กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการพัฒนาศักยภาพแกนนำดูแลสุขภาพผู้ป่วยโรคเรื้อรังในสถานการณ์ฉุกเฉิน ตำบลบ้านนา อ.ศรีนครินทร์ จ.พัทลุง

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลบ้านนา

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการพัฒนาศักยภาพแกนนำดูแลสุขภาพผู้ป่วยโรคเรื้อรังในสถานการณ์ฉุกเฉิน ตำบลบ้านนา อ.ศรีนครินทร์ จ.พัทลุง

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลบ้านนา

ชมรมอาสาฉุกเฉินชุมชนตำบลบ้านนา

1.นายนิยม อินทระนก
2.นายทนงศักดิ์ แจ่มสว่าง
3.นางพัชรินทร์ ลายทิพย์
4.นายออด หาสังข์
5.นายบรรจบ เกตุแก้ว

ม.1-12 ต.บ้านนา อ.ศรีนครินทร์ จ.พัทลุง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละผู้ป่วยที่เป็นโรคเรื้อรังขาดการรักษาอย่างต่อเนื่อง

 

30.00
2 อัตราการเกิดภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วยโรคเรื้อรังมีความเสี่ยงสูง

 

50.00

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อแก้ปัญหาผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่ขาดการรักษาอย่างต่อเนื่อง

ร้อยละของผู้ป่วยโรคเรื้อรังได้รับการรักษาอย่างต่อเนื่องเพิ่มขึ้น

30.00 35.00
2 เพื่อลดอัตราการเกิดภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วยโรคเรื้อรัง

ร้อยละผู้ป่วยโรคเรื้อรังเกิดภาวะแทรกซ้อนลดลง

50.00 40.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 20
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 20
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]
กลุ่มเป้าหมายจำแนกเพิ่มเติม
แกนนำ ดูแลสุขภาพ 25

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/02/2024

กำหนดเสร็จ 30/09/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ประชุมเครือข่ายชมรมอาสาฉุกเฉิน วางแผนการทำงาน

ชื่อกิจกรรม
ประชุมเครือข่ายชมรมอาสาฉุกเฉิน วางแผนการทำงาน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.ประชุมสมาชิกในชมรมอาสาฉุกเฉิน และภาคีเครือข่าย เพื่อกำหนดกิจกรรมในโครงการ และอาสาสมัครเป็นแกนนำขับเคลื่อนโครงการ
2.ค้นหากลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมโครงการ โดยเป็นผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่ขาดความต่อเนื่องในการรักษา
3.จัดทำทะเบียนผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่สนใจเข้าร่วมโครงการ
ไม่ใช้งบประมาณ

ระยะเวลาดำเนินงาน
13 กุมภาพันธ์ 2567 ถึง 13 กุมภาพันธ์ 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.ได้แผนกิจกรรมในโครงการ
2.ได้ประชาสัมพันธ์รายละเอียดการเข้าร่วมโครงการ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 2 อบรมเชิงปฏิบัติการ การพัฒนาศักยภาพแกนนำ ในการเฝ้าระวัง ป้องกัน และการดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่ถูกวิธี

ชื่อกิจกรรม
อบรมเชิงปฏิบัติการ การพัฒนาศักยภาพแกนนำ ในการเฝ้าระวัง ป้องกัน และการดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่ถูกวิธี
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จัดกิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการ การพัฒนาศักยภาพแกนนำ ในการเฝ้าระวัง ป้องกัน และการดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่ถูกวิธี
โดยพัฒนาศักยภาพของแกนนำในชมรม ให้มีความรู้ ความเข้าใจ และความสามารถในการดูแลกลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง และแกนนำสามารถใช้เครื่องวัดความดัน เครื่องตรวจน้ำตาลในเลือด เครื่องวัดออกซิเจน พร้อมแปลผลได้อย่างถูกต้อง
โดยมีค่าใช้จ่ายดังนี้
1.ค่าป้ายโครงการ ขนาด 1x 2 เมตร จำนวน 1 ป้าย เป็นเงิน 400 บาท
2.ค่าสัมนาคุณวิทยากร จำนวน 5 ชั่วโมง x 600 บาท เป็นเงิน 3,000 บาท
3.ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับผู้เข้าร่วมอบรมและเจ้าหน้าที่จำนวน 25 คนx 35 บาท จำนวน 2 มื้อ เป็นเงิน 1,750 บาท
4.ค่าอาหารกลางวันสำหรับผู้เข้าร่วมอบรมและเจ้าหน้าที่ จำนวน 25 คนx 80 บาท จำนวน 1 มื้อ เป็นเงิน 2,000 บาท
5.ค่าอุปกรณ์สาธิต เป็นวัสดุการแพทย์ ได้แก่
- เครื่องวัดความดัน จำนวน 1 เครื่อง เป็นเงิน 3,500 บาท
- เครื่องตรวจน้ำตาลในเลือด จำนวน 1 เครื่อง เป็นเงิน 1,800 บาท
- เครื่องวัดออกซิเจน จำนวน 1 เครื่อง เป็นเงิน 2,000 บาท
- ค่าแถบตรวจน้ำตาล จำนวน 1 กล่องๆละ 50 ชิ้น เป็นเงิน 500 บาท
- ค่าสำลีก้อนชุปแอลกอฮอล์ 1 กล่องๆละ 180 บาท เป็นเงิน 180 บาท
- ค่าเข็มเจาะเลือดปลายนิ้ว จำนวน 1 กล่องๆละ 50 ชิ้น เป็นเงิน 300 บาท
รวมเป็นเงิน 15,430 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
4 มีนาคม 2567 ถึง 4 มีนาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
15430.00

กิจกรรมที่ 3 การ เฝ้าระวัง ป้องกันและดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรังในสถานการณ์ฉุกเฉิน

ชื่อกิจกรรม
การ เฝ้าระวัง ป้องกันและดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรังในสถานการณ์ฉุกเฉิน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.การเฝ้าระวังกลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ที่มีภาวะโรคแทรกซ้อน ได้รับการส่งต่อ การรักษาอย่างเป็นระบบ
2.ผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่เกิดภาวะฉุกเฉิน ความดันโลหิตสูง ค่าน้ำตาลสูง ได้รับการส่งต่อ การรักษา ได้ทันเวลา
---ไม่ใช้งบประมาณ---

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ที่เกิดภาวะฉุกเฉิน ได้รับการส่งต่อ การรักษา ได้ทันเวลา

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 4 สรุปผลและประเมินโครงการ

ชื่อกิจกรรม
สรุปผลและประเมินโครงการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.ประชุมแลกเปลี่ยนการเฝ้าระวังและสรุปผลการดำเนินงานตามกิจกรรมในโครงการ
2.ประเมินผล การพัฒนาศักยภาพของแกนนำ และการเฝ้าระวังผู้ป่วยโรคเรื้อรังในสถานการณ์ฉุกเฉิน
3.สรุปและจัดทำรายงานโครงการ
ไม่ใช่งบประมาณ

ระยะเวลาดำเนินงาน
10 กันยายน 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.ผู้ป่วยโรคเบาหวานโรคความดันโลหิตสูงที่มีความเสี่ยงสูงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อน ได้รับการดูแลต่อเนื่อง
2.แกนนำมีความรู้ ความเข้าใจในเรื่องโรคความดันโลหิตสูง / เบาหวานให้ปลอดภัยจากภาวะแทรกซ้อนของโรคได้

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 15,430.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.แกนนำได้รับการพัฒนาศักยภาพ มีความรู้ ความเข้าใจ ทักษะด้านการส่งเสริม ป้องกัน ฟื้นฟู สุขภาพของประชาชนในพื้นที่ สามารถถ่ายทอดความรู้ด้านสุขภาพแก่ประชาชนกลุ่มเป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ
2.ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ได้รับการดูแลและติดตาม ให้เข้าสู่กระบวนการรักษาอย่างเนื่อง เพิ่มขึ้น


>