท

    รวมเป็นเงิน 4,140 บาท

    ศพด.บ้านปิใหญ่

    • ค่าอาหารกลางวันสำหรับผู้เข้าอบรมและผู้สังเกตการณ์จำนวน 33 คนๆละ 1 มื้อๆละ 65 บาท เป็นเงิน 2,145 บาท

    • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับผู้เข้าอบรมและผู้สังเกตการณ์ จำนวน 33 คนๆละ 2 มื้อๆละ 25 บาท เป็นเงิน 1,650 บาท

    รวมเป็นเงิน 3,795 บาท

    รวมเป็นเงินทั้งหมด 31,050 บาท

    กำหนดการ อบรมให้ความรู้ทักษะการดูแลสุขภาพช่องปากเด็กเล็กแก่ผู้ปกครองและครูผู้ดูแลเด็ก

    วันที่ …………… เดือน ………………………. พ.ศ……………..

    ณ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก………………………………………..

    เวลา เรื่อง วิทยากร/ผู้รับผิดชอบ/หน่วยงาน

    08.00 -09.00 น. ลงทะเบียน ผู้เข้าร่วมอบรม

    09.00 - 09.30 น. ชี้แจงรายละเอียดโครงการ

    แบบทดสอบก่อนการอบรม

    09.30 - 10.30น. - สถานการณ์โรคฟันผุในเด็ก ต.กำแพง

    • ฟันน้ำนมสำคัญอย่างไร?

    • อาหารที่ดีต่อสุขภาพช่องปาก

    10.45 - 12.00 น. - แนวทางในการดูแลสุขภาพช่องปากเด็กเล็ก

    • เทคนิคการแปรงฟันในเด็กเล็ก

    12.00 -13.00 น. พักรับประทานอาหารกลางวัน

    13.00 - 14.00 น. - การบูรณะฟันด้วยวิธี SMART ในเด็กเล็ก และหยุดยั้งฟันผุด้วยซิลเวอร์ไดเอมีนฟลูออไรด์

    14.00 - 15.00 น. ฝึกการตรวจฟัน/ฝึกแปรงฟันแบบ Hand on

    15.00 - 15.15 น. พักรับประทานอาหารว่าง

    15.15 - 16.00น. ซักถามปัญหา ข้อสงสัย

    16.00 - 16.30 น. แบบทดสอบหลังการอบรม/นัดหมาย

    หมายเหตุ : กำหนดการอาจมีการเปลี่ยนแปลงได้ตามความเหมาะสม

    งบประมาณ 43,193.00 บาท
  • 2. กิจกรรมด้านการรักษา/ฟื้นฟู
    รายละเอียด

    2.1) กิจกรรมย่อย ตรวจสุขภาพช่องปากเด็กเล็กทุกคน

    เป้าหมาย • เด็กใน ศพด. จำนวน 224 คน

    รายละเอียดกิจกรรม

    2.1.1 นักเรียนใน ศพด. ทั้ง 6 แห่ง ได้รับการตรวจฟันจากทันตบุคลากร

    2.1.2 วิเคราะห์ข้อมูลแยกกลุ่มเด็กที่ต้องได้รับการบูรณะฟันด้วยเทคนิค SMART และซิลเวอร์ไดเอมีนฟลูออไรด์ร่วมด้วย

    2.1.3 ทันตบุคลากรแจ้งผลการตรวจสุขภาพช่องปากของเด็กเล็กแก่ผู้ปกครอง และให้ใบแจ้งผลกรณีต้องรับการรักษาอื่นๆ เร่งด่วน/ต่อเนื่องที่รพ.สต. หรือรพ.

    2.2) กิจกรรมย่อย ให้การบูรณะฟันด้วยวิธี SMART และหยุดยั้งฟันผุด้วยซิลเวอร์ไดเอมีนฟลูออไรด์ในเด็กที่มีฟันน้ำนมผุและผู้ปกครองให้ความยินยอม

    เป้าหมาย

    • เด็กในศพด. จำนวน 224 คน

    2.2.1 ทาง รพ. ประสานงานครูเพื่อดำเนินการอุดฟันให้นักเรียน

    2.2.2 ผู้ปกครองของเด็กที่มีฟันผุต้องได้รับการหยุดยั้งฟันผุด้วยซิลเวอร์ไดเอมีนฟลูออไรด์ให้ความยินยอม

    2.2.3 เตรียมวัสดุและอุปกรณ์ ออกหน่วยให้การรักษา

    2.2.4 ครูผู้ดูแลเด็กนัดผู้ปกครองเด็กเพื่อนำเด็กตามรายชื่อมารับการรักษาในวันและเวลาที่นัดหมาย

    2.2.5 ให้บริการอุดฟันกรามน้ำนม ด้วยวิธี SMART และหยุดยั้งฟันผุด้วยซิลเวอร์ไดเอมีนฟลูออไรด์แก่เด็กเล็กใน ศพด. ที่มีฟันน้ำนมผุ และทาฟลูออไรด์วาร์นิชแก่เด็กเล็กที่ไม่มีโพรงฟันผุแต่มีความเสี่ยงการเกิดฟันผุสูง

    2.3) กิจกรรมย่อย ให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพในช่องปาก (ไม่มีค่าใช้จ่าย)

    2.4) กิจกรรมย่อย ส่งต่อไปรับการรักษาต่อกับทันตแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ในกรณีเกินศักยภาพของผู้ปฏิบัติ (ไม่มีค่าใช้จ่าย)

    รายละเอียดกิจกรรม

    งบประมาณ

    • วัสดุทางทันตกรรม ได้แก่

    1.วัสดุอุด GI Fuji IX capsule x 8 กล่อง x 2,400 บาท เป็นเงิน 19,200 บาท

    2.Dentin conditioner 25 กรัม สำหรับวัสดุอุด GI 2 ขวด เป็นเงิน 1,800 บาท

    3.ซิลเวอร์ไดเอมีนฟลูออไรด์ 5 มล. 1 ขวด เป็นเงิน 2,250 บาท

    4.ถุงมือ จำนวน 10 กล่องๆ ละ 100 บาท เป็นเงิน 1,000 บาท

    5.ค่าวัสดุทันตกรรมอื่นๆ เป็นเงิน 2,000 บาท

    6.ค่าตอบแทนปฏิบัติงานนอกเวลาราชการ จำนวน 12 วันๆ ละ 4 คนๆ ละ420 บาท เป็นเงิน 20,160 บาท

    7.ค่าถ่ายเอกสารแบบยินยอมให้การรักษา จำนวน 224 ชุดๆ ละ 1 บาท เป็นเงิน 224 บาท

    รวมเป็นเงินทั้งหมด 46,634 บาท

    งบประมาณ 46,634.00 บาท
  • 3. กิจกรรมติดตามผลการดำเนินงาน
    รายละเอียด

    3.1) กิจกรรมย่อย สำรวจความพึงพอใจของผู้ปกครองต่อการบูรณะฟันด้วยวิธี SMART และหยุดยั้งฟันผุด้วยซิลเวอร์ไดเอมีนฟลูออไรด์ในเด็กเล็ก พร้อมประมวลผล

    เป้าหมาย

    • ผู้ปกครองเด็ก จำนวน 224 คน

    รายละเอียดกิจกรรม

    3.1.1 ผู้ปกครองของเด็กที่ได้รับการบูรณะฟันน้ำนมด้วยวิธี SMART และหยุดยั้งฟันผุด้วยซิลเวอร์ไดเอมีนฟลูออไรด์ทำแบบสำรวจความพึงพอใจ

    3.2) กิจกรรมย่อย ติดตามผล 3 เดือนภายหลังการบูรณะฟันด้วยเทคนิค SMART และการหยุดยั้งฟันผุด้วยซิลเวอร์ไดเอมีนฟลูออไรด์

    เป้าหมาย

    • เด็กในศพด. จำนวน 224 คน

    รายละเอียดกิจกรรม

    3.2.1 ทันตบุคลากรจะเข้าไปติดตามอาการ ภายหลังการบูรณะฟันด้วยวิธี SMART และหยุดยั้งฟันผุด้วยซิลเวอร์ไดเอมีนฟลูออไรด์ในเด็กเล็ก ตรวจติดตามการยึดติดของวัสดุ การสูญเสียฟัน การปวดฟัน การผุซ้ำของฟันกรามน้ำนมที่ได้รับการรักษาไป เพื่อประเมินความสำเร็จของการรักษา โดยตรวจร้อยละ 100 ของเด็กที่ได้รับการรักษา

