กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บางขุนทอง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เปลี่ยนชีวิต พิชิตโรคเบาหวาน/ความดันโลหิตสูง ตามวิถีชุมชน ปี 2567

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บางขุนทอง

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตพบลบางขุนทอง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ประเทศไทยมีการเปลี่ยนแปลงทางระบาดวิทยาที่สาเหตุการตายของประชาชนเปลี่ยนจากโรคติดเชื้อเฉียบพลันมาเป็นโรคเรื้อรัง ทั้งนี้เป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพสังคมและสิ่งแวดล้อมอันทำให้บุคคลเคลื่อนไหวร่างกายลดลงและบริโภคอาหารที่มีความเสี่ยงต่อสุขภาพมากขึ้น โรคระบบไหลเวียนเลือดเป็นกลุ่มโรคหนึ่งที่ได้กลายเป็นปัญหาสาธารณสุขที่มีความสำคัญเป็นลำดับต้นๆของประเทศไทยในปัจจุบัน
กลุ่มประชากรที่มีความเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดที่สำคัญ คือ ผู้ที่ป่วยด้วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง ซึ่งเป็นกลุ่มที่มารับบริการที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบางขุนทองเป็นอันดับ 1 และเป็นกลุ่มที่มีปัญหาในการดูแลต่อเนื่องที่บ้านมากที่สุด จากการสำรวจเบื้องต้น พบว่า ผู้ป่วยโรคเหวานและโรคความดันโลหิตสูงส่วนใหญ่ยังมีพฤติกรรมสุขภาพเพื่อลดความเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดไม่ถูกต้อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการรับประทานอาหาร การออกกำลังกาย การจัดการกับความเครียด การรับประทานยา หรือฉีดยา และการดูแลตนเอง เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อน ซึ่งถ้าไม้ได้รับการแก้ไขจะทำให้เพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดมากยิ่งขึ้น แต่ด้วยเหตุปัจจัยเหล่านี้เป็นสิ่งที่ปรับเปลี่ยนได้ และมีหลักฐานวิชาการยืนยันชัดเจนถึงผลของการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมต่อการลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคและเสียชีวิต จึงมีความเป็นไปได้ที่จะควบคุมป้องกันหรือชะลอการเกิดหรือการดำเนินของโรคในผู้ป่วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตได้
ดังนั้น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบางขุนทองจึงได้จัดทำโครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เปลี่ยนชีวิต พิชิตโรคเบาหวาน/ความดันโลหิตสูง ตามวิถีชุมชนเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือดขึ้นเพื่อลดความเสี่ยงต่อปัญหาสุขภาพดังกล่าว

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อให้ประชาชนกลุ่มเสี่ยงต่อโรคเบาหวาน/ความดันโลหิตสูง ได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม

1.ร้อยละ 60 ผู้เข้าร่วมโครงการมีความเชื่อความสามารถของตนเองในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพเพื่อควบคุมการเกิดโรคโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงเพิ่มขึ้น

0.00
2 2.ประชาชนกลุ่มเสี่ยง/กลุ่มป่วยที่ได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม มีผลการตรวจระดับน้ำตาลในเลือด/ระดับความดันโลหิต เปลี่ยนแปลงอยู่ในเกณฑ์ปกติ

2.ร้อยละ 60 ผู้เข้าร่วมโครงการมีพฤติกรรมการดูแลตนเองในเรื่องการรับประทานอาหาร การมีกิจกรรมทางกาย การจัดการความเครียด รับประทานยาหรือฉีดยา ดูแลและเผ้าระวังภาวะแทรกซ้อน
ได้ถูกต้องเพิ่มขึ้น

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 70
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/02/2024

กำหนดเสร็จ 30/09/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมที่ 1 การสร้างแกนนำวิทยากรและการพัฒนาหลักสูตรเพื่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม 1.1 ประชุมชี้แจงโครงการฯแก่คณะทำงานและผู้เกี่ยวข้องเพื่อกำหนดเนื้อหา กำหนดการประชุมเชิงปฏิบัติการฯ การพิจารณากลุ่มเป้าหมาย และชี้แจงวัตถุประสงค์ของการดำเนินงาน

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมที่ 1 การสร้างแกนนำวิทยากรและการพัฒนาหลักสูตรเพื่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม 1.1 ประชุมชี้แจงโครงการฯแก่คณะทำงานและผู้เกี่ยวข้องเพื่อกำหนดเนื้อหา กำหนดการประชุมเชิงปฏิบัติการฯ การพิจารณากลุ่มเป้าหมาย และชี้แจงวัตถุประสงค์ของการดำเนินงาน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.ประชุมชี้แจงโครงการฯแก่คณะทำงานและผู้เกี่ยวข้องเพื่อกำหนดเนื้อหา กำหนดการประชุมเชิงปฏิบัติการฯ การพิจารณากลุ่มเป้าหมาย  และชี้แจงวัตถุประสงค์ของการดำเนินงาน 1  ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม ผู้เข้าประชุม  จำนวน 30 คน มื้อละ 30  บาท  จำนวน 1มื้อ    เป็นเงิน 900 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กุมภาพันธ์ 2567 ถึง 29 กุมภาพันธ์ 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.คณะทำงานและผู้เกี่ยวข้องทราบเนื้อหา รายละเอียดการดำเนินกิจกรรมและสามารถเป็นแกนนำในการทำกิจกรรมปรับเปลี่ยนได้

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
900.00

กิจกรรมที่ 2 2ประชุมเชิงปฎิบัติการณ์ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในกลุ่มเสี่ยง กลุ่มป่วย

ชื่อกิจกรรม
2ประชุมเชิงปฎิบัติการณ์ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในกลุ่มเสี่ยง กลุ่มป่วย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

2.การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมกลุ่มเสี่ยง/กลุ่มป่วย ดำเนินการครั้งละประมาณ70คนดำเนินการแบบเข้าค่ายไป – กลับจำนวนครั้งละ1วันห่างกันครั้งละประมาณ 1 เดือน. จำนวน 3 ครั้ง1.1 ค่าอาหารกลางวัน ผู้เข้าอบรม จำนวน 70 คน มื้อละ 60 บาท จำนวน 3 ครั้งเป็นเงิน 12,600 บาท1.2 ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม ผู้เข้าอบรมจำนวน 70 คนมื้อละ 30บาทจำนวน 3 ครั้ง ครั้งละ 2 มื้อเป็นเงิน 12,600 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กุมภาพันธ์ 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

2.ผู้เข้าร่วมโครงการมีพฤติกรรมการดูแลตนเองในเรื่องการรับประทานอาหาร  การมีกิจกรรมทางกาย การจัดการความเครียด รับประทานยาหรือฉีดยา ดูแลและเผ้าระวังภาวะแทรกซ้อน
ได้ถูกต้องเพิ่มขึ้น

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
25200.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 26,100.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ประชาชนกลุ่มเสี่ยงต่อโรคเบาหวาน/ความดันโลหิตสูง ได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมมีผลการตรวจระดับน้ำตาลในเลือด/ระดับความดันโลหิต เปลี่ยนแปลงอยู่ในเกณฑ์ปกติ
2. กลุ่มป่วยที่ไม่มีภาวะแทรกซ้อน สามารถควบคุมโรคได้ ลดอัตราการเกิดภาวะแทรกซ้อน
3. มีเครือข่าย/แกนนำด้านสุขภาพในชุมชน


>