กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านท่าควาย ปีงบประมาณ 2567
รหัสโครงการ 67-L3312-1-06
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านท่าควาย
วันที่อนุมัติ 17 มกราคม 2567
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 17 มกราคม 2567 - 30 กันยายน 2567
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2567
งบประมาณ 10,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายภานุวัฒน์ พรหมสังคหะ
พี่เลี้ยงโครงการ นางวาลัยพร ด้วงคง
พื้นที่ดำเนินการ พื้นที่ รพ.สต.บ้านท่าควาย
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 830 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 จากรายงานทางระบาดวิทยา 5 ปีย้อนหลัง ปี พ.ศ. 2562 - 2566 มีรายงานอัตราป่วย เท่ากับ 72.43, 35.95, 35.12, 0.00 และ 338.63 ต่อประชากรแสนคน
35.95

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

สถานการณ์โรคไข้เลือดออกในพื้นที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านท่าควาย จากรายงานทางระบาดวิทยา 5 ปีย้อนหลัง พบว่า ปี พ.ศ. 2562 - 2566 มีรายงานอัตราป่วย เท่ากับ 72.43, 35.95, 35.12, 0.00 และ 338.63 ต่อประชากรแสนคน ตามลำดับ โดยพบว่าทุกปีไม่มีผู้ป่วยตาย จะเห็นได้ว่าสถานการณ์ทางระบาดวิทยาของโรคไข้เลือดออกมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นจากค่ามัธยฐาน 5 ปีย้อนหลัง แสดงให้เห็นว่าโรคไข้เลือดออกยังระบาดอยู่ โดยเฉพาะในปี 2566 อัตราป่วยเพิ่มขึ้นเป็น 8.40 เท่า ซึ่งปัญหาดังกล่าวถือว่ามีผลกระทบร้ายแรงต่อสภาวะสุขภาพของประชาชนในชุมชน

จากหลักการและเหตุผลดังกล่าว การป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออก จะต้องดำเนินการตั้งแต่ก่อนการเกิดโรค เมื่อเกิดโรค และหลังจากเกิดโรคนั้น มีความจำเป็นอย่างยิ่ง โดยต้องดำเนินการอย่างครอบคลุม ต่อเนื่อง มีประสิทธิภาพ และทันเวลา ทั้งในการควบคุมแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย การให้ความรู้แก่ประชาชน การพ่นเคมีเพื่อทำลายยุงลายตัวเต็มวัย การสนับสนุนให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออก โดยการสร้างความร่วมมือกันในทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ให้มีส่วนร่วมในการดำเนินงาน ซึ่งจะทำให้การป้องกัน ควบคุมโรคไข้เลือดออกของเขตพื้นที่ รพ.สต. บ้านท่าควาย สามารถดำเนินการได้อย่างต่อเนื่อง และมีประสิทธิภาพต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อสำรวจและทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย

อัตราครัวเรือนมีการสำรวจและทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย

90.00 90.00
2 เพื่อลดอัตราป่วยโรคไข้เลือดออก

อัตราป่วยโรคไข้เลือดออกลดลงของ ค่ามัธยฐานของอัตราป่วยย้อนหลัง 5 ปี

-8.40 20.00
3 เพื่อควบคุมการระบาดของโรคไม่ให้เกิดการระบาดซ้ำ

อัตราหมู่บ้านที่เกิดโรคไข้เลือดออกไม่มีการระบาดซ้ำ (Second Generation Case)

100.00 100.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 10,000.00 0 0.00
??/??/???? ขั้นเตรียมการ 0 0.00 -
??/??/???? ประชุมแกนนำอสม. และคณะกรรมการทีม SRRT เครือข่ายหมู่บ้านในการป้องกันควบคุมโรคและภัยสุขภาพ จำนวน 50 คน 0 0.00 -
??/??/???? กิจกรรมรณรงค์ป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก โดยมีการสำรวจและทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย พร้อมทั้งแจกทรายอะเบท 0 10,000.00 -
??/??/???? กิจกรรมประเมินลูกน้ำยุงลายในชุมชน 0 0.00 -
??/??/???? สรุปผลการดำเนินกิจกรรมและคืนข้อมูลให้กับชุมชน 0 0.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. จำนวนผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกลดลง และไม่มีการระบาดซ้ำ (Second Generation Case)

  2. ประชาชนเขตพื้นที่รพ.สต. บ้านท่าควาย มีความรู้ ความเข้าใจ และในการป้องกัน และควบคุมโรคไข้เลือดออก

  3. มีความร่วมมือระหว่างเทศบาลตำบล อสม. ประชาชน และหน่วยงานสาธารณสุขในการเฝ้าระวังโรคไข้เลือดออก

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 1 ม.ค. 2567 09:22 น.