กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการนักเรียนเทศบาลโก-ลกเหาไม่มี สุขอนามัยดี ชีวีมีสุข ประจำปี 2567

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก

กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก

นางสาวพนิดา รัตนสุริยา พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ

โรงเรียนเทศบาล 1- 4 เทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

โรคเหาเป็นปัญหาสาธารณสุขทั่วโลก แต่เหาที่พบบ่อยในเด็กวัย 3-12 ปี คือ เหาศีรษะซึ่งเหาเป็นปรสิตภายนอกที่อาศัยอยู่บนศีรษะของมนุษย์ โดยวงจรชีวิตของเหาศีรษะจะอยู่บนศีรษะของมนุษย์ตลอดชีวิตของมัน โดยจะดูดกินเลือดของโฮสต์เป็นอาหาร โรคเหาจะตรวจพบไข่เหาที่เส้นผมบริเวณท้ายทอยและหลังหู โดยมีอาการคันศีรษะ บางรายอาจไม่แสดงอาการ ส่วนภาวะแทรกซ้อนที่พบได้จากการติดเชื้อเหา ได้แก่ การติดเชื้อแบคทีเรียซ้ําซ้อน ตุ่มหนองที่บริเวณศีรษะ (อรจุฑา ชยางศุ, 2562) เด็กที่เป็นเหาจะมีอาการคันมาก อาจเกาจนหนังศีรษะถลอก อักเสบ และเป็นแผลติดเชื้อได้ นอกจากนี้ยังทำให้เด็กเสียสมาธิในการเรียน บางรายจะมีอาการคันศีรษะมาก และพบตัวเหาและไข่เหาซึ่งเห็นเป็นจุดขาว ๆ ติดอยู่บนบริเวณโคนผมและเส้นผม บางรายอาจมีอาการคันมากตอนกลางคืน จนนอนหลับพักผ่อนไม่เพียงพอ เหาทำให้เกิดแผลที่หนังศีรษะเนื่องจากการเกาเพื่อลดอาการคัน ซึ่งทำให้เกิดการติดเชื้อแบคทีเรียได้
ลักษณะการติดต่อของเหาในเด็กนักเรียนเกิดได้ทั้งทางตรงและทางอ้อมการติดต่อโดยตรงจากคนหนึ่งสู่อีกคนหนึ่งเมื่อนักเรียนอยู่ใกลาชิดกัน (Direct fomite transmission)หรือการติดต่อกันโดยทางอ้อมผ่านการใช้หวี ไดร์เป่าผม หมวก หรือหมอนร่วมกัน (Indirectfomite transmission) ซึ่งการรักษาโรคเหาในปัจจุบัน สามารถใช้ยาฆ่าเหาแบบทา ซึ่งมีประสิทธิภาพที่ค่อนข้างดี โดยทาลงบนผมที่แห้งให้ทั่วศีรษะ ทิ้งไว้ 10 นาที ล้างออกด้วยน้ำสะอาด อาจทำซ้ำเมื่อครบ 1 สัปดาห์
ซึ่งจากการตรวจสุขภาพเด็กนักเรียนชั้น ป.1-4 ประจำปีการศึกษา 2566 จำนวนทั้งหมด 865 คน พบว่ามีนักเรียนที่เป็นเหา จำนวน 129 คน (ผู้ชาย 1 คน ผู้หญิง 128 คน) คิดเป็นร้อยละ 15 กองสาธารสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก จึงเห็นความสำคัญที่ต้องกำจัดเหาให้แก่นักเรียนในโรงเรียน และให้สุขศึกษาแก่นักเรียนเพื่อสุขภาอนามัยที่แข็งแรง จึงได้จัดทำโครงการนักเรียนเทศบาลโก-ลกเหาไม่มี สุขอนามัยดี ชีวีมีสุข ประจำปี 2567 ขึ้นเพื่อรณรงค์กำจัดโรคเหาในนักเรียน โดยมุ่งหวังให้นักเรียนกลุ่มเป้าหมายเห็นความสำคัญของการดูแลรักษาความสะอาดของร่างกายและศีรษะ ที่จะช่วยป้องกันโรคเหาและลดการแพร่ระบาดของโรคเหาต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อส่งเสริมให้นักเรียนมีความรู้เรื่องโรคเหา การป้องกันและมีพฤติกรรมของสุขภาพอนามัยที่ถูกต้อง

ร้อยละของนักเรียนมีความรู้เรื่องโรคเหา การป้องกันและมีพฤติกรรมของสุขภาพอนามัยที่ถูกต้อง

60.00 80.00
2 เพื่อให้นักเรียนที่เป็นเหาได้รับการกำจัดเหาที่โรงเรียน

ร้อยละของนักเรียนที่เป็นเหาได้รับการกำจัดเหาที่โรงเรียน

100.00 80.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 129
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/02/2024

กำหนดเสร็จ 31/03/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 เหาหาย สบายหัว

ชื่อกิจกรรม
เหาหาย สบายหัว
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กลุ่มเป้าหมาย
- นักเรียนโรงเรียนเทศบาล 1 - 4 ที่เป็นเหา 129 คน
- คณะทำงาน 10 คน
รายละเอียดกิจกรรม
- ประสานหน่วยงานสาธารณสุขในพื้นที่ที่รับผิดชอบเข้าร่วมกิจกรรม ประสานโรงเรียนกลุ่มเป้าหมาย
- จัดกิจกรรมอบรมให้ความรู้ และกิจกรรมกำจัดเหาให้แก่นักเรียนที่เป็นเหา รุ่นละครึ่งวัน โดยมีกำหนดการ ดังนี้
รุ่นที่ 1 โรงเรียนเทศบาล 1 กลุ่มเป้าหมาย 32 คน
รุ่นที่ 2 โรงเรียนเทศบาล 2 กลุ่มเป้าหมาย 7 คน
รุ่นที่ 3 โรงเรียนเทศบาล 3 กลุ่มเป้าหมาย 63 คน (จัดครึ่งวัน จำนวน 2 วัน)
รุ่นที่ 4 โรงเรียนเทศบาล 4 กลุ่มเป้าหมาย 27 คน
13.00 - 13.30 น. ลงทะเบียน/เปิดโครงการ
13.30 - 14.30 น. อบรมให้ความรู้เรื่องโรคเหา การป้องกันโรคเหา และการดูแลสุขอนามัยส่วนบุคคล
14.30 - 16.30 น. กิจกรรมกำจัดเหาให้แก่นักเรียน
งบประมาณ
- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม (กลุ่มเป้าหมาย) 30 บาท x 129 คน x 1 มื้อ เป็นเงิน 3,870 บาท
- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม (คณะทำงาน) 30 บาท x 10 คน x 1 มื้อ x 5 วัน เป็นเงิน 1,500 บาท
- ค่าวัสดุอุปกรณ์ในการกำจัดเหา ได้แก่ หวีเสนียด ถุงมือยาง หมวกตัวหนอน ผ้าขนหนู น้ำยาสระผม เป็นเงิน 15,000บาท
- ค่าป้ายโครงการ 1,200 บาท
- ค่าวัสดุอุปกรณ์ในการอบรม ได้แก่ สมุด ปากกา แฟ้ม เป็นต้น เป็นเงิน 5,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กุมภาพันธ์ 2567 ถึง 31 มีนาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

เด็กนักเรียนมีความรู้เรื่องโรคเหาและการป้องกันโรคเหา และการมีพฤติกรรมสุขภาพที่เหมาะสม ไม่กลับมาเป็นเหาซ้ำ
เด็กนักเรียนที่เป็นเหาได้รับการกำจัดเหาที่โรงเรียน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
26570.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 26,570.00 บาท

หมายเหตุ :
สามารถถัวเฉลี่ยได้ทุกรายการ

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. นักเรียนมีความรู้เรื่องโรคเหา การป้องