กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมโรคไข้เลือดออก
รหัสโครงการ 2567-L8010-1-01
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ศูนย์สุขภาพตำบลกำแพง โรงพยาบาลละงู
วันที่อนุมัติ 22 กุมภาพันธ์ 2567
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 เมษายน 2567 - 30 กันยายน 2567
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2567
งบประมาณ 105,600.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายปวิตร วณิชชานนท์
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง , แผนงานแรงงานนอกระบบ , แผนอนามัยและสิ่งแวดล้อม
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 14242 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคไข้เลือดออกนับเป็นปัญหาสาธารณสุขไทยตลอดมา เพราะไข้เลือดออกเป็นโรคติดต่อที่สร้างความสูญเสียชีวิต ค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลและความความสูญเสียทางด้านเศรษฐกิจของประเทศทั้งที่ทุกฝ่ายได้ช่วยกันรณรงค์ป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกมาโดยตลอด และได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน พบว่าปัญหาโรคไข้เลือดออกไม่ได้ลดลงมากนัก ยังคงเป็นปัญหาสำคัญในระดับประเทศเรื่อยมา การระบาดของโรคไข้เลือดออกส่วนมากจะพบผู้ป่วยในช่วงเดือนพฤษภาคม - มิถุนายนของทุกปี ซึ่งตรงกับการเปิดภาคเรียนพอดีและนิสัยของยุงชอบออกหากินเวลากลางวัน จึงสันนิษฐานได้ว่าการแพร่เชื้อ และการกระจายโรคจะเกิดขึ้นได้ทั้งชุมชน วัด ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กและโรงเรียน ด้วยเหตุนี้การควบคุมโรคจะต้องอาศัยความร่วมมือทั้งจากทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องปัญหาการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกที่มีมาอย่างต่อเนื่อง ทำให้เกิดการปรับเปลี่ยนแนวคิดในการแก้ไขปัญหา จากการตั้งรับไปสู่นโยบายเชิงรุกโดยใช้ยุทธศาสตร์การมีส่วนร่วมให้คนในชุมชนได้ ตระหนักถึงสภาพปัญหาของโรคไข้เลือดออกเกิดความรับผิดชอบต่อปัญหาที่เกิดขึ้นในชุมชนของตนเอง พร้อมทั้งหาวิธีการแก้ไขซึ่งปัญหาของโรคไข้เลือดออกเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมและสิ่งแวดล้อม ดังนั้นการดำเนินงานป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก จึงต้องปรับเปลี่ยนให้สอดคล้องกับสถานการณ์ของโรคที่เปลี่ยนแปลงไป
จากข้อมูลสถานการณ์โรคไข้เลือดออก อำเภอละงู ปี 2566 ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม-13ธันวาคม 2566 พบรายงานผู้ป่วยทั้งหมดจำนวน 654 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 945.81 ต่อแสนประชากรประชากร มีผู้เสียชีวิต จำนวน 3 ราย คิดเป็นอัตราป่วยตาย ร้อยละ 0.458 และสถานการณ์ในพื้นที่ตำบลกำแพง ตั้งแต่ปี 2563-2566 พบว่า ในปี 2563 มีอัตราป่วย เท่ากับ 48.11 ( 9 ราย) ต่อแสนประชาชน อัตราป่วยตาย ร้อยละ 0.00 ( ข้อมูลตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม – 31 ธันวาคม 2563) ในปี 2564 มีอัตราป่วย เท่ากับ 21.38 (4 ราย) ต่อแสนประชาชน อัตราป่วยตาย ร้อยละ 0.00 ( ข้อมูลตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม – 31 ธันวาคม 2564) ในปี 2565 มีอัตราป่วย เท่ากับ 206.84 (39 ราย ) ต่อแสนประชากร อัตราป่วยตายร้อยละ 0.00 ( ข้อมูลตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม – 31 ธันวาคม 2565) และในปี 2566 มีอัตราป่วย เท่ากับ 1,205.91 (172 ราย) ต่อแสนประชากร อัตราป่วยตาย ร้อยละ 0.00 (ข้อมูลตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม – 13 ธันวาคม 2566) ผู้ป่วยส่วนใหญ่อยู่ในกลุ่มอาชีพเด็กนักเรียน ในช่วงอายุ 10-14 ปี รองลงมา 5-9 ปี และ 15-24 ปี ตามลำดับ จะเห็นได้ว่าอัตราป่วยมีแนวโน้มสูงขึ้น การระบาดของโรคไข้เลือดออกส่วนใหญ่จะพบผู้ป่วยในช่วง เดือน เมษายน – กันยายน ของทุกปีและชีวนิสัยของยุงชอบออกหากินเวลากลางวัน จึงสันนิฐานได้ว่าการแพร่เชื้อและการกระจายโรค จะเกิดขึ้นได้ทั้งใน ชุมชน โรงเรียน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ด้วยเหตุนี้การควบคุมโรคจึงต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วน ดังนั้น ศูนย์สุขภาพชุมชนตำบลกำแพง ได้ตระหนักถึงความสำคัญของปัญหาและสถานการณ์ที่เกิดขึ้น จึงได้จัดทำโครงการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคไข้เลือดออก ประจำปีงบประมาณ 2567 ขึ้น เพื่อป้องกันการระบาดของโรคไข้เลือดออกจึงต้องมีการกระตุ้นให้ชุมชนโรงเรียนได้ทราบและเล็งเห็นความสำคัญของการป้องกันและควบคุมโรคด้วยการทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงและกำจัดลูกน้ำยุงลายเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโรคในชุมชน ส่งผลให้ประชาชนมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ปลอดภัยจากโรคไข้เลือดออกได้

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อลดอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกในเขตพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลกำแพง

อัตราการเกิดโรคไข้เลือดออกของประชาชนในเขตพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลกำแพงลดลงร้อยละ 80

80.00
2 เพื่อสร้างแผนงานและการมีส่วนร่วมให้กับคณะทำงานในการดำเนินงานป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออด

ร้อยละ 80 ลดการระบาดและการแพร่กระจายของโรคไข้เลือดออก

80.00
3 เพื่อกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายและกำจัดลูกน้ำยุงลาย

ค่าดัชนีลูกน้ำยุงลายลดลง HI ไม่เกินร้อยละ 10 และ ค่า CI = 0

80.00
4 เพื่อสร้างครัวเรือนต้นแบบ ด้านความสะอาด ไม่พบลูกน้ำยุงลาย ปลอดภัยจากโรคไข้เลือดออก เพื่อสามารถควบคุมค่าดัชนีลูกน้ำยุงลายในชุมชน
  1. ประชาชนมีส่วนร่วมในการกำจัดลูกน้ำยุงลายและทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย
  2. ร้อยละ 80 ชุมชนปลอดโรคไข้เลือดออก
  3. ค่าดัชนีลูกน้ำยุงลายในชุมชนลดลง โดยวัดจาก ค่า HI (จำนวนบ้านที่พบลูกน้ำยุงลาย) = ไม่เกินร้อยละ 20
  4. ค่า CI (จำนวนภาชนะที่พบลูกน้ำยุงลาย) = ไม่เกินร้อยละ 10
80.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 105,600.00 0 0.00
1 เม.ย. 67 - 30 ก.ย. 67 ประชุมคณะทำงานวางแผนการทำงานและติดตามผลการดำเนินงานควบคุมโรคไข้เลือดออกระดับตำบล 0 9,500.00 -
1 เม.ย. 67 - 30 ก.ย. 67 สร้างกลไกการขับเคลื่อนการทำงาน ควบคุม ป้องกัน โรคไข้เลือดออกกรณีเกิดการระบาด 0 10,350.00 -
1 เม.ย. 67 - 30 ก.ย. 67 ประชาสัมพันธ์ให้ความรู้เรื่องโรคไข้เลือดออก และรณรงค์ทำลายแหล่งเพาะพันธ์ลูกน้ำยุงลาย พร้อมสำรวจค่าดัชนีลูกน้ำยุงลาย HI,CI 0 0.00 -
1 เม.ย. 67 - 30 ส.ค. 67 การนำเทคโนโลยีมาประยุกค์ใช้ในการติดต่อประสานงาน รายงานโรค 0 0.00 -
1 เม.ย. 67 - 30 ก.ย. 67 ควบคุม ป้องกัน โรคไข้เลือดออกกรณีเกิดการระบาด 0 38,460.00 -
1 เม.ย. 67 - 30 ก.ย. 67 หมู่บ้านปลอดโรคไข้เลือดออก 0 31,290.00 -
1 เม.ย. 67 - 30 ก.ย. 67 ประชุมถอดบทเรียน ติดตามประเมินผลการดำเนินงาน 0 15,000.00 -
1 ส.ค. 67 - 30 ก.ย. 67 รายงานผลโครงการและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ 0 1,000.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. สามารถลดอัตราผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกให้เหลือไม่เกิน 50 ต่อแสนประชากร
  2. มีคณะทำงานเฝ้าระวัง ป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกระดับตำบล ทั้ง 12 หมู่บ้าน และคณะทำงานเฝ้าระวังสอบสวนเคลื่อนที่เร็วระดับตำบล ในเขตพื้นที่ตำบลกำแพง
  3. ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคไข้เลือดออก ตลอดจนตระหนักถึงภัยไข้เลือดออก และให้ความร่วมมือในการดำเนินการควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออก เกิดพฤติกรรมในการทำลายแหล่งเพาะพันธ์ยุงลายอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ
  4. สามารถควบคุมโรคไข้เลือดออกได้อย่างรวดเร็วและยั่งยืนเพื่อมิให้มีการแพร่ระบาดในหมู่บ้าน/โรงเรียน ในเขตพื้นที่ตำบลกำแพง
  5. ทำให้สามารถลดความชุกของลูกน้ำยุงลาย
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 13 ธ.ค. 2566 13:24 น.