กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลโตนดด้วน

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการส่งเสริมการบริโภคอาหารปลอดภัย เพื่อสร้างเสริมสุขภาพ ปีงบประมาณ พ.ศ.2567

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลโตนดด้วน

ศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรตำบลโตนดด้วน

1.นายประสิทธิ์รักรอด
2.นายธวัชชัยนาคะวิโรจน์
3.นายสมจิตต์เอียดเกลี้ยง
4.นายจบ ขุนทอง
5.นายสมศักดิ์ นุ่นยัง

เขตพื้นที่ตำบลโตนดด้วน

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

อาหารเป็นหนึ่งในปัจจัยที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิต ปัจจุบันการบริโภคอาหารอยู่ในภาวะความเสี่ยงทางด้านสุขภาพอย่างน่าเป็นห่วง ทั้งนี้เนื่องจากประชาชนบริโภคอาหาร พืช ผัก และผลไม้ที่ไม่ปลอดภัย ทำให้มีการสะสมสารพิษภายในร่างกายเป็นระยะเวลานาน อาจก่อให้เกิดภาวะความเสี่ยงต่อการเจ็บป่วย และการเกิดโรคต่าง ๆ ได้ หลักสำคัญในการเลือกรับประทานอาหาร นอกเหนือจากรสชาติอาหารแล้ว สิ่งที่ต้องคำนึงและพิจารณาควบคู่ไปด้วย คือ คุณค่าตามหลักโภชนาการคุณภาพความสะอาดและปราศจากสารปนเปื้อน การบริโภคอาหารเพื่อให้ได้อาหารที่สะอาดปลอดภัยมีคุณค่าตามหลักโภชนาการและปราศจากสารปนเปื้อนนั้น จำเป็นต้องมีระบบการดูแลควบคุมตรวจสอบคุณภาพความปลอดภัยของอาหารทุกกระบวนการ แนวทางการป้องกันและแก้ไขปัญหาภาวะความเสี่ยงด้านสุขภาพต้องให้กระบวนการเรียนรู้ที่หลากหลาย ที่กระตุ้นให้ประชาชนเห็นคุณค่าและความสำคัญของการดูแลรักษาสุขภาพสามารถปฏิบัติได้จริงในชีวิตประจำวัน ฉะนะ้นเพื่อให้ประชาชนสามารถจัดหาอาหารที่สะอาดปลอดภัยมาบริโภคได้ จึงจำเป็นต้องมีระบบการดูแลควบคุมตรวจขสอบคุณภาพความปลอดภัยของอาหาร และดำเนินการประชาชสัมพันธ์ให้ประชาชนทั่วไปสามารถรับทราบข้อมูลและเข้าถึงการบริโภคอาหารที่สะอาดและปลอดภัยได้ ซึ่งในตำบลโตนดด้วนมีกลุ่มปลูกผักปลอดสารพิษอยู่หลายหมู่บ้าน เช่น หมู่ที่ 1 หมู่ที่ 3 หมู่ที่ 5 และหมู่ที่ 8
ศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรตำบลโตนดด้วน เล็งเห็นถึงความสำคัญและความปลอดภัยของผู้บริโภคในตำบลโตนดด้วน จึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมการบริโภคอาหารปลอดภัย เพื่อสร้างเสริมสุขภาพ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2567 เพื่อให้ประชาชนมีความรู้ เรื่องความปลอดภัยด้านอาหารที่สะอาด การผลิตอาหารที่ปลอดสารเคมี สินค้ามีคุณภาพ มีการรณรงค์และประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนในตำบลโตนดด้วน ปลูกผักปลอดสารพิษ เพื่อนำไปประกอบอาหาร จะได้บริโภคผักปลอดสารพิษ ทำให้ประชาชนปลอดโรค ปลอดภัย ร่างกายสุขภาพแข็งแรง อันจะนำไปสู่การมีสุขภาพที่ดีของประชาชน ต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจให้กับผู้ผลิตพืชผัก เรื่องความปลอดภัยด้านอาหาร การผลิตพืชผักที่สะอาด มีคุณภาพปลอดสารพิษ

1.ผู้เข้าร่วมโครงการ ร้อยละ 100 มีความรู้ ความเข้าใจ เรื่องความปลอดภัยด้านอาหาร การผลิตพืชผักที่สะอาด มีคุณภาพปลอดสารพิษ

0.00 50.00
2 2.เพื่อส่งเสริมให้ผู้ผลิตพืชผักมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการปลูกผักปลอดสารพิษ ลดการใช้สารเคมี

2.ผู้เข้าร่วมโครงการ ร้อยละ 100 มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการปลูกผักปลอดสารพิษ ลดการใช้สารเคมี

0.00 50.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 40
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 15
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 25/01/2024

กำหนดเสร็จ 30/08/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 1.กิจกรรมตรวจหาสารเคมีในเลือด ครั้งที่ 1

ชื่อกิจกรรม
1.กิจกรรมตรวจหาสารเคมีในเลือด ครั้งที่ 1
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.กิจกรรมชั่งนำ้หนัก วัดความดันโลหิตสูง 2.เจาะหาสารเคมีในเลือด (ก่อนการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม) 3.วิเคราะหฺ์หาสารเคมีในเลือดให้แก่ผู้เข้าร่วมโครงการ ครั้งที่1 -ค่าชุดอุปกรณ์ตรวจหาโคลีนเอสเตอเรสในเลือด จำนวน 2 ชุด ๆ ละ 2500 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
25 มกราคม 2567 ถึง 16 กุมภาพันธ์ 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้เข้าร่วมโครงการได้ตรวจหาสารเคมีในเลือด

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
5000.00

กิจกรรมที่ 2 2.กิจกรรมอบรม ให้ความรู้เรื่องอาหารปลอดภัยใส่ใจผู้บริโภค

ชื่อกิจกรรม
2.กิจกรรมอบรม ให้ความรู้เรื่องอาหารปลอดภัยใส่ใจผู้บริโภค
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.กิจกรรมอบรมให้ความรู้เกษตรกรผู้เข้าร่วมโครงการ 1.1ค่าสมนาคุณวิทยากร จำนวน 2 คน ๆ ละ 3 ชั่วโมง จำนวน   6 ชั่วโมง ๆ  ละ 600 บาท เป็นเงิน 3600 บาท 1.2 ค่าป้ายไวนิลชื่อโครงการ จำนวน 1 ป้าย ขนาด1.2X2.4 เมตร เป็นเงิน 518 บาท 1.3ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 1 มื้อ ๆ ละ 60 บาท วิทยากร 2 คน ผู้เข้าอบรม 55 คน เป็นเงิน 3400 บาท 1.4ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 2 มื้อ ๆ ละ 25 บาท ผู้เข้าอบรม 55  บาท วิทยากร 2 คน เป็นเงิน 2850 บาท 1.5ค่าจัดซื้อเมล็ดพันธุ์พืชผัก เป็นเงิน  7500 บาท 1.6ค่าจัดซื้อวัสดุอุปกรณ์ทำเชื้อราไตรโคเดอร์มา 4560 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
12 กุมภาพันธ์ 2567 ถึง 28 กุมภาพันธ์ 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้เข้าอบรมได้ปลูกผักปลอดสารพิษ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
22453.00

กิจกรรมที่ 3 3.กิจกรรมส่งเสริมการปลูกผักปลอดสารพิษ

ชื่อกิจกรรม
3.กิจกรรมส่งเสริมการปลูกผักปลอดสารพิษ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

3.1 แต่งตั้งคณะทำงานในการขับเคลื่อนกลุ่มปลูกผักปลอดสารพิษ 3.2 คณะทำงานลงพื้นที่ติดตามประเมินผล 1.ค่าชดเชยน้ำมันเชื้อเพลิงให้แก่คณะทำงานติดตามประเมินผล จำนวน 10 คน ๆ ละ 100 บาท เป็นเงิน 1,000 บาท 2. ค่าถ่ายเอกสารแบบฟอร์มคู่มือสำรวจแปลงพืชผัก จำนวน  55 ชุด ๆ ละ 3 บาท  เป็นเงิน 165 บาท 3.3 ส่งเสริม ให้คำแนะนำและตรวจแปลงปลูกผักปลอดสารพิษ 3.4 สรุปผลการตรวจติดตามประเมินผล

ระยะเวลาดำเนินงาน
5 มีนาคม 2567 ถึง 15 มีนาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

เกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการได้ปลูกผักปลอดสารพิษ เพื่อบริโภคในครัวเรือน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
1165.00

กิจกรรมที่ 4 4.การจัดกิจกรรมตรวจสารเคมีในเลือดเพื่อความปลอดภัยแก่ผู้บริโภค และจัดบู๊ทแสดงสินค้าเกษตรปลอดสารพิษ 4.1 กิจกรรมย่อยชั่งน้ำหนัก วัดความดันโลหิตสูง และเจาะหาสารเคมีในเลือด (หลังการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม) ครั้งที่ 2 1.ชั่งน้ำหนัก และวัดความดันโลหิตสูง 2.วิทยากรเ

ชื่อกิจกรรม
4.การจัดกิจกรรมตรวจสารเคมีในเลือดเพื่อความปลอดภัยแก่ผู้บริโภค และจัดบู๊ทแสดงสินค้าเกษตรปลอดสารพิษ 4.1 กิจกรรมย่อยชั่งน้ำหนัก วัดความดันโลหิตสูง และเจาะหาสารเคมีในเลือด (หลังการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม) ครั้งที่ 2 1.ชั่งน้ำหนัก และวัดความดันโลหิตสูง 2.วิทยากรเ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ค่าจัดทำป้ายประกาศนียบัตร  GAP  ผักปลอดสารพิษแก่ผู้ที่ผ่านการตรวจผักปลอดสารพิษ จำนวน 55 ใบ  เป็นเงิน  1,100  บ.
  2. ค่าตอบแทนวิทยากร จำนวน 1 คน จำนวน 6 ชั่วโมง ๆละ 600 บาท เป็นเงิน 3,600 บาท
  3. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 2 มื้อ ๆ ละ 25 บาท  จำนวน 55 คน วิทยากร 1 คน   เป็นเงิน 2,800    บาท 4.ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 1 มื้อ ๆ ละ 60 บาท  จำนวน 55 คน วิทยากร 1 คน  เป็นเงิน  3,360         บาท
  4. ป้ายไวนิลการประชาสัมพันธ์การประกวดพืชผักปลอดสารพิษ ขนาด 1.2*2.4  เมตร  จำนวน 1 ป้าย   เป็นเงิน 518  บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
3 เมษายน 2567 ถึง 25 กรกฎาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

เกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการที่ปลูกผักผลอดสารพิษ ลดการใช้สารเคมี ทำให้สารเคมีในเลือดลดลง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
11378.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 39,996.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.ประชาชนในตำบลโตนดด้วนได้บริโภคพืชผักที่ปลอดภัย ส่งผลให้มีสุขภาพอนามัยที่ดี
2.ประชาชนที่ปลูกผักในตำบลโตนดด้วนลดการใช้สารเคมี และได้บริโภคอาหารที่ปลอดโรคปลอดภัย
3.ประชาชนสุขภาพแข็งแรง ลดการเกิดโรค


>