    งบประมาณ

    • ค่าถ่ายเอกสารแบบสำรวจความพึงพอใจของผู้ปกครองต่อการรักษา จำนวน 224ชุดๆ ละ 2 บาท เป็นเงิน 448 บาท

    รวมเป็นเงิน 448 บาท

    งบประมาณ 448.00 บาท
  • 4. รายงานผลโครงการ
    รายละเอียด

    4.1) กิจกรรมย่อย รายงานผลโครงการและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ จำนวน 2 ครั้ง

    รายละเอียดกิจกรรม

    4.1.1 จัดทำเอกสารนำเสนอโครงการ จำนวน 2 ครั้ง

    4.1.2 จัดทำรูปเล่มรายงานผลโครงการเมื่อเสร็จโครงการ

    งบประมาณ

    • ค่าจัดทำรูปเล่มรายงานผล จำนวน 4 เล่มๆละ 250 บาท เป็นเงิน 1,000 บาท รวมเป็นเงิน 1,000 บาท

    งบประมาณ 1,000.00 บาท
6.
กลุ่มเป้าหมาย และกิจกรรม(เลือกได้มากกว่า 1 ข้อ)
6.1. กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด จำนวน คน

6.2. กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน จำนวน คน

6.3. กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน จำนวน คน

6.4. กลุ่มวัยทำงาน จำนวน คน

6.5. กลุ่มผู้สูงอายุ จำนวน คน

6.6. กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง จำนวน คน

6.7. กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ จำนวน คน

6.8. กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง จำนวน คน

6.9. สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] จำนวน คน

7.
ระยะเวลาดำเนินการ(ควรระบุตามการดำเนินงานจริง)

ตั้งแต่ วันที่ 1 มิถุนายน 2567 ถึง 31 ธันวาคม 2567

8.
สถานที่ดำเนินการ

ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเขตตำบลกำแพง

9.
งบประมาณ(ให้สอดคล้องกับวิธีดำเนินการ ที่ตั้งไว้ตามข้อ 5)

รวมงบประมาณโครงการ 91,275.00 บาท

หมายเหตุ : งบประมาณสามารถถัวเฉลี่ยได้ทุกรายการ

10.
ผลที่คาดว่าจะได้รับ(ให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ตามข้อ 4)

1) ผู้ปกครองเด็กและครูผู้ดูแลเด็กมีความรู้และทักษะในการดูแลสุขภาพช่องปากเด็กเล็กเพิ่มขึ้น 2) เด็กปฐมวัย ในศพด. เขตตำบลกำแพง เข้าถึงบริการทางทันตกรรม ได้รับการตรวจฟัน การหยุดยั้งฟันน้ำนมผุและบูรณะฟันน้ำนมเพิ่มขึ้น 3) ลดการสูญเสียฟันน้ำนม ลดอาการปวดฟันและลดการผุซ้ำในฟันกรามน้ำนมที่ได้รับการรักษาไป 4) ผู้ปกครองพึงพอใจต่อการบูรณะฟันด้วยวิธี SMART และหยุดยั้งฟันผุด้วยซิลเวอร์ไดเอมีนฟลูออไรด์ในเด็กเล็ก

11.
คำรับรองความซ้ำซ้อนของงบประมาณ

ข้าพเจ้า ................................................................ ตำแหน่ง.................................................... หน่วยงาน................................................................................ หมายเลขโทรศัพท์......................................................... ในฐานะของผู้เสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

ขอรับรองว่า แผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ที่เสนอขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพ ในครั้งนี้

  • check_box_outline_blank ไม่ได้ซ้ำซ้อนกับงบประมาณที่ได้รับจากแหล่งอื่น
  • check_box_outline_blank สอดคล้องกับแผนสุขภาพชุมชน ของ กปท.
  • check_box_outline_blank รับทราบถึงกฎ ระเบียบ ข้อบังคับ และวิธีการดำเนินงานตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2561 และที่แก้ไขเพิ่มเติม แล้ว


ลงชื่อ............................................................ผู้เสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

      (............................................................)

ตำแหน่ง ............................................................

วันที่-เดือน-พ.ศ. ..................................................
- เห็นชอบ/อนุมัติ
- ให้เสนอขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพ


ลงชื่อ............................................................หัวหน้าหน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มประชาชน

      (............................................................)

ตำแหน่ง ............................................................

วันที่-เดือน-พ.ศ. ..................................................

กปท.8

แบบเสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.กำแพง รหัส กปท. L8010

อำเภอละงู จังหวัดสตูล

วัน...........เดือน............................................ พ.ศ. ............
เรื่อง ขอเสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ประจำปีงบประมาณ 2567
เรียน ประธานกรรมการกองทุนสุขภาพตำบล อบต.กำแพง
เอกสารแนบ แบบจัดทำแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม (แบบ กปท.7) จำนวน 1 ชุด

ตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2561 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ข้อ 10 “เงินกองทุนหลักประกันสุขภาพตามข้อ 7 วรรคหนึ่ง ให้ใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมเป็นค่าใช้จ่ายตามแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ที่คณะกรรมการกองทุนอนุมัติ” นั้น

หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มประชาชน ได้ดำเนินการจัดทำแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม มาเพื่อขอรับการสนับสนุนงบประมาณ กปท. ตามเอกสารแนบ

จึงเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณาอนุมัติ

ลงชื่อ .................................................. หัวหน้าหน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มประชาชน

(...........................................................)

ตำแหน่ง ...............................................

วันที่-เดือน-พ.ศ. ......................................

กปท.9

แบบอนุมัติแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.กำแพง รหัส กปท. L8010

อำเภอละงู จังหวัดสตูล

วัน...........เดือน............................................ พ.ศ. ............
ผลการพิจารณาแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

ตามมติการประชุมคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพ ครั้งที่ ....................... เมื่อวันที่ .................................................... สรุปผลการพิจารณาแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ดังนี้

1. ความสอดคล้องกับแผนสุขภาพชุมชน
check_box_outline_blank
สอดคล้อง
check_box_outline_blank
ไม่สอดคล้อง
ความเห็นเพิ่มเติม..................................................................................................................................
2. ความซ้ำซ้อนของงบประมาณกองทุน ฯ กับงบประมาณจากแหล่งอื่น
check_box_outline_blank
ซ้ำซ้อน
check_box_outline_blank
ไม่ซ้ำซ้อน
ความเห็นเพิ่มเติม..................................................................................................................................
3. ความเสี่ยงจากผลประโยชน์ทับซ้อน
check_box_outline_blank
เสี่ยง
check_box_outline_blank
ไม่เสี่ยง
ความเห็นเพิ่มเติม..................................................................................................................................
4. เป็นหน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มประชาชน ที่มีสิทธิขอรับงบประมาณ (ตามประกาศ ฯ พ.ศ. 2561 ข้อ 10) (เลือกเพียง 1 ข้อ)
5. ประเภทการสนับสนุน (ตามประกาศ ฯ พ.ศ. 2561 ข้อ 10) (เลือกเพียง 1 ข้อ)
6.งบประมาณที่เสนอ จำนวน 91,275.00 บาท
check_box_outline_blank
อนุมัติงบประมาณ เนื่องจากแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม
check_box_outline_blank
ประชาชนได้รับผลประโยชน์
check_box_outline_blank
ตรงตามวัตถุประสงค์ของกองทุนฯ
check_box_outline_blank
ผู้รับผิดชอบงานมีศักยภาพ
check_box_outline_blank
ค่าใช้จ่ายมีความคุ้มค่า
จึงเห็นควรสนับสนุน เป็นเงิน จำนวน ........................................ บาท
ความเห็นเพิ่มเติม..................................................................................................................................
check_box_outline_blank
ไม่อนุมัติงบประมาณ
เพราะ...................................................................................................................................................
check_box_outline_blank
ให้รายงานผลการดำเนินงานแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม
ภายในวันที่................................................(ตามแบบฟอร์ม ฯ กปท.10)
check_box_outline_blank
ให้ อปท. แจ้งผู้เสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ทราบผล เพื่อดำเนินการ ต่อไป
ลงชื่อ ....................................................................

(....................................................................)

ตำแหน่ง เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบการประชุม

วันที่-เดือน-พ.ศ. ....................................................

ลงชื่อ ....................................................................

ตำแหน่ง ....................................................................

วันที่-เดือน-พ.ศ. ..................................................