กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.มะรือโบออก

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการส่งเสริมสตรีร่วมใจต้านภัยมะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดลูก ปี 2567

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.มะรือโบออก

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพส่งเสริมสุขภาพตำบลมะรือโบออก

-

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลมะรือโบออก

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

โรคมะเร็งเป็นปัญหาทางสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศไทย ทำให้เกิดการสูญเสียชีวิตของประชาชน และสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลเป็นจำนวนมากโรคมะเร็ง เป็นสาเหตุการตายอันดับหนึ่งในประเทศไทยจากข้อมูลสถิติสาธารณสุขปี พ.ศ.2557 พบว่าอัตราตายจากโรคมะเร็งของประชากรไทยมีแนวโน้มสูงขึ้น และโรคมะเร็ง
ที่พบมากที่สุดในประเทศไทยได้แก่มะเร็งตับ มะเร็งปอด มะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านมตามลำดับสำหรับสตรีไทย
ซึ่งโรคมะเร็งปากมดลูกมีอุบัติการณ์สูงเป็นอันดับหนึ่งของโรคมะเร็งทั้งหมดของสตรีไทย นอกจากนี้ยังพบว่าการตรวจวินิจฉัยและให้การรักษาผู้ที่มีความผิดปกติของปากมดลูก ตั้งแต่ระยะก่อนเป็นมะเร็งตามขั้นตอนที่ถูกต้องเหมาะสมสามารถลดอุบัติการณ์ และอัตราการตายของโรคมะเร็งปากมดลูกได้เนื่องจากมะเร็งปากมดลูกเป็นมะเร็งที่สามารถตรวจพบได้ตั้งแต่เซลล์เริ่มผิดปกติโดยวิธี HPV DNA Test (Human papillomavirus) ซึ่งการติดเชื้อ HPV เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้ เกิดมะเร็งปากมดลูก เชื้อไวรัส HPV มีอยู่มากกว่า 200 สายพันธุ์ ซึ่งมีประมาณ 14 สายพันธุ์ เสี่ยงที่อาจทำให้เกิดโรค และเชื้อไวรัส HPV สายพันธุ์ 16 และ 18 เป็น สาเหตุประมาณร้อยละ 70 ของการเกิด มะเร็งปากมดลูกในผู้หญิงทั่วโลก ประกอบกับการดำเนินโรคเป็นแบบค่อยเป็นค่อยไปและสามารถรักษาให้หายขาด ส่วนโรคมะเร็งเต้านมเป็นโรคที่พบมากเป็นอันดับที่ 2 ของโรคมะเร็งของสตรีไทย รองมาจากโรงมะเร็งปากมดลูกปัญหาดังกล่าวก่อให้เกิดความสูญเสียทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจ เป็นอย่างมาก แต่สามารถป้องกันรักษาให้หายขาดได้ถ้า ค้นหาผู้ป่วยโรคมะเร็งในระยะแรก ดังนั้นการกระตุ้นให้ประชาชนกลุ่มเป้าหมายได้มีความรู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อป้องกันและหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงที่ก่อให้เกิดโรคมะเร็ง และเข้าใจเกี่ยวกับโรคมะเร็ง พร้อมตระหนักและเห็นถึงความสำคัญของการตรวจป้องกันตนเองในระดับหนึ่งด้วยการคัดกรองเต้านมเป็นประจำทุกเดือนเพื่อค้นหาความผิดปกติทุกเดือน โดยวิธีการตรวจเต้านมด้วยตัวเองเป็นวิธีที่ง่าย
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลมะรือโบออก ได้เล็งเห็นถึง ความสำคัญของการค้นหาผู้ป่วยให้เร็วที่สุด โดยดำเนินการคัดกรองมะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดลูกในสตรีอายุ 30 – 60 ปี จึงได้จัดทำโครงการ“โครงการส่งเสริมสตรีร่วมใจต้านภัยมะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดลูก ปี 2567 ” เพื่อให้ครอบคลุมประชากรระดับหนึ่งซึ่งจะช่วยลดอัตราป่วยและอัตราตายด้วยโรคมะเร็ง ได้ตามเป้าหมายที่กำหนดไว้

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1.กลุ่มสตรีอายุ 30-60ปี ได้รับการคัดกรองมะเร็งปากมดลูก ด้วยวิธี HPV DNA Test
  1. ร้อยละ 80 กลุ่มสตรีอายุ30-60ปี ได้รับการคัดกรองมะเร็งปากมดลูก ด้วยวิธี HPV DNA Test
75.00 80.00
2 2.กลุ่มสตรีกลุ่มเป้าหมาย ได้รับการฝึกทักษะการตรวจมะเร็งเต้านมด้วยตนเองอย่างถูกวิธี และได้รับการตรวจซ้ำโดยบุคลากรทางการแพทย์

2.ร้อยละ๘๐ กลุ่มสตรีกลุ่มเป้าหมาย ได้รับการฝึกทักษะการตรวจมะเร็งเต้านมด้วยตนเองอย่างถูกวิธี และได้รับการตรวจซ้ำโดยบุคลากรทางการแพทย์

