กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมสตรีร่วมใจต้านภัยมะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดลูก ปี 2567
รหัสโครงการ 67-L2480-1-02
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพส่งเสริมสุขภาพตำบลมะรือโบออก
วันที่อนุมัติ 13 พฤศจิกายน 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ตุลาคม 2566 - 30 กันยายน 2567
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 16,100.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายดานิช ดิงปาเนาะ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลมะรือโบออก อำเภอเจาะไอร้อง จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 67 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคมะเร็งเป็นปัญหาทางสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศไทย ทำให้เกิดการสูญเสียชีวิตของประชาชน และสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลเป็นจำนวนมากโรคมะเร็ง เป็นสาเหตุการตายอันดับหนึ่งในประเทศไทยจากข้อมูลสถิติสาธารณสุขปี พ.ศ.2557 พบว่าอัตราตายจากโรคมะเร็งของประชากรไทยมีแนวโน้มสูงขึ้น และโรคมะเร็ง ที่พบมากที่สุดในประเทศไทยได้แก่มะเร็งตับ มะเร็งปอด มะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านมตามลำดับสำหรับสตรีไทย ซึ่งโรคมะเร็งปากมดลูกมีอุบัติการณ์สูงเป็นอันดับหนึ่งของโรคมะเร็งทั้งหมดของสตรีไทย นอกจากนี้ยังพบว่าการตรวจวินิจฉัยและให้การรักษาผู้ที่มีความผิดปกติของปากมดลูก ตั้งแต่ระยะก่อนเป็นมะเร็งตามขั้นตอนที่ถูกต้องเหมาะสมสามารถลดอุบัติการณ์ และอัตราการตายของโรคมะเร็งปากมดลูกได้เนื่องจากมะเร็งปากมดลูกเป็นมะเร็งที่สามารถตรวจพบได้ตั้งแต่เซลล์เริ่มผิดปกติโดยวิธี HPV DNA Test (Human papillomavirus) ซึ่งการติดเชื้อ HPV เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้ เกิดมะเร็งปากมดลูก เชื้อไวรัส HPV มีอยู่มากกว่า 200 สายพันธุ์ ซึ่งมีประมาณ 14 สายพันธุ์ เสี่ยงที่อาจทำให้เกิดโรค และเชื้อไวรัส HPV สายพันธุ์ 16 และ 18 เป็น สาเหตุประมาณร้อยละ 70 ของการเกิด มะเร็งปากมดลูกในผู้หญิงทั่วโลก ประกอบกับการดำเนินโรคเป็นแบบค่อยเป็นค่อยไปและสามารถรักษาให้หายขาด ส่วนโรคมะเร็งเต้านมเป็นโรคที่พบมากเป็นอันดับที่ 2 ของโรคมะเร็งของสตรีไทย รองมาจากโรงมะเร็งปากมดลูกปัญหาดังกล่าวก่อให้เกิดความสูญเสียทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจ เป็นอย่างมาก แต่สามารถป้องกันรักษาให้หายขาดได้ถ้า ค้นหาผู้ป่วยโรคมะเร็งในระยะแรก ดังนั้นการกระตุ้นให้ประชาชนกลุ่มเป้าหมายได้มีความรู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อป้องกันและหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงที่ก่อให้เกิดโรคมะเร็ง และเข้าใจเกี่ยวกับโรคมะเร็ง พร้อมตระหนักและเห็นถึงความสำคัญของการตรวจป้องกันตนเองในระดับหนึ่งด้วยการคัดกรองเต้านมเป็นประจำทุกเดือนเพื่อค้นหาความผิดปกติทุกเดือน โดยวิธีการตรวจเต้านมด้วยตัวเองเป็นวิธีที่ง่าย
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลมะรือโบออก ได้เล็งเห็นถึง ความสำคัญของการค้นหาผู้ป่วยให้เร็วที่สุด โดยดำเนินการคัดกรองมะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดลูกในสตรีอายุ 30 – 60 ปี จึงได้จัดทำโครงการ“โครงการส่งเสริมสตรีร่วมใจต้านภัยมะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดลูก ปี 2567 ” เพื่อให้ครอบคลุมประชากรระดับหนึ่งซึ่งจะช่วยลดอัตราป่วยและอัตราตายด้วยโรคมะเร็ง ได้ตามเป้าหมายที่กำหนดไว้

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1.กลุ่มสตรีอายุ 30-60ปี ได้รับการคัดกรองมะเร็งปากมดลูก ด้วยวิธี HPV DNA Test
  1. ร้อยละ 80 กลุ่มสตรีอายุ30-60ปี ได้รับการคัดกรองมะเร็งปากมดลูก ด้วยวิธี HPV DNA Test
75.00 80.00
2 2.กลุ่มสตรีกลุ่มเป้าหมาย ได้รับการฝึกทักษะการตรวจมะเร็งเต้านมด้วยตนเองอย่างถูกวิธี และได้รับการตรวจซ้ำโดยบุคลากรทางการแพทย์

2.ร้อยละ๘๐ กลุ่มสตรีกลุ่มเป้าหมาย ได้รับการฝึกทักษะการตรวจมะเร็งเต้านมด้วยตนเองอย่างถูกวิธี และได้รับการตรวจซ้ำโดยบุคลากรทางการแพทย์

75.00 80.00
3 3. กลุ่มสตรีที่พบความผิดปกติได้รับการส่งต่อทุกราย

3.ร้อยละ100สตรีที่พบความผิดปกติได้รับการส่งต่อทุกราย

75.00 80.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 16,100.00 0 0.00
1 ต.ค. 66 - 30 ก.ย. 67 เจ้าหน้าที่และอาสาสมัครสาธารณสุขดำเนินการสำรวจกลุ่มเสี่ยง 0 0.00 -
1 ต.ค. 66 - 30 ก.ย. 67 กิจกรรมที่ 2 จัดอบรมให้ความรู้ 0 16,100.00 -
1 ต.ค. 66 - 30 ก.ย. 67 กิจกรรมที่ ๓ ค้นหาติดตามคัดกรองภาวะเสี่ยงต่อโรคมะเร็งปากมดลูก 0 0.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. กลุ่มสตรีอายุ30-60ปี ได้รับการคัดกรองมะเร็งปากมดลูก ร้อยละ 80
  2. กลุ่มสตรีกลุ่มเป้าหมาย ได้รับการฝึกทักษะการตรวจมะเร็งเต้านมด้วยตนเองอย่างถูกวิธี และได้รับการตรวจซ้ำโดยบุคลากรทางการแพทย์ ร้อยละ 80
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 20 ธ.ค. 2566 00:00 น.