กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลโคกม่วง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านท่าควาย ปีงบประมาณ 2567

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลโคกม่วง

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านท่าควาย หมู่ที่ 5 ตำบลโคกม่วง อำเภอเขาชัยสน จังหวัดพัทลุง

หมู่บ้าน โรงเรียน วัด และ ศพด. ในพื้นที่รับผิดชอบของ รพ.สต. บ้านท่าควาย

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 จากรายงานทางระบาดวิทยา 5 ปีย้อนหลัง ปี พ.ศ. 2562 - 2566 มีรายงานอัตราป่วย เท่ากับ 72.43, 35.95, 35.12, 0.00 และ 338.63 ต่อประชากรแสนคน

 

35.95

สถานการณ์โรคไข้เลือดออกในพื้นที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านท่าควาย จากรายงานทางระบาดวิทยา 5 ปีย้อนหลัง พบว่า ปี พ.ศ. 2562 - 2566 มีรายงานอัตราป่วย เท่ากับ 72.43, 35.95, 35.12, 0.00 และ 338.63 ต่อประชากรแสนคน ตามลำดับ โดยพบว่าทุกปีไม่มีผู้ป่วยตาย จะเห็นได้ว่าสถานการณ์ทางระบาดวิทยาของโรคไข้เลือดออกมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นจากค่ามัธยฐาน 5 ปีย้อนหลัง แสดงให้เห็นว่าโรคไข้เลือดออกยังระบาดอยู่ โดยเฉพาะในปี 2566 อัตราป่วยเพิ่มขึ้นเป็น 8.40 เท่า ซึ่งปัญหาดังกล่าวถือว่ามีผลกระทบร้ายแรงต่อสภาวะสุขภาพของประชาชนในชุมชน

จากหลักการและเหตุผลดังกล่าว การป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออก จะต้องดำเนินการตั้งแต่ก่อนการเกิดโรค เมื่อเกิดโรค และหลังจากเกิดโรคนั้น มีความจำเป็นอย่างยิ่ง โดยต้องดำเนินการอย่างครอบคลุม ต่อเนื่อง มีประสิทธิภาพ และทันเวลา ทั้งในการควบคุมแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย การให้ความรู้แก่ประชาชน การพ่นเคมีเพื่อทำลายยุงลายตัวเต็มวัย การสนับสนุนให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออก โดยการสร้างความร่วมมือกันในทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ให้มีส่วนร่วมในการดำเนินงาน ซึ่งจะทำให้การป้องกัน ควบคุมโรคไข้เลือดออกของเขตพื้นที่ รพ.สต. บ้านท่าควาย สามารถดำเนินการได้อย่างต่อเนื่อง และมีประสิทธิภาพต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อสำรวจและทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย

อัตราครัวเรือนมีการสำรวจและทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย

90.00 90.00
2 เพื่อลดอัตราป่วยโรคไข้เลือดออก

อัตราป่วยโรคไข้เลือดออกลดลงของ ค่ามัธยฐานของอัตราป่วยย้อนหลัง 5 ปี

-8.40 20.00
3 เพื่อควบคุมการระบาดของโรคไม่ให้เกิดการระบาดซ้ำ

อัตราหมู่บ้านที่เกิดโรคไข้เลือดออกไม่มีการระบาดซ้ำ (Second Generation Case)

100.00 100.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 830
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 17/01/2024

กำหนดเสร็จ 30/09/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ขั้นเตรียมการ

ชื่อกิจกรรม
ขั้นเตรียมการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.1 วิเคราะห์สถานการณ์ของโรค และสาเหตุของปัญหา

1.2 จัดทำโครงการเสนอกองทุนระบบหลักประกันสุขภาพตำบลโคกม่วง

1.3 ประชาสัมพันธ์โครงการให้เครือข่ายได้รับทราบ ได้แก่ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ผู้นำชุมชน หมู่บ้าน โรงเรียน วัด ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 2 ประชุมแกนนำอสม. และคณะกรรมการทีม SRRT เครือข่ายหมู่บ้านในการป้องกันควบคุมโรคและภัยสุขภาพ จำนวน 50 คน

ชื่อกิจกรรม
ประชุมแกนนำอสม. และคณะกรรมการทีม SRRT เครือข่ายหมู่บ้านในการป้องกันควบคุมโรคและภัยสุขภาพ จำนวน 50 คน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

2.1 บทบาทของคณะกรรมการทีม SRRT เครือข่ายตำบลในการป้องกันควบคุมโรคและภัยสุขภาพ

2.2 เตรียมความพร้อมในการดำเนินการควบคุม ป้องกัน เฝ้าระวังโรคภัยในชุมชน

2.3 การแจ้งข่าวการระบาด เหตุการณ์ผิดปกติทางด้านสาธารณสุข

2.4 การรายงานโรคและส่งรายงาน การตรวจสอบข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูล แจ้งข่าวการระบาด การสอบสวน และควบคุมโรค

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมรณรงค์ป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก โดยมีการสำรวจและทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย พร้อมทั้งแจกทรายอะเบท

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมรณรงค์ป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก โดยมีการสำรวจและทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย พร้อมทั้งแจกทรายอะเบท
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าทรายอะเบทแบบซองชา ขนาด 25 กิโลกรัม 2 ถังๆ ละ 5,000 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
10000.00

กิจกรรมที่ 4 กิจกรรมประเมินลูกน้ำยุงลายในชุมชน

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมประเมินลูกน้ำยุงลายในชุมชน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

4.1 ปฏิบัติงานประเมินลูกน้ำยุงลายในหมู่บ้าน โรงเรียน ศพด. วัด โดยเครือข่าย อสม. และ แกนนำนักเรียน

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 5 สรุปผลการดำเนินกิจกรรมและคืนข้อมูลให้กับชุมชน

ชื่อกิจกรรม
สรุปผลการดำเนินกิจกรรมและคืนข้อมูลให้กับชุมชน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

5.1 การสุรปผลการดำเนินโครงการ และนำเสนอผลงานในที่ประชุมของชมรม อสม.

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 10,000.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. จำนวนผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกลดลง และไม่มีการระบาดซ้ำ (Second Generation Case)

2. ประชาชนเขตพื้นที่รพ.สต. บ้านท่าควาย มีความรู้ ความเข้าใจ และในการป้องกัน และควบคุมโรคไข้เลือดออก

3. มีความร่วมมือระหว่างเทศบาลตำบล อสม. ประชาชน และหน่วยงานสาธารณสุขในการเฝ้าระวังโรคไข้เลือดออก


>