75.00 80.00
3 3. กลุ่มสตรีที่พบความผิดปกติได้รับการส่งต่อทุกราย

3.ร้อยละ100สตรีที่พบความผิดปกติได้รับการส่งต่อทุกราย

75.00 80.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 67
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/10/2023

กำหนดเสร็จ 30/09/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 เจ้าหน้าที่และอาสาสมัครสาธารณสุขดำเนินการสำรวจกลุ่มเสี่ยง

ชื่อกิจกรรม
เจ้าหน้าที่และอาสาสมัครสาธารณสุขดำเนินการสำรวจกลุ่มเสี่ยง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

เจ้าหน้าที่และอาสาสมัครสาธารณสุขดำเนินการสำรวจและจัดทำทะเบียนกลุ่มเสี่ยงโรคโรคมะเร็งปาก

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 ตุลาคม 2566 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. กลุ่มสตรีอายุ30-60ปี ได้รับการคัดกรองมะเร็งปากมดลูก ร้อยละ 80
  2. กลุ่มสตรีกลุ่มเป้าหมาย ได้รับการฝึกทักษะการตรวจมะเร็งเต้านมด้วยตนเองอย่างถูกวิธี และได้รับการตรวจซ้ำโดย บุคลากรทางการแพทย์ ร้อยละ 80
  3. สตรีที่พบความผิดปกติได้รับการส่งต่อทุกราย ร้อยละ๑00
  4. เพื่อค้นหาคัดกรองภาวะเสี่ยงต่อโรคมะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดลูกเพื่อป้องกันการเกิดโรคมะเร็ง ระยะแรก สามารถรู้และรักษาได้ทันถ่วงที ร้อยละ 80
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมที่ 2 จัดอบรมให้ความรู้

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมที่ 2 จัดอบรมให้ความรู้
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

๐8.30 น. - ๐9.00 น.- ลงทะเบียนเข้ารับการอบรม ๐9.00 น. - 10.00 น. - อบรมการให้ความรู้เรื่องการคัดกรองมะเร็งปากมดลูกแบบใหม่ให้กับกลุ่มสตรีอายุ 30-60 ปี ด้วยวิธี HPV DNA Test 10.00 น. - 10.15 น. - พักรับประทานอาหารว่าง 10.16 น - 12.00 น. - สาธิตวิธีการตรวจคัดกรองแบบใหม่ด้วยวิธี HPV DNA Test 12.00 น. - 13.00 น. - พักรับประทานอาหารกลางวัน 13.00 น. – 14.๓๐ น. - อบรมให้ความรู้เรื่องการฝึกทักษะการตรวจมะเร็งเต้านมด้วยตนเองอย่างถูกวิธีพร้อม ให้ความรู้การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อป้องกันและหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงที่ก่อให้เกิดโรคมะเร็ง 14.30 น. - 15.30 น. - ประเมินพฤติกรรมสุขภาพ 15.30 น. - 16.30 น. - ซักถามข้อสงสัยเกี่ยวกับความรู้และร่วมกันแสดงความคิดเห็น งบประมาณ 1.ค่าอาหารกลางวันสำหรับผู้ที่เข้าอบรมจำนวน 60 คน x 60 บาท x 1 มื้อ เป็นเงิน 3,600 บาท 2.ค่าอาหารว่างพร้อมเครื่องดื่มสำหรับผู้ที่เข้าอบรม จำนวน 60 คน x 25 บาท x 2 มื้อเป็นเงิน 3,000 บาท 3.ค่าสมุด จำนวน 60 เล่ม x 15 บาทเป็นเงิน 900 บาท 4.ค่าปากกา จำนวน 60 ด้าม x 5 บาท เป็นเงิน 300 บาท 5.ค่ากระเป๋า 60 ใบ x 80 บาท เป็นเงิน4,800บาท 6.ค่าวิทยากร 5 ชั่วโมง x 600 บาท เป็นเงิน 3,000 บาท 7.ค่าป้ายโครงการจำนวน 1 ป้าย ขนาด1x 2 เมตร ตารางเมตรละ 250 บาท เป็นเงิน 500 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 ตุลาคม 2566 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
16100.00

กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมที่ ๓ ค้นหาติดตามคัดกรองภาวะเสี่ยงต่อโรคมะเร็งปากมดลูก

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมที่ ๓ ค้นหาติดตามคัดกรองภาวะเสี่ยงต่อโรคมะเร็งปากมดลูก
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

สามารถติดตามคัดกรองภาวะเสี่ยงต่อโรคมะเร็งปากมดลูกและป้องกันการเกิดมะเร็งปากมดลูก ระยะแรก สามรถรู้และรักษาได้ทันถ่วงที

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 ตุลาคม 2566 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 16,100.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. กลุ่มสตรีอายุ30-60ปี ได้รับการคัดกรองมะเร็งปากมดลูก ร้อยละ 80
2. กลุ่มสตรีกลุ่มเป้าหมาย ได้รับการฝึกทักษะการตรวจมะเร็งเต้านมด้วยตนเองอย่างถูกวิธี และได้รับการตรวจซ้ำโดยบุคลากรทางการแพทย์ ร้อยละ 80


>