กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลคลองขุด

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ เพื่อป้องกัน ลด ละ เลิก บุหรี่ สุรา ยาเสพติด ตำบลคลองขุด ปี 2567

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลคลองขุด

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลคลองขุด (สาขา)

ชื่อองค์กร......โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลคลองขุด (สาขา)............................
1. นางสาวบุปผาพนมคุณหัวหน้าหน่วยบริการ 090-0743814
2. นางกรรณิการ์ปานทอง พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ 086-9609808
3. นางสาวปิยวรรณแสงทอง พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ 062-6464052
4. นางสาววินีตา ประทีปวัฒนพันธ์พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ 063-5366514
5. นางสาวอาภาสูสันนักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ 084-3009446

หมู่ 3,4,7 ตำบลคลองขุด

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานสุรา , แผนงานยาสูบ , แผนงานสิ่งเสพติด

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของเด็กและเยาวชน อายุ 15- 25 ปี ในชุมชน

 

34.21
2 ร้อยละของการสูบยาสูบในเด็กและเยาวชนอายุ 15- 25 ปี ในชุมชน

 

46.27
3 ร้อยละของเด็กและเยาวชน อายุ 15-25 ปีในชุมชน ที่เสี่ยงต่อการใช้สารเสพติด

 

12.15

ประชาชนที่มีสุขภาพดีเป็นปัจจัยสำคัญในการพัฒนาประเทศให้มั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน การพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพบุคคลและชุมชนจึงเป็นจุดยุทธศาสตร์ของการพัฒนาประเทศ และสุขภาวะทั้งทางกาย ทางจิต ทางสังคม และทางปัญญาจึงบูรณาการอยู่ในการพัฒนามนุษย์และสังคมทั้งหมด ซึ่งต้องสัมพันธ์และเชื่อมโยงกันทั้งมวลเป็นองค์รวมอย่างสมดุล การเปลี่ยนแปลงในสถานการณ์ทางเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรมและการเมือง ที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว ทั้งภายในประเทศ ภายนอกประเทศ และระหว่างประเทศ รวมถึงมีลักษณะที่แปรผันไปตามบริบทของแต่ละพื้นที่ การกระจายความรับผิดชอบในการพัฒนาสู่ระดับท้องถิ่นและชุมชน จึงจำเป็นต้องเร่งรัดให้เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม มีระบบ และมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายทั้งภาครัฐ เอกชน ประชาสังคม และชุมชน โดยให้สามารถสนองตอบต่อปัญหาและความจำเป็นที่แท้จริงของประชากรและชุมชนและคำนึงถึงปัจจัยดำรงความยั่งยืนของการพัฒนาและการพึ่งตนเองของบุคคลและชุมชนด้วย
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลคลองขุด (สาขา) ที่มีหน้าที่ริเริ่ม ผลักดัน กระตุ้น สนับสนุน และร่วมกับหน่วยงานต่างๆ ในสังคม ในการขับเคลื่อนกระบวนการสร้างเสริมสุขภาพ เพื่อให้คนไทยมีสุขภาพดีครบ 4 ด้าน กาย จิต ปัญญา สังคม และร่วมสร้างประเทศไทยให้น่าอยู่ โดยมีพันธกิจในการจุดประกาย กระตุ้น สาน และเสริมพลังบุคคล และองค์กรทุกภาคส่วน ให้มีขีดความสามารถและสร้างสรรค์ระบบสังคมที่เอื้อต่อการมีสุขภาวะการพัฒนาแนวทางการสร้างเสริมสุขภาวะบุคคลและชุมชนเพื่อลดผลกระทบและปัจจัยกำหนดสุขภาพที่สำคัญจำเป็นต้องมีการปรับเปลี่ยน (ปฏิรูป) เชื่อมโยงอย่างบูรณาการ และร่วมมือร่วมใจกันหลายภาคส่วน บนฐานทุนมนุษย์ ทุนทางสังคม การเรียนรู้ร่วมกัน การแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารระหว่างกัน สอดคล้องกับหลักการเชิงวิชาการ และสอดคล้องกับกลไกการพัฒนาที่รัฐบาลได้จัดตั้งคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ (พชอ) เพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาคุณภาพชีวิตในระดับพื้นที่ที่อยู่ใกล้ชิดกับประชาชน เกิดการบูรณาการเป้าหมาย ทิศทางและยุทธศาสตร์ร่วมกันระหว่างหน่วยงานของรัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชนอย่างเป็นองค์รวม เน้นการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน โดยมีพื้นที่เป็นฐานและประชาชนเป็นศูนย์กลาง มีความเป็นเจ้าของและภาวะการนำร่วมกัน โดยบูรณาการและประสานความร่วมมือ นำไปสู่การสร้างเสริมให้บุคคล ครอบครัว และชุมชน มีสุขภาวะทางกาย จิต และสังคมเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีและเกิดความยั่งยืน
การพัฒนาชุมชนสุขภาวะและโรงเรียนสุขภาวะ ในประเด็นโรคไม่ติดต่อ บุหรี่ สุรา ยาเสพติด พฤติกรรมการบริโภค และการออกกำลังกาย โดยดำเนินการในพื้นที่ หมู่ที่ ๓,๔,๗ ตำบลคลองขุด อำเภอเมือง จังหวัดสตูล คือ การทำงานใช้กลไกการมีส่วนร่วมของ พชอ. เป็นแนวทางที่นำไปสู่การบูรณาการการทำงานร่วมกับภาคีเครือข่ายที่ทำงานในระบบ รวมถึงการประสานงานในส่วนของภาคีเครือข่ายที่มีอยู่ในพื้นที่ตำบลคลองขุด เพื่อประสานความร่วมมือในการออกแบบ การดำเนินกิจกรรม และการระดมทรัพยากรการดำเนินการร่วมกับภาคีเครือข่ายในพื้นที่ โดย “โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ เพื่อป้องกัน ลด ละ เลิก บุหรี่ สุรา ยาเสพติด ตำบลคลองขุด ปี2567” เป็นส่วนหนึ่งที่สำคัญต่อความสำเร็จของโครงการข้างต้นที่มีบทบาทในการช่วยป้องกันและส่งเสริมสุขภาวะในตำบลคลองขุดในประเด็น บุหรี่ สุรา และยาเสพติด
ดังนั้นทางโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลคลองขุด(สาขา) อำเภอเมืองสตูล จังหวัดสตูล จึงได้จัดทำโครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ เพื่อป้องกัน ลด ละ เลิก บุหรี่ สุรา ยาเสพติด ขึ้นเพื่อให้กลุ่มเป้าหมายกลุ่มเสี่ยงได้มีความรู้ ความเข้าใจและตระหนักถึงความสำคัญในการป้องกัน ลด ละ เลิก บุหรี่ สุรา ยาเสพติด และช่วยกันสร้างกระแสสังคมให้เกิดการรับรู้ เกิดความตื่นตัว และสร้างพื้นที่ปลอดภัยให้เกิดขึ้นในชุมชน และโรงเรียน

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อลดการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของเด็กและเยาวชน อายุ 15-25 ปี ในชุมชน

ร้อยละการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของเด็กและเยาวชน อายุ 15- 25 ปี ในชุมชน

34.21 33.18
2 เพื่อลดการสูบยาสูบในเด็กและเยาวชนอายุ 15- 25 ปี ในชุมชน

ร้อยละของการสูบยาสูบในเด็กและเยาวชนอายุ 15- 25 ปี ในชุมชน

46.27 45.14
3 เพื่อลดเด็กและเยาวชน อายุ 15-25 ปีในชุมชน ที่เสี่ยงต่อการใช้สารเสพติด

ร้อยละของเด็กและเยาวชน อายุ 15-25 ปีในชุมชน ที่เสี่ยงต่อการใช้สารเสพติด

12.15 11.84

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/01/2024

กำหนดเสร็จ 30/09/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมอบรมให้ความรู้ ความเข้าใจ และตระหนักถึงความสำคัญในการป้องกัน ลด ละ เลิก บุหรี่ สุรา ยาเสพติด

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมอบรมให้ความรู้ ความเข้าใจ และตระหนักถึงความสำคัญในการป้องกัน ลด ละ เลิก บุหรี่ สุรา ยาเสพติด
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1..ประชุมรวบรวมข้อมูลจำนวนประชาชน หมู่ 3,4,7  ตำบลคลองขุด อำเภอเมือง จังหวัดสตูล วางแผนและดำเนินงาน เชิงรุกในชุมชน และในโรงเรียนในเขตพื้นที่รับผิดชอบ โดยแบ่งพื้นที่ในการออกเผยแพร่ ประชาสัมพันธ์ และเชิญชวนกลุ่มเป้าหมายที่สนใจเข้าร่วมโครงการ ตามเขตรับผิดชอบเป็นรายหมู่บ้าน
2.จัดกิจกรรมอบรมให้ความรู้ ความเข้าใจ  และตระหนักถึงความสำคัญในการป้องกัน ลด ละ เลิก บุหรี่ สุรา ยาเสพติด และช่วยกันสร้างกระแสสังคมให้เกิดการรับรู้ เกิดความตื่นตัว และสร้างพื้นที่ปลอดภัยให้เกิดขึ้นในชุมชน และโรงเรียน แกนนำกลุ่มเป้าหมาย จำนวน 2 วัน วันละ 68 คน และ 69 คน รวมเป็น 137 คน 3.คืนข้อมูลให้ชุมชน หมู่ 3,4,7  ตำบลคลองขุด อำเภอเมือง จังหวัดสตูล

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มกราคม 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.ประชาชน หมู่ 3,4,7 ตำบลคลองขุด มีความรู้ ความเข้าใจ  และตระหนักถึงความสำคัญในการป้องกัน ลด ละ เลิก บุหรี่ สุรา ยาเสพติด
2.ประชาชนใน หมู่ 3,4,7 ตำบลคลองขุด มีพฤติกรรมที่ดีขึ้นในประเด็น บุหรี่ สุรา และยาเสพติด

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
25010.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 25,010.00 บาท

หมายเหตุ :
งบประมาณต่าง ๆ สามารถถัวจ่ายกันได้ตามการจ่ายจริง กิจกรรมสถานที่และเวลา สามารถเปลี่ยนแปลงได้ตามความเหมาะสม

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

ผลผลิต
1.ประชาชน หมู่ 3,4,7 ตำบลคลองขุด มีความรู้ ความเข้าใจและตระหนักถึงความสำคัญในการป้องกัน ลด ละ เลิก บุหรี่ สุรา ยาเสพติด
2.ประชาชนใน หมู่ 3,4,7 ตำบลคลองขุด มีพฤติกรรมที่ดีขึ้นในประเด็น บุหรี่ สุรา และยาเสพติด
ผลลัพธ์
ประชาชน หมู่ 3,4,7 ตำบลคลองขุด มีความรู้ ความเข้าใจและตระหนักถึงความสำคัญในการป้องกัน ลด ละ เลิก บุหรี่ สุรา ยาเสพติด และช่วยกันสร้างกระแสสังคมให้เกิดการรับรู้ เกิดความตื่นตัว และสร้างพื้นที่ปลอดภัยให้เกิดขึ้นในชุมชน และโรงเรียน เกิดบุคคลต้นแบบในการลด ละเลิก บุหรี่ สุราและยาเสพติด เพิ่มขึ้นในชุมชน


>