กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.กำแพง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมโรคไข้เลือดออก

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.กำแพง

ศูนย์สุขภาพตำบลกำแพง

1. นางสาววิภาวดี จันทร์พุ่ม (088-3822510) ผู้ประสานงานคนที่ 1
2. นางสาวจิรัํฐติกาล เจ๊ะสา (083-0532798) ผู้ประสานงานคนที่ 2
3. นางสาวรสนา หนูวงศ์ (083-6599640)
4. นางสาวณัฐสิมา เส็มสัน
5. นางสาวบุญศรี มาลินี (081-7386346)

หมู่บ้าน/โรงเรียน ในเขตพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลกำแพง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง , แผนงานแรงงานนอกระบบ , แผนอนามัยและสิ่งแวดล้อม

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

โรคไข้เลือดออกนับเป็นปัญหาสาธารณสุขไทยตลอดมา เพราะไข้เลือดออกเป็นโรคติดต่อที่สร้างความสูญเสียชีวิต ค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลและความความสูญเสียทางด้านเศรษฐกิจของประเทศทั้งที่ทุกฝ่ายได้ช่วยกันรณรงค์ป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกมาโดยตลอด และได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน พบว่าปัญหาโรคไข้เลือดออกไม่ได้ลดลงมากนัก ยังคงเป็นปัญหาสำคัญในระดับประเทศเรื่อยมา การระบาดของโรคไข้เลือดออกส่วนมากจะพบผู้ป่วยในช่วงเดือนพฤษภาคม - มิถุนายนของทุกปี ซึ่งตรงกับการเปิดภาคเรียนพอดีและนิสัยของยุงชอบออกหากินเวลากลางวัน จึงสันนิษฐานได้ว่าการแพร่เชื้อ และการกระจายโรคจะเกิดขึ้นได้ทั้งชุมชน วัด ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กและโรงเรียน ด้วยเหตุนี้การควบคุมโรคจะต้องอาศัยความร่วมมือทั้งจากทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องปัญหาการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกที่มีมาอย่างต่อเนื่อง ทำให้เกิดการปรับเปลี่ยนแนวคิดในการแก้ไขปัญหา จากการตั้งรับไปสู่นโยบายเชิงรุกโดยใช้ยุทธศาสตร์การมีส่วนร่วมให้คนในชุมชนได้ ตระหนักถึงสภาพปัญหาของโรคไข้เลือดออกเกิดความรับผิดชอบต่อปัญหาที่เกิดขึ้นในชุมชนของตนเอง พร้อมทั้งหาวิธีการแก้ไขซึ่งปัญหาของโรคไข้เลือดออกเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมและสิ่งแวดล้อม ดังนั้นการดำเนินงานป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก จึงต้องปรับเปลี่ยนให้สอดคล้องกับสถานการณ์ของโรคที่เปลี่ยนแปลงไป
จากข้อมูลสถานการณ์โรคไข้เลือดออก อำเภอละงู ปี 2566 ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม-13ธันวาคม 2566 พบรายงานผู้ป่วยทั้งหมดจำนวน 654 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 945.81 ต่อแสนประชากรประชากร มีผู้เสียชีวิต จำนวน 3 ราย คิดเป็นอัตราป่วยตาย ร้อยละ 0.458 และสถานการณ์ในพื้นที่ตำบลกำแพง ตั้งแต่ปี 2563-2566 พบว่า ในปี 2563 มีอัตราป่วย เท่ากับ 48.11 ( 9 ราย) ต่อแสนประชาชน อัตราป่วยตาย ร้อยละ 0.00 ( ข้อมูลตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม – 31 ธันวาคม 2563) ในปี 2564 มีอัตราป่วย เท่ากับ 21.38 (4 ราย) ต่อแสนประชาชน อัตราป่วยตาย ร้อยละ 0.00 ( ข้อมูลตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม – 31 ธันวาคม 2564) ในปี 2565 มีอัตราป่วย เท่ากับ 206.84 (39 ราย ) ต่อแสนประชากร อัตราป่วยตายร้อยละ 0.00 ( ข้อมูลตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม – 31 ธันวาคม 2565) และในปี 2566 มีอัตราป่วย เท่ากับ 1,205.91 (172 ราย) ต่อแสนประชากร อัตราป่วยตาย ร้อยละ 0.00 (ข้อมูลตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม – 13 ธันวาคม 2566) ผู้ป่วยส่วนใหญ่อยู่ในกลุ่มอาชีพเด็กนักเรียน ในช่วงอายุ 10-14 ปี รองลงมา 5-9 ปี และ 15-24 ปี ตามลำดับ จะเห็นได้ว่าอัตราป่วยมีแนวโน้มสูงขึ้น การระบาดของโรคไข้เลือดออกส่วนใหญ่จะพบผู้ป่วยในช่วง เดือน เมษายน – กันยายน ของทุกปีและชีวนิสัยของยุงชอบออกหากินเวลากลางวัน จึงสันนิฐานได้ว่าการแพร่เชื้อและการกระจายโรค จะเกิดขึ้นได้ทั้งใน ชุมชน โรงเรียน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ด้วยเหตุนี้การควบคุมโรคจึงต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วน
ดังนั้น ศูนย์สุขภาพชุมชนตำบลกำแพง ได้ตระหนักถึงความสำคัญของปัญหาและสถานการณ์ที่เกิดขึ้น จึงได้จัดทำโครงการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคไข้เลือดออก ประจำปีงบประมาณ 2567 ขึ้น เพื่อป้องกันการระบาดของโรคไข้เลือดออกจึงต้องมีการกระตุ้นให้ชุมชนโรงเรียนได้ทราบและเล็งเห็นความสำคัญของการป้องกันและควบคุมโรคด้วยการทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงและกำจัดลูกน้ำยุงลายเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโรคในชุมชน ส่งผลให้ประชาชนมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ปลอดภัยจากโรคไข้เลือดออกได้

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อลดอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกในเขตพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลกำแพง

อัตราการเกิดโรคไข้เลือดออกของประชาชนในเขตพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลกำแพงลดลงร้อยละ 80

80.00
2 เพื่อสร้างแผนงานและการมีส่วนร่วมให้กับคณะทำงานในการดำเนินงานป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออด

ร้อยละ 80 ลดการระบาดและการแพร่กระจายของโรคไข้เลือดออก

80.00
3 เพื่อกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายและกำจัดลูกน้ำยุงลาย

ค่าดัชนีลูกน้ำยุงลายลดลง HI ไม่เกินร้อยละ 10 และ ค่า CI = 0

80.00
4 เพื่อสร้างครัวเรือนต้นแบบ ด้านความสะอาด ไม่พบลูกน้ำยุงลาย ปลอดภัยจากโรคไข้เลือดออก เพื่อสามารถควบคุมค่าดัชนีลูกน้ำยุงลายในชุมชน
  1. ประชาชนมีส่วนร่วมในการกำจัดลูกน้ำยุงลายและทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย
  2. ร้อยละ 80 ชุมชนปลอดโรคไข้เลือดออก
  3. ค่าดัชนีลูกน้ำยุงลายในชุมชนลดลง โดยวัดจาก ค่า HI (จำนวนบ้านที่พบลูกน้ำยุงลาย) = ไม่เกินร้อยละ 20
  4. ค่า CI (จำนวนภาชนะที่พบลูกน้ำยุงลาย) = ไม่เกินร้อยละ 10
80.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 14,242
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/04/2024

กำหนดเสร็จ 30/09/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ประชุมคณะทำงานวางแผนการทำงานและติดตามผลการดำเนินงานควบคุมโรคไข้เลือดออกระดับตำบล

ชื่อกิจกรรม
ประชุมคณะทำงานวางแผนการทำงานและติดตามผลการดำเนินงานควบคุมโรคไข้เลือดออกระดับตำบล
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

รายละเอียดกิจกรรม

  • ประชุมผู้เกี่ยวข้อง พร้อมแต่งตั้งคณะทำงานระดับตำบล เพื่อวางแผนการทำงานการเฝ้าระวัง ควบคุม ป้องกันโรคไข้เลือดออก จำนวน 1 ครั้ง

กลุ่มเป้าหมาย

  • ประธาน อสม.ทุกหมู่บ้าน ผู้ใหญ่บ้าน สมาชิกสภา ผู้นำศาสนา ครูอนามัยโรงเรียน เจ้าหน้าที่สาธารณสุข เจ้าหน้าที่ อปท. จำนวน 75 คน

งบประมาณ

  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับคณะทำงานฯและผู้สังเกตการณ์ จำนวน 80 คนๆละ 1 มื้อๆละ 25 บาท เป็นเงิน 2,000 บาท
  • ค่ายานพาหนะเดินทางไป-กลับ จำนวน 75 คนๆละ 1 ครั้งๆละ 100 บาท เป็นเงิน 7,500 บาท

เป็นเงิน 9,500 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
9500.00

กิจกรรมที่ 2 สร้างกลไกการขับเคลื่อนการทำงาน ควบคุม ป้องกัน โรคไข้เลือดออกกรณีเกิดการระบาด

ชื่อกิจกรรม
สร้างกลไกการขับเคลื่อนการทำงาน ควบคุม ป้องกัน โรคไข้เลือดออกกรณีเกิดการระบาด
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

2.1 ติดตามการทำงานของทีมเคลื่อนที่เร็วในระดับตำบล โดยการติดตามการทำงานจากระดับหมู่บ้าน รายงานระดับตำบล ติดตามผ่านระบบกลุ่มไลน์รายงานโรคแต่ละพื้นที่ และติดตามผ่านการประชุม War Room

2.2 ประชุมทีม SRRT จัดตั้ง War Room เพื่อติดตามสถานการณ์และควบคุมป้องกันปัญหาการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออก กรณีเกิดการระบาด จำนวน 3 ครั้ง

รายละเอียดกิจกรรม

  • ประชุม War Room เพื่อติดตามสถานการณ์และควบคุมป้องกันปัญหาการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออก กรณีเกิดการระบาด

เป้าหมาย

  • อสม. ทั้ง 12 หมู่บ้านๆ หมู่บ้านละ 1 คน จำนวน 12 คน

  • ครูอนามัยโรงเรียน จำนวน 15 คน

งบประมาณ

  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับคณะทำงานและทีม SRRT ครูอนามัยโรงเรียน จำนวน 30 คน ๆละ 3 มื้อๆละ 25 บาท เป็นเงิน 2,250 บาท

  • ค่าเดินทาง จำนวน 27 คนๆละ 3 ครั้งๆละ 100 บาท เป็นเงิน 8,100 บาท

รวมเป็นเงิน 10,350 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
10350.00

กิจกรรมที่ 3 ประชาสัมพันธ์ให้ความรู้เรื่องโรคไข้เลือดออก และรณรงค์ทำลายแหล่งเพาะพันธ์ลูกน้ำยุงลาย พร้อมสำรวจค่าดัชนีลูกน้ำยุงลาย HI,CI

ชื่อกิจกรรม
ประชาสัมพันธ์ให้ความรู้เรื่องโรคไข้เลือดออก และรณรงค์ทำลายแหล่งเพาะพันธ์ลูกน้ำยุงลาย พร้อมสำรวจค่าดัชนีลูกน้ำยุงลาย HI,CI
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรมย่อย

ประชาสัมพันธ์ ให้ความรู้เรื่อง โรคไข้เลือดออก และมาตรการการป้องกันโรคไข้เลือดออก

รายละเอียดกิจกรรม

  1. ให้ความรู้กับประชาชน ในเรื่องปัจจัยที่ก่อให้เกิดการป่วย โดยการจัดการบ้านเรือนของตนเองไม่ให้มีแหล่งเพาะพันธุ์ยุง และวิธีการปฏิบัติเมื่อสงสัยว่าจะป่วยเป็นโรคไข้เลือดออก อาจจะทำได้หลายช่องทาง เช่น
  • การประชาสัมพันธ์เสียงตามสายหอกระจายข่าวขอหมู่บ้าน ผ่านเพจเฟสบุ๊ค

  • การให้ความรู้เรื่องโรคไข้เลือดออกแก่นักเรียน เพื่อให้นักเรียนนำความรู้ไปถ่ายทอด และไปปฏิบัติที่บ้าน

2.รณรงค์ทำลายแหล่งเพาะพันธ์ลูกน้ำยุงลาย พร้อมสำรวจค่าดัชนีลูกน้ำยุงลาย HI,CIในแต่ละหมู่บ้าน โดยคณะทำงานเฝ้าระวัง ป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกระดับหมู่บ้านทุกวันศุกร์

เป้าหมาย

  • หมู่บ้าน/โรงเรียน ในเขตพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลกำแพง

ไม่ใช้งบประมาณ

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 4 การนำเทคโนโลยีมาประยุกค์ใช้ในการติดต่อประสานงาน รายงานโรค

ชื่อกิจกรรม
การนำเทคโนโลยีมาประยุกค์ใช้ในการติดต่อประสานงาน รายงานโรค
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

สร้างกลุ่มไลน์ หรือเฟสบุ๊ค เพื่อรายงานสถานการณ์การระบาดของโรค การป้องกันควบคุมโรค

  • สร้างกลุ่มไลน์ประสานกับทีมระดับหมู่บ้านแต่ะละหมู่

  • สร้างกลุ่มไลน์ประสานงานทีมทำงานตำบลกำแพง

กลุ่มเป้าหมาย

  • คณะทำงานอสม.ประจำหมู่บ้านแต่ละหมู่

  • เจ้าที่สาธารณสุขและ อปท.

งบประมาณ

  • ไม่ใช้งบประมาณ
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2567 ถึง 30 สิงหาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 5 ควบคุม ป้องกัน โรคไข้เลือดออกกรณีเกิดการระบาด

ชื่อกิจกรรม
ควบคุม ป้องกัน โรคไข้เลือดออกกรณีเกิดการระบาด
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรมย่อย

ควบคุม ป้องกัน โรคไข้เลือดออกกรณีเกิดการระบาด โดยการลงพื้นที่เคลื่อนที่เร็ว พ่นหมอกควัน กำจัดยุงลายและใส่ทรายอะเบททำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย

เป้าหมาย

  • ประชาชน/เด็กนักเรียน กลุ่มเสี่ยงในเขตพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลกำแพง

รายละเอียดกิจกรรม

  1. จัดซื้อเคมีภัณฑ์และวัสดุอุปกรณ์ ควบคุมโรค เคลื่อนที่เร็วที่ใช้ในการกำจัดยุงลายและลูกน้ำยุงลาย
  • ค่าทรายกำจัดลูกน้ำ ( ทรายอะเบท) ได้รับสนับสนุนจากองค์การบริหารตำบลกำแพง

  • ค่าที่ไล่ยุงแบบเสียบไฟฟ้า จำนวน 200 ชุด ชุดละ 120 บาท เป็นเงิน 24,000 บาท

  • โลชั่นทายุงแบบซอง 300 ซอง ซองละ 7 บาท เป็นเงิน 2,100 บาท

  • สเปรย์ไล่ยุง จำนวน 60 กระป๋อง กระป๋องละ 136 บาท เป็นเงิน 8,160 บาท

  • ไฟฉาย จำนวน 12 กระบอก กระบอกละ 200 บาท เป็นเงิน 2,400 บาท

  • ถุงมือ จำนวน 12 กล่อง กล่องละ 150 บาท เป็นเงิน 1,800 บาท

รวมเป็นเงิน 38,460 บาท

หมายเหตุค่าใช้จ่ายต่างๆ ในทุกกิจกรรมสามารถถัวเฉลี่ยจ่ายได้ทุกรายการ

  1. รับรายงานผู้ป่วยไข้เลือดออกในเขตพื้นที่ตำบลกำแพงจากโรงพยาบาลละงู และลงดำเนินการสอบสวนโรคให้ความรู้คำแนะนำ พร้อมควบคุมป้องกันโรคภายใน 24 ชั่วโมง โดยคณะทำงานเฝ้าระวัง ป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกระดับหมู่บ้านรายงานต่อเจ้าหน้าที่

  2. ใช้สารเคมีพ่นในบ้านและบริเวณบ้านผู้ป่วยในรัศมี 100 เมตร จากบ้านผู้ป่วย 2 ครั้ง ภายใน 7 วันเพื่อควบคุมการระบาดของโรค โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อกำจัดยุงที่มีเชื้อไข้เลือดออกให้หมดไปเร็วที่สุด

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
38460.00

กิจกรรมที่ 6 หมู่บ้านปลอดโรคไข้เลือดออก

ชื่อกิจกรรม
หมู่บ้านปลอดโรคไข้เลือดออก
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรมย่อย

6.1 กิจกรรมประกวดบ้านปลอดโรคไข้เลือดออกระดับหมู่บ้าน

6.1 1จัดตั้งคณะกรรมการประกวดปลอดโรคไข้เลือดออกโดยมีคำสั่งระดับหมู่บ้าน ชี้แจงเกณฑ์เข้าประกวด

กลุ่มเป้าหมาย

  • คณะกรรมการผู้ใหญ่บ้าน ผู้นำศาสนาประธาน อสม. ตัวแทนประชาชน เจ้าหน้าที่ อปท.จำนวน 5 คน

ไม่ใช้งบประมาณ

6.1.2 รับสมัครบ้านที่เข้าร่วมประกวดบ้านปลอดโรคไข้เลือดออก ระดับหมู่บ้านทั้ง 12 หมู่

  • จัดตั้งไลน์กลุ่มแต่ละหมู่บ้านที่เข้าร่วมการประกวด

เป้าหมาย

  • บ้านที่เข้าประกวดทั้ง 12 หมู่ จำนวน 380 หลังคาเรือน

ไม่ใช้งบประมาณ

6.1.3 ชี้แจงเกณฑ์เข้าประกวดบ้านปลอดโรคไข้เลือดออกที่เข้าร่วมจำนวน 380 หลัง

เป้าหมาย

  • บ้านที่เข้าประกวดทั้ง 12 หมู่ จำนวน 380 หลังคาเรือน

ไม่ใช้งบประมาณ

6.2.4 ออกประเมินบ้าน/ชุมชน พร้อมจัดทำแผนปฏิบัติงานลงพื้นที่ประเมินบ้านฯ มอบเกียรติบัตร

รายละเอียดการลงสำรวจมีดังนี้
08.30 - 09.00 น. กรรมการเตรียมลงสำรวจบ้าน

09.00 - 09.30 น. กรรมการชี้แจงเกณฑ์การเข้าประกวดและการให้คะแนนให้กับสมาชิกในบ้านทราบถึงที่มา

09.30 - 11.30 น. กรรมการสำรวจบ้านทั้งในและนอกตัวบ้านให้คะแนน

11.30 - 12.00 น. สิ้นสุดการสำรวจบ้านและการให้คะแนน มอบเกียรติบัตร

หมายเหตุ กำหนดอาจการเปลี่ยนแปลงตามความเหมาะสม

หลังจากสำรวจบ้านผู้เข้าประกวดครบทุกบ้านเป็นที่เรียบร้อยแล้ว กรรมการได้ทำการให้คะแนน เพื่อค้นบ้านที่สะอาด ปราศจากโรคไข้เลือดออก และได้เป็นต้นแบบให้แก่บ้านประชาชนหลังอื่นๆในพื้นที่ ได้ทำตามแบบอย่าง เพื่อป้องกันให้ห่างไกลโรคไข้เลือดออกจะนำมาประกวดในระดับตำบล

เป้าหมาย

  • บ้านที่เข้าประกวดทั้ง 12 หมู่ จำนวน 380 หลังคาเรือน

งบประมาณ

  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับเจ้าบ้านที่เข้าร่วม จำนวน 380 คนๆละ 1 มื้อๆละ 25 บาท เป็นเงิน 9,500 บาท

  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่่มสำหรับคณะทำงานและกรรมการ จำนวน 10 คนๆละ 12 มื้อๆละ 25 บาท เป็นเงิน 3,000 บาท

  • ค่าตอบแทนคณะกรรมการหมู่บ้านปลอดโรค จำนวน 5 คนๆละ 12 ครั้งๆละ 200 บาท เป็นเงิน 12,000 บาท

  • ค่าเกียรติบัตร จำนวน 380 แผ่นๆ ละ 10 บาท เป็นเงิน 3,800 บาท

รวมเป็นเงิน 28,300 บาท

หมายเหตุค่าใช้จ่ายต่างๆ ในทุกกิจกรรมสามารถถัวเฉลี่ยจ่ายได้ทุกรายการ

6.2 กิจกรรมประกวดบ้านปลอดโรคไข้เลือดออกระดับตำบล

6.2.1 จัดตั้งคณะกรรมการประกวดโดยมีคำสั่งระดับตำบล ชี้แจงเกณฑ์เข้าประกวด

6.2.2 บ้านที่่เข้าร่วมประกวดผ่านการประกวดระดับตำบล บ้านทั้ง 12 หมู่

6.2.3 ชี้แจงเกณฑ์การเข้าประกวดบ้านปลอดโรคไข้เลือดออกระดับตำบล

6.2.4 ออกประเมินบ้าน/ชุมชน พร้อมจัดทำแผนปฏิบัติงานลงพื้นที่ประเมินบ้านฯ

เป้าหมาย

  • คณะกรรมการ สาธารณสุขอำเภอ หัวหน้าศูนย์สุขภาพชุมชนกำแพง ผู้ใหญ่บ้าน ประธาน อสม.เจ้าหน้าที่ อปท. จำนวน 5 คน

  • บ้านที่่ผ่านการเข้าประกวดระดับหมู่บ้าน จำนวน 12 หลังคาเรือน

รายละเอียดการลงสำรวจมีดังนี้

08.30 - 09.00 น. กรรมการเตรียมลงสำรวจบ้าน

09.00 - 09.30 น. กรรมการชี้แจงเกณฑ์การเข้าประกวดและการให้คะแนนให้กับสมาชิกในบ้านทราบถึงที่มา
09.30 - 11.30 น. กรรมการสำรวจบ้านทั้งในและนอกตัวบ้านให้คะแนน

11.30 - 12.00 น. สิ้นสุดการสำรวจบ้านและการให้คะแนน มอบเกียรติบัตร

หมายเหตุ กำหนดอาจการเปลี่ยนแปลงตามความเหมาะสม

งบประมาณ

  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่่มสำหรับเจ้าบ้านที่เข้าประกวด คณะทำงาน และคณะกรรมการ จำนวน 22 คนๆละ 1 มื้อๆละ 25 บาท เป็นเงิน 550 บาท

  • ค่าตอบแทนคณะกรรมการประเมิณหมู่บ้านปลอดโรค จำนวน 5 คนๆละ 1 ครั้งๆละ 200 บาท เป็นเงิน 1,000 บาท

  • ค่าป้ายบ้านตัวอย่าง จำนวน 12 ป้ายๆละ 120 บาท เป็นเงิน 1,440 บาท

รวมเป็นเงิน 2,990 บาท

หมายเหตุค่าใช้จ่ายต่างๆ ในทุกกิจกรรมสามารถถัวเฉลี่ยจ่ายได้ทุกรายการ

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้นำชุมชนและประชาชนตื่นตัวและให้ความสำคัญกับการประกวดหมู่บ้าน เพราะต้องร่วมทำกันทั้งหมู่บ้านจึงจะควบคุมโรคได้และได้รับรางวัล
ชุมชนและโรงเรียนในพื้นที่มีความสะอาดปราสจากยุงลาย ห่างไกลโรคไข้เลือดออก

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
31290.00

กิจกรรมที่ 7 ประชุมถอดบทเรียน ติดตามประเมินผลการดำเนินงาน

ชื่อกิจกรรม
ประชุมถอดบทเรียน ติดตามประเมินผลการดำเนินงาน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรมย่อย

  1. ประชุมถอดบทเรียน ติดตาม ประเมินผลการดเนินงาน ในการเฝ้าระวัง ป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก

เป้าหมาย
- คณะทำงานฯและผู้สังเกตการณ์ จำนวน 80 คน ได้แก่ แกนนำหมู่บ้าน/สมาชิกสภา อบต.กำแพง/ อสม./โต๊ะอีหม่าม/ เจ้าหน้าที่สาธารณสุข /คณะทำงาน/ ภาคีเครือข่าย เป็นต้น

รายละเอียดกิจกรรม

ประชุมถอดบทเรียน ติดตามประเมินผลการดำเนินงานในการเฝ้าระวัง ป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก โดยมี แกนนำชุมชน/สมาชิกสภา อบต.กำแพง /อสม./โต๊ะอีหม่าม /เจ้าหน้าที่สาธารณสุข เป็นต้น ทั้ง 12 หมู่บ้านๆละ 5 คน จำนวน 1 ครั้ง

งบประมาณ

  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับคณะทำงานฯและผู้สังเกตการณ์ จำนวน 80 คนๆละ 1 มื้อๆละ 25 บาท เป็นเงิน 2,000 บาท
  • ค่ายานพาหนะเดินทางไป-กลับ จำนวน 80 คนๆละ 1 ครั้งๆละ 100 บาท เป็นเงิน 8,000 บาท

  • ค่าเอกสาร, แฟ้มใส่เอกสาร,สมุด,ปากกา ฯลฯ เป็นเงิน 5,000 บาท

รวมเป็นเงิน 15,000 บาท หมายเหตุค่าใช้จ่ายต่างๆ ในทุกกิจกรรมสามารถถัวเฉลี่ยจ่ายได้ทุกรายการ

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
15000.00

กิจกรรมที่ 8 รายงานผลโครงการและแลกเปลี่ยนเรียนรู้

ชื่อกิจกรรม
รายงานผลโครงการและแลกเปลี่ยนเรียนรู้
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1 กิจกรรมย่อย รายงานผลโครงการและแลกเปลี่ยนเรียนรู้

เป้าหมาย - คณะทำงานโครงการจำนวน 5คน

รายละเอียดกิจกรรม

  • รายงานผลและนำเสนอโครงการและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ จำนวน 2 ครั้ง
  • ค่าจัดทำรูปเล่มรายงานเมื่อเสร็จสิ้นโครงการ จำนวน 4 เล่มๆละ 250 บาท เป็นเงิน 1000 บาท

รวมเป็นเงิน 1,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 สิงหาคม 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
1000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 105,600.00 บาท

หมายเหตุ :
หมายเหตุค่าใช้จ่ายต่างๆ ในทุกกิจกรรมสามารถถัวเฉลี่ยจ่ายได้ทุกรายการ

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. สามารถลดอัตราผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกให้เหลือไม่เกิน 50 ต่อแสนประชากร
2. มีคณะทำงานเฝ้าระวัง ป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกระดับตำบล ทั้ง 12 หมู่บ้าน และคณะทำงานเฝ้าระวังสอบสวนเคลื่อนที่เร็วระดับตำบล ในเขตพื้นที่ตำบลกำแพง
3. ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคไข้เลือดออก ตลอดจนตระหนักถึงภัยไข้เลือดออก และให้ความร่วมมือในการดำเนินการควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออก เกิดพฤติกรรมในการทำลายแหล่งเพาะพันธ์ยุงลายอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ
4. สามารถควบคุมโรคไข้เลือดออกได้อย่างรวดเร็วและยั่งยืนเพื่อมิให้มีการแพร่ระบาดในหมู่บ้าน/โรงเรียน ในเขตพื้นที่ตำบลกำแพง
5. ทำให้สามารถลดความชุกของลูกน้ำยุงลาย


>