กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เปลี่ยนชีวิต พิชิตโรคเบาหวาน/ความดันโลหิตสูง ตามวิถีชุมชน ปี 2567
รหัสโครงการ 67-L2484-1-06
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบางขุนทอง
วันที่อนุมัติ 15 กุมภาพันธ์ 2567
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 15 กุมภาพันธ์ 2567 - 30 กันยายน 2567
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2567
งบประมาณ 26,100.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบางขุนทอง อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกิจกรรมทางกาย , แผนงานอาหารและโภชนาการ , แผนงานโรคเรื้อรัง , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 15 ก.พ. 2567 30 ก.ย. 2567 26,100.00
รวมงบประมาณ 26,100.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 70 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ประเทศไทยมีการเปลี่ยนแปลงทางระบาดวิทยาที่สาเหตุการตายของประชาชนเปลี่ยนจากโรคติดเชื้อเฉียบพลันมาเป็นโรคเรื้อรัง ทั้งนี้เป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพสังคมและสิ่งแวดล้อมอันทำให้บุคคลเคลื่อนไหวร่างกายลดลงและบริโภคอาหารที่มีความเสี่ยงต่อสุขภาพมากขึ้น โรคระบบไหลเวียนเลือดเป็นกลุ่มโรคหนึ่งที่ได้กลายเป็นปัญหาสาธารณสุขที่มีความสำคัญเป็นลำดับต้นๆของประเทศไทยในปัจจุบัน กลุ่มประชากรที่มีความเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดที่สำคัญ คือ ผู้ที่ป่วยด้วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง ซึ่งเป็นกลุ่มที่มารับบริการที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบางขุนทองเป็นอันดับ 1 และเป็นกลุ่มที่มีปัญหาในการดูแลต่อเนื่องที่บ้านมากที่สุด จากการสำรวจเบื้องต้น พบว่า ผู้ป่วยโรคเหวานและโรคความดันโลหิตสูงส่วนใหญ่ยังมีพฤติกรรมสุขภาพเพื่อลดความเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดไม่ถูกต้อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการรับประทานอาหาร การออกกำลังกาย การจัดการกับความเครียด การรับประทานยา หรือฉีดยา และการดูแลตนเอง เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อน ซึ่งถ้าไม้ได้รับการแก้ไขจะทำให้เพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดมากยิ่งขึ้น แต่ด้วยเหตุปัจจัยเหล่านี้เป็นสิ่งที่ปรับเปลี่ยนได้ และมีหลักฐานวิชาการยืนยันชัดเจนถึงผลของการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมต่อการลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคและเสียชีวิต จึงมีความเป็นไปได้ที่จะควบคุมป้องกันหรือชะลอการเกิดหรือการดำเนินของโรคในผู้ป่วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตได้ ดังนั้น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบางขุนทองจึงได้จัดทำโครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เปลี่ยนชีวิต พิชิตโรคเบาหวาน/ความดันโลหิตสูง ตามวิถีชุมชนเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือดขึ้นเพื่อลดความเสี่ยงต่อปัญหาสุขภาพดังกล่าว

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อให้ประชาชนกลุ่มเสี่ยงต่อโรคเบาหวาน/ความดันโลหิตสูง ได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม

1.ร้อยละ 60 ผู้เข้าร่วมโครงการมีความเชื่อความสามารถของตนเองในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพเพื่อควบคุมการเกิดโรคโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงเพิ่มขึ้น

0.00
2 2.ประชาชนกลุ่มเสี่ยง/กลุ่มป่วยที่ได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม มีผลการตรวจระดับน้ำตาลในเลือด/ระดับความดันโลหิต เปลี่ยนแปลงอยู่ในเกณฑ์ปกติ

2.ร้อยละ 60 ผู้เข้าร่วมโครงการมีพฤติกรรมการดูแลตนเองในเรื่องการรับประทานอาหาร การมีกิจกรรมทางกาย การจัดการความเครียด รับประทานยาหรือฉีดยา ดูแลและเผ้าระวังภาวะแทรกซ้อน
ได้ถูกต้องเพิ่มขึ้น

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 26,100.00 0 0.00
1 - 29 ก.พ. 67 กิจกรรมที่ 1 การสร้างแกนนำวิทยากรและการพัฒนาหลักสูตรเพื่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม 1.1 ประชุมชี้แจงโครงการฯแก่คณะทำงานและผู้เกี่ยวข้องเพื่อกำหนดเนื้อหา กำหนดการประชุมเชิงปฏิบัติการฯ การพิจารณากลุ่มเป้าหมาย และชี้แจงวัตถุประสงค์ของการดำเนินงาน 0 900.00 -
1 ก.พ. 67 - 30 ก.ย. 67 2ประชุมเชิงปฎิบัติการณ์ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในกลุ่มเสี่ยง กลุ่มป่วย 0 25,200.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ประชาชนกลุ่มเสี่ยงต่อโรคเบาหวาน/ความดันโลหิตสูง ได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมมีผลการตรวจระดับน้ำตาลในเลือด/ระดับความดันโลหิต เปลี่ยนแปลงอยู่ในเกณฑ์ปกติ
  2. กลุ่มป่วยที่ไม่มีภาวะแทรกซ้อน สามารถควบคุมโรคได้ ลดอัตราการเกิดภาวะแทรกซ้อน
  3. มีเครือข่าย/แกนนำด้านสุขภาพในชุมชน
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 27 ธ.ค. 2566 00:00 น.