กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.เขาย่า

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการคัดแยกขยะในครัวเรือน

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.เขาย่า

ชมรม อสม. รพ.สต.บ้านศาลามะปราง

1.นางกัลญา แสงน่วม
2.นางประดับ แก้วแป้น
3.นางจบ อ่อนไพรี
4.นางนัยนา ไหมดี
5.นายถาวร อินทร์ขาว

หมู่บ้าน หมูที่ 2 บ้านสะพานยาง และหมู่ที่ 4 บ้านเขาย่าออก

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานขยะ , แผนอนามัยและสิ่งแวดล้อม

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ปริมาณขยะของครัวเรือนทั้งหมดในชุมชนต่อวัน

 

5.00
2 ร้อยละของครัวเรือนที่นำวัสดุใช้แล้วมาแปรรูปใช้ใหม่ (recycle) เช่น นำเศษผ้ามาทำถุงผ้า ผ้าเช็ดเท้า

 

12.20
3 ร้อยละของครัวเรือนที่ใช้ประโยชน์ขยะเปียก เช่น การทำปุ๋ยหมัก การทำน้ำหมักชีวภาพ

 

30.27
4 ร้อยละของหมู่บ้านหรือชุมชนที่มีและใช้มาตรการด้านการจัดการขยะ

 

50.00
5 ร้อยละของครัวเรือนที่คัดแยกขยะเป็นประจำ

 

35.48

จากสถานการณ์

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อลดปริมาณขยะของครัวเรือนทั้งหมดในชุมชนต่อวัน

ปริมาณขยะของครัวเรือนทั้งหมดในชุมชนต่อวัน

5.00 2.00
2 เพื่อเพิ่มหมู่บ้านหรือชุมชนที่มีและใช้มาตรการในการจัดการขยะ

ร้อยละของหมู่บ้านหรือชุมชนที่มีและใช้มาตรการด้านการจัดการขยะ

50.00 100.00
3 เพื่อเพิ่มครัวเรือนที่ใช้ประโยชน์ขยะเปียก เช่น การทำปุ๋ยหมัก การทำน้ำหมักชีวภาพ

ร้อยละของครัวเรือนที่ใช้ประโยชน์ขยะเปียก เช่น การทำปุ๋ยหมัก การทำน้ำหมักชีวภาพ

30.27 75.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 200
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]
กลุ่มเป้าหมายจำแนกเพิ่มเติม
อสม.แกนนำ 28

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/04/2024

กำหนดเสร็จ 31/07/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 เสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชนและการขับเคลื่อนกลไกในการทำงาน

ชื่อกิจกรรม
เสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชนและการขับเคลื่อนกลไกในการทำงาน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

เสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชน และการขับเคลื่อนกลไกในการทำงาน มีการประชุมคณะกรรมการในการขับเคลื่อนโครงการ ประกอบด้วย เจ้าหน้าที่ รพ.สต. แกนนำ อสม. และผู้นำชุมชน จำนวน 40 คน มีการชึ้้แจงเกี่ยวกับโครงการ การดำเนินงานโครงการ สำรวจข้อมูลเรื่องการคัดแยกขยะในครัวเรือน และการทำปุ๋ยอินทรีย์จากขยะในครัวเรือน
ค่าใช้จ่ายดังนี้ -ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 1 มื้อๆ ละ 25 บาท เป็นเงิน 1,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
15 พฤษภาคม 2567 ถึง 15 พฤษภาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.มีคณะทำงานขับเคลื่อนโครงการ 30 คน 2.มีข้อมูลการคัดแยกขยะในครัวเรือนของชุมชน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
1000.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมสร้างความเข้าใจการจัดการขยะในครัวเรือน

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมสร้างความเข้าใจการจัดการขยะในครัวเรือน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรมสร้างความเข้าใจการจัดการขยะในครัวเรือน ให้ความรู้ในการคัดแยกขยะในครัวเรือน มีขยะที่แยกได้กี่ประเภท อะไรบ้าง เช่น ขยะทั่วไป ขยะอินทรีย์ ขยะรีไชเคิล ขยะอันตราย ทิศทางทางเดินของขยะ โดยให้ประชาชนรู้จักการคัดแยกขยะ สามารถคัดแยกขยะได้ และสามารถนำขยะไปจัดการต่อไปได้อย่างถูกวิธี โดยมีการอบรมให้ความรู้ในการคัดแยกขยะ จำนวน 2 หมู่บ้าน 2 รุ่นๆ ละ 70 ครัวเรือน -ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 140 คนๆละ 1 มื้อ เป็นเงิน 3,500 บาท -ค่าวิทยากร จำนวน 3 ชั่วโมงๆ ละ 600 บาท เป็นเงิน 1,800 บาท -ค่าป้ายรณรงค์ เรื่อง ขยะ จำนวน 6 ป้าย เป็นเงิน6,000 บาท -ค่าป้ายชื่อโครงการ จำนวน 1 ป้าย เป็นเงิน 1,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
4 มิถุนายน 2567 ถึง 5 มิถุนายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.ครัวเรือนสามารถคัดแยกขยะได้ 2.ครัวเรือนเข้าร่วมประชุม ร้อยละ 80

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
12300.00

กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมติดตามการคัดแยกขยะในครัวเรือน

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมติดตามการคัดแยกขยะในครัวเรือน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรมติดตามการคัดแยกขยะในครัวเรือน เพื่อประเมินการคัดแยกขยะให้ถูกวิธี การนำขยะอินทรีย์ที่ได้ไปใช้ให้เกิดประโยชน์ ประเมินติดตามปริมาณขยะในครัวเรือนแต่ละครัวเรือน เพื่อนำข้อมูลมาประเมินในเรื่องการคัดแยกขยะ โดยแยกเป็นขยะทั่วไป ขยะอันตราย ขยะรีไชเคิลและขยะอินทรีย์ -ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 15 คนๆ ละ 25 บาท จำนวน 4 มื้อ จำนวน 2 วัน เป็นเงิน 1,500 บาท -ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 15 คนๆ ละ 70 บาท จำนวน 2 มื้อ จำนวน 2 วัน เป็นเงิน 2,100 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มิถุนายน 2567 ถึง 31 สิงหาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.ครัวเรือนมีการคัดแยกขยะจากต้นทางและถูกวิธี 2.ได้ปริมาณการคัดแยกขยะในเครัวเรือนแต่ละประเภท

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
3600.00

กิจกรรมที่ 4 กิจกรรมรณรงค์และประชาสัมพันธ์การเก็บขยะที่สาธารณะในชุมชน ครั้งที่ 1

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมรณรงค์และประชาสัมพันธ์การเก็บขยะที่สาธารณะในชุมชน ครั้งที่ 1
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรมรณรงค์และประชาสัมพันธ์การเก็บขยะที่สาธารณะในชุมชน เพื่อสร้างจิตสำนึกการดูแลความสะอาดบริเวณที่สาธารณะ -ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน100คนๆละ 25 บาท จำนวน2500 บาท(จำนวน 2 หมู่บ้านๆละ 50คน)

ระยะเวลาดำเนินงาน
10 กรกฎาคม 2567 ถึง 11 กรกฎาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.ประเมินปริมาณขยะที่สาธารณะ 2.ที่สาธารณะได้รับการปรับเปลี่ยนและดูแลให้ปลอดขยะ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
2500.00

กิจกรรมที่ 5 กิจกรรมรณรงค์และประชาสัมพันธ์การเก็บขยะที่สาธารณะในชุมชน ครั้งที่ 2

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมรณรงค์และประชาสัมพันธ์การเก็บขยะที่สาธารณะในชุมชน ครั้งที่ 2
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรมรณรงค์และประชาสัมพันธ์การเก็บขยะที่สาธารณะในชุมชน ครั้งที่ 2 เพื่อประเมินปริมาณขยะที่ลดลงหรือเพิ่มขึ้นในที่สาธารณะ และเพื่อเสริมสร้างความสามัคคี ปลูกจิตสำนึกในการดูแลความสะอาดในที่สาธารณะประโยชน์ในชุมชน -ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 100 คนๆ ละ 25 บาท จำนวน 2,500 บาท (จำนวน 2 หมู่บ้านๆ ละ 50 คน)

ระยะเวลาดำเนินงาน
5 สิงหาคม 2567 ถึง 5 สิงหาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.ขยะที่สาธารณะประโยชน์ในชุมชนลดลง 2.ปริมาณขยะบริเวณในหมู่บ้าน หรือขยะ 2 ข้างทางลดลง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
2500.00

กิจกรรมที่ 6 กิจกรรมคืนข้อมูลสู่ชุมชน เรื่องการจัดการขยะ และสรุปบทเรียนการจัดการขยะในครัวเรือน

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมคืนข้อมูลสู่ชุมชน เรื่องการจัดการขยะ และสรุปบทเรียนการจัดการขยะในครัวเรือน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรมคืนข้อมูลสู่ชุมชน เรื่อง การจัดการขยะและถอดบทเรียนการจัดการขยะในครัวเรือน ประกอบด้วย กรรมการในการดำเนินโครงการ ประชาชนในหมู่บ้านที่เข้าร่วมโครงการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในการจัดการขยะ และมอบประกาศครัวเรือนต้นแบบในการจัดการขยะ
จำนวน 6 ครัวเรือน -ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 100 คนๆ ละ 25 บาท เป็นเงิน2,500 บาท -ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 100 คนๆ ละ 70 บาท เป็นเงิน 7,000 บาท -ค่าวัสดุโครงการ เป็นเงิน 2,000 บาท -ค่าวิทยากรในการถอดบทเรียน จำนวน 3 ชั่วโมงๆ ละ 600 บาท เป็นเงิน 1,800 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
5 กันยายน 2567 ถึง 6 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.มีต้นแบบครัวเรือนในการคัดแยกขยะ 2.มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในการคัดแยกขยะและการนำขยะไปใช้

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
13300.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 35,200.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

ประชาชนในพื้นที่มีการคัดแยกขยะจากครัวเรือน ครัวเรือนมีปริมาณขยะลดลง และครัวเรือนสามารถนำขยะรีไชเคิลนำกลับมาใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อไป
ปริมาณขยะในที่สาธารณะได้รับการดูแลและมีปริมาณลดลง


>