กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลชะรัด

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการส่งเสริมภาวะโภชนาการในเด็กปฐมวัยในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลตำบลชะรัดปี 2567

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลชะรัด

ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลตำบลชะรัด

1.นางวินลยา ลายเพชร
2.นางทิพย์ หอยเขียว
3.นางมลฤดี สนิทเสโล
4.นางรัตตณี กราปัญจะ
5.นางอุรา หมุนนุ้ย
6.นางสาวรีน่า เหล็มสัน

ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลตำบลชะรัด

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอาหารและโภชนาการ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของเด็กอายุ 0-5 ปี ที่มีภาวะอ้วน

เด็กอ้วน 3 คน จากเด็กทั้งหมด 58 คน

5.17
2 ร้อยละของเด็กอายุ 0-5 ปี ที่มีภาวะผอม

เด็กผอม 5 คน จากเด็กทั้งหมด 58 คน

8.62
3 ร้อยละของคนในชุมชนที่กินผัก ผลไม้ อย่างน้อยวันละ 500 กรัม

เด็กกินผัก 500 กรัม จำนวน 5 คน
เด็กทั้งหมด 58 คน

8.62
4 นักเรียนส่วนใหญ่ไม่ชอบทานผัก อาจเนื่องมาจาก ผักมีรสชาติที่ไม่อร่อย

เด็กนักเรียนที่ไม่ชอบกินผัก จำนวน 20 คน
เด็กทั้งหมด 58 คน

34.48

ปัจจุบันเด็กในวัยก่อนเรียนและในวัยเรียนอยู่ในภาวะความเสี่ยงทางด้านสุขภาพอย่างน่าเป็นห่วง ทั้งนี้เนื่องจากเด็กได้บริโภคอาหารพืชผัก และผลไม้ที่ไม่ปลอดภัย ทำให้มีการสะสมสารพิษภายในร่างกายเป็นระยะเวลานานอาจก่อให้เกิดภาวะความเสี่ยงต่อการเจ็บป่วยและการเกิดโรคชนิดต่างๆได้ ส่งผลกระทบต่อเด็กทั้งโดยทางตรงและทางอ้อมซึ่งเป็นการบั่นทอนทรัพยากรมนุษย์ระยะยาว แนวทางการป้องกันและแก้ไข้ปัญหาภาวะความเสี่ยงด้านสุขภาพต้องให้กระบวนการเรียนรู้ที่หลากหลาย ที่กระตุ้นให้เด็กเยาวชน และประชาชนเห็นคุณค่าและความสำคัญของการดูแลรักษาสุขภาพสามารถปฏิบัติได้จริงในชีวิตประจำวัน ปลอดภัย ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลตำบลชะรัด เห็นความสำคัญของสุขภาพนักเรียน ได้จัดกระบวนการเรียนรู้โดยเน้นนักเรียนเป็นสำคัญ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลตำบลชะรัด จึงจัดทำกิจกรรมปลูกผักปลอดสารพิษภายในโรงเรียน เพื่อนำผลผลิตที่ได้มาประกอบอาหารกลางวัน ส่วนผลผลิตที่เหลือนำมาขายให้กับผู้ปกครองในชุมชน จากการสังเกตเด็กนักเรียนศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลตำบลชะรัด นักเรียนส่วนใหญ่ไม่ชอบทานผักร้อยละ34.48อาจเนื่องมาจาก ผักมีรสชาติที่ไม่อร่อย และมีนักเรียนมีภาวะโภชนาการไม่เป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนด ร้อยละ 20 รวม ไปถึงนักเรียนที่ไม่รับประทานอาหารเช้าก่อนมาโรงเรียน ร้อยละ 54.48 สำหรับคนที่ทานอาหารเช้าก็ทานอาหารที่ไม่ค่อยเหมาะสมต่อการนำสารอาหารไปใช้ในแต่ละวัน และอาหารกลางวันที่ไม่ค่อยจะมีผักเป็นส่วนประกอบมากเท่าที่ควร ทำให้นักเรียนไม่ค่อยชอบการรับประทานอาหารจำพวกผัก

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อลดภาวะอ้วน ในเด็กอายุ 0-5 ปี

ร้อยละของเด็กอายุ 0-5 ปี ที่มีภาวะอ้วน

5.17 1.72
2 เพื่อลดภาวะผอม ในเด็กอายุ 0-5 ปี

ร้อยละของเด็กอายุ 0-5 ปี ที่มีภาวะผอม

8.62 1.72
3 เพื่อเพิ่มคนในชุมชนที่กินผัก ผลไม้ อย่างน้อยวันละ 500 กรัม

ร้อยละของคนในชุมชนที่กินผัก ผลไม้ อย่างน้อยวันละ 500 กรัม

8.62 50.00
4 เด็กชอบกินผักมากขึ้น

ร้อยละของเด็กนักเรียน ชอบกินผักมากขึ้น

34.48 60.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 58
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]
กลุ่มเป้าหมายจำแนกเพิ่มเติม
ครู 6

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/01/2024

กำหนดเสร็จ 30/09/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมให้ความรู้แก่ผู้ปกครอง เรื่อง โภชนาการในเด็กปฐมวัย

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมให้ความรู้แก่ผู้ปกครอง เรื่อง โภชนาการในเด็กปฐมวัย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน64 คนๆ ละ 1 มื้อ ๆละ 20 บาท 1,280 บาท
  • ค่าตอบแทนวิทยากร3ชั่วโมงๆ ละ 600 บาท 1,800 บาท
  • ป้ายไวนิลโครงการ 1 ป้าย 300 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มกราคม 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
3380.00

กิจกรรมที่ 2 ผู้ปกครองลงมือปฏิบัติการทำโรงเรือนปฐมวัย

ชื่อกิจกรรม
ผู้ปกครองลงมือปฏิบัติการทำโรงเรือนปฐมวัย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ค่าวัสดุแปลงผัก
- ค่าอิฐ340 บาท
- ค่าดิน8 กระสอบ 150 บาท
- ปุ๋ยคอก 6 กระสอบ 210บาท
- ค่าบัวรดน้ำ6 ลูก300บาท
- ค่าพันธ์ผัก 500บาท
ค่าเพาะเห็ด
- ชั้นวางเห็ด 800 บาท
- ตาข่าย500 บาท
- ก้อนเชื้อเห็ด 35 ก้อน700 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มกราคม 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
3500.00

กิจกรรมที่ 3 การนำผักมาแปรรูปเป็นอาหารกลางวันให้กับเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก

ชื่อกิจกรรม
การนำผักมาแปรรูปเป็นอาหารกลางวันให้กับเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • นำเห็ดมาทำอาหารกลางวัน ให้กับเด็ก

  • นำผักมาชุปแป้งทอด เป็นอาหารทานเล่น

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มกราคม 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
400.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 7,280.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

- เด็กมีภาวะโภชนาการ น้ำหนัก ส่วนสูง เหมาะสม ตามวัย
- จำนวนเด็กที่ชอบทานผักเพิ่มขึ้น
- เด็กรู้วิธีการทำงานร่วมกัน
- ผู้ปกครองสามารถนำความรู้ที่ได้ไปใช้ในชีวิตประจำวันได้


>