กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.จะโหนง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โภชนาการดี สุขภาพดี ชีวียืนยาว

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.จะโหนง

ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุข โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านตรับ

1.นางสุกัญญา เอียดวารี 084-0686597
2.นางหรอปิหย๊ะ ศิริภานนท์ 097-2728510
3.นางสายพิณ จันทองสุก 066-0035314
4.นางสุรินทรฺ ไชยรัตน์ 089-8783399
5.นางพยอม จันทรักษ์ 080-0367501

พื้นที่หมู่ที่ 2, 3, 4, 9, 11 ตำบลจะโหนง อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอาหารและโภชนาการ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของเด็ก 6-14 ปี ที่มีภาวะสูงดีสมส่วน

อาหารคือตัวเรา ดังคำกล่าวที่ว่า ” You are what you eat” เราจะเป็นอย่างไร ขึ้นอยู่กับสิ่งที่เรากินเข้าไป คำกล่าวนี้เป็นจริงเสมอมา เพราะสิ่งต่างๆที่ประกอบขึ้นเป็นตัวเรานั้น ล้วนมาจากอาหารที่เรากินเข้าไป เริ่มตั้งแต่อยู่ในท้องแม่ จนกระทั่งคลอดออกเป็นทารก เด็ก เติบโตเป็นผู้ใหญ่ จนถึงวัยผู้สูงอายุ เราต้องกินอาหารทุกวัน เพราะอาหารไม่เพียงแต่จะนำไปประกอบเป็นส่วนต่างๆของร่างกายเท่านั้น แต่ยังทำให้ชีวิตดำรงอยู่ได้อย่างปกติสุข หรือมีภาวะโภชนาการที่ดี แต่ถ้าหากกินอาหารไม่ถูกต้อง เพียงพอ ก็จะทำให้เกิดปัญหาโภชนาการได้
โภชนาการเป็นรากฐานของสุขภาพ โภชนาการที่ดีมีผลต่อสุขภาพดังนี้ 1) ผลทางร่างกาย ได้แก่ขนาดของร่างกาย การมีครรภ์และสุขภาพของทารก ความสามารถในการต้านทานโรค ความมีอายุยืนยาว สรุปได้ว่า โภชนาการที่ดีมีผลต่อสุขภาพกาย คือ มารดาและทารกในครรภ์แข็งแรง ร่างกายเจริญเติบโตเต็มที่ มีกำลังแรงงานมากกว่าผู้ที่กินอยู่ไม่ถูกต้อง ร่างกายแข็งแรง มีความต้านทานโรคสูง ไม่แก่ก่อนวัยและอายุยืนยาว 2. ผลทางอารมณ์และสติปัญญา โดยเฉพาะขณะที่สมองกำลังเติบโตในวัยเด็กซึ่งรวดเร็วกว่าวัยอื่น การขาดสารอาหารที่จำเป็นต่อร่างกายจะทำให้พัฒนาการทางสมองของทารกและเด็กหยุดชะงักได้3) ประสิทธิภาพในการทำงาน โภชนาการที่ดีมีส่วนให้จิตใจแข็งแรง มีความมั่นคงในอารมณ์ ไม่เหนื่อยหรือท้อแท้ง่าย มีความแจ่มใสและกระตือรือร้นในชีวิต ปรับตนเข้ากับสังคมหรือสิ่งแวดล้อมได้ง่ายและมีวุฒิภาวะทางอารมณ์ (Maturity) เจริญเร็วกว่าผู้ที่มีภาวะทางโภชนาการไม่ดี และมีผลต่อการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุข โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านตรับเล็งเห็นความสำคัญของโภชนาการกับสุขภาพ จึงได้จัดทำโครงการนี้ขึ้นมา

56.30

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 สร้างแกนนำการเฝ้าระวังด้านโภชนาการทุกกลุ่มวัยในชุมชน

มีแกนนำการเฝ้าระวังด้านโภชนาการทุกกลุ่มวัยในชุมชน

0.00 1.00
2 ประชาชนในพื้นที่ได้รับความรู้เรื่องโภชนาการกับสุขภาพ และนำสู่การปฏิบัติในชีวิตระจำวันได้

ประชาชนในพื้นที่มีโภชนาการที่ดีตามเกณฑ์มาตรฐานแต่ละกลุ่มวัย

0.00 50.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 30
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 50
กลุ่มวัยทำงาน 60
กลุ่มผู้สูงอายุ 60
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/03/2024

กำหนดเสร็จ 01/07/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ประชุมจัดตั้งแกนนำการเฝ้าระวังด้านโภชนาการทุกกลุ่มวัยในชุมชน

ชื่อกิจกรรม
ประชุมจัดตั้งแกนนำการเฝ้าระวังด้านโภชนาการทุกกลุ่มวัยในชุมชน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • พิจารณาคัดเลือกแกนนำการเฝ้าระวังด้านโภชนาการของประชาชนทุกกลุ่มวัยในชุมชน
  • กำหนดแผนการดำเนินงานร่วมกัน
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 30 คน ๆ ละ 25 บาท 1 มื้อ เป็นเงิน 750 บาท
  • ค่าวัสดุสำหรับใช้ดำเนินการ เช่น แฟ้ม สมุด ปากกา จำนวน 30 ชุดๆ ละ 40 บาท เป็นเงิน 1,200
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2567 ถึง 1 มีนาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. มีคณะทำงานในการติดตามภาวะโภชนาการทุกกลุ่มวัยในชุมชน
  2. มีแผนการดำเนินงานร่วมกัน
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
1950.00

กิจกรรมที่ 2 ประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อเพิ่มพูนความรู้ ความเข้าใจด้านโภชนาการแก่แกนนำการเฝ้าระวังด้านโภชนาการในชุมชน

ชื่อกิจกรรม
ประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อเพิ่มพูนความรู้ ความเข้าใจด้านโภชนาการแก่แกนนำการเฝ้าระวังด้านโภชนาการในชุมชน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ฟื้นฟูความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับโภชนาการแต่ละกลุ่มวัยให้แก่แกนนำ
  • ประเมินความรู้ก่อน และหลังการให้ความรู้
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 30 คนๆ ละ 25บาท 2 มื้อ เป็นเงินจำนวน 1,500 บาท
  • ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 30 คนๆ ละ 65 บาท 1 มื้อ เป็นเงินจำนวน 1,950 บาท
  • ค่าตอบแทนวิทยากร 2 คนๆ ละ 2 ชั่วโมงๆ ละ 600 บาทเป็นเงิน จำนวน 2,400 บาท
  • ค่าป้ายไวนิลโครงการขนาด 1X2.5 เมตร เป็นเงินจำนวน 375 บาท
  • ค่าแบบประเมินความรู้ก่อนและหลัง 80 ชุดๆ ละ 4 บาท เป็นเงินจำนวน 320 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
6 มีนาคม 2567 ถึง 6 มีนาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้เข้าร่วมประชุมมีความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับโภชนาการแต่ละกลุ่มวัยเพิ่มขึ้นหลังประชุม ร้อยละ 80

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
6545.00

กิจกรรมที่ 3 แกนนำการเฝ้าระวังด้านโภชนาการทุกกลุ่มวัยในชุมชนดำเนินการประเมินภาวะโภชนาการของประชาชนทุกกลุ่มวัยในพื้นที่รับผิดชอบ

ชื่อกิจกรรม
แกนนำการเฝ้าระวังด้านโภชนาการทุกกลุ่มวัยในชุมชนดำเนินการประเมินภาวะโภชนาการของประชาชนทุกกลุ่มวัยในพื้นที่รับผิดชอบ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ดำเนินการภาวะโภชนาการของประชาชนในพื้นที่รับผิดชอบ ในพื้นที่หมู่ที่ 2, 3, 4, 9, 11
  • สรุปผลการประเมินภาวะโภชนาการ
  • ค่าแบบประเมินภาวะโภชนาการ 200 ชุดๆ ละ 4 บาท เป็นเงินจำนวน 800 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
22 เมษายน 2567 ถึง 22 พฤษภาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

สรุปผลการประเมินภาวะโภชนาการ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
800.00

กิจกรรมที่ 4 ประชุมสรุปผลการประเมินภาวะโภชนาการและกำหนดแนวทางแก้ไขในกลุ่มเสี่ยงมีปัญหา

ชื่อกิจกรรม
ประชุมสรุปผลการประเมินภาวะโภชนาการและกำหนดแนวทางแก้ไขในกลุ่มเสี่ยงมีปัญหา
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • สรุปผลการประเมินภาวะโภชนาการ
  • กำหนดแนวทางแก้ไขในกลุ่มมีปัญหา
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 30 คนๆ ละ 25 บาท 1 มื้อ เป็นเงินจำนวน 750 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
6 มิถุนายน 2567 ถึง 6 มิถุนายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.รายงานสรุปผลการประเมินภาวะโภชนาการ 2.แนวทางแก้ไขในกลุ่มมีปัญหา

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
750.00

กิจกรรมที่ 5 เยี่ยมติดตามเสริมพลัง พร้อมทั้งให้แนวทางการปฏิบัติด้านโภชนาการที่ดีในกลุ่มมีปัญหา

ชื่อกิจกรรม
เยี่ยมติดตามเสริมพลัง พร้อมทั้งให้แนวทางการปฏิบัติด้านโภชนาการที่ดีในกลุ่มมีปัญหา
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • เยี่ยมติดตามเสริมพลังกลุ่มมีปัญหา
  • ชี้แนะแนวทางการปฏิบัติที่ดีด้านโภชนาการในกลุ่มมีปัญหา
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 30 คนๆ ละ 25 บาท 2 มื้อ เป็นเงินจำนวน 1,500 บาท
  • ค่าเอกสารแนวทางการปฏิบัติด้านโภชนาการที่ดีในกลุ่มมีปัญหา จำนวน 100 ชุด ละ 10 บาท เป็นเงิน จำนวน 1,000 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
10 มิถุนายน 2567 ถึง 20 มิถุนายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

รายงานการเยี่ยมติดตามเสริมพลังกลุ่มเสี่ยง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
2500.00

กิจกรรมที่ 6 ประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้และถอดบทเรียนการดำเนินงานโครงการ

ชื่อกิจกรรม
ประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้และถอดบทเรียนการดำเนินงานโครงการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • วิเคราะห์ผลการดำเนินงาน จุดแข็ง จุดอ่อน ปัญหาอุปสรรค รวมทั้งแนวทางการพัฒนาโครงการระยะถัดไป
  • จัดทำรายงานผลการดำเนินโครงการ
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 30 คนๆ ละ 25 บาท 2 มื้อ เป็นเงินจำนวน 1,500 บาท
  • ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 30 คนๆ ละ 65 บาท 1 มื้อ เป็นเงินจำนวน 1,950 บาท
  • ค่าตอบแทนผู้ดำเนินรายการ 1 คน 4 ชั่วโมงๆ ละ 500 บาท เป็นเงิน จำนวน 2,000 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
27 มิถุนายน 2567 ถึง 27 มิถุนายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

รายงานผลการดำเนินโครงการ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
5450.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 17,995.00 บาท

หมายเหตุ :
***ทุกรายการสามารถถัวเฉลี่ยกันได้***

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

ประชาชนในพื้นที่มีโภชนาการที่ดี
1.สามารถลดปัญหาพัฒนาการล่าช้าในเด็กปฐมวัย และเด็กวัยเรียนมีการเจริญเติบโตตามเกณฑ์
2.สามารถลดความเสี่ยงการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรังในวัยทำงานและผู้สูงอายุ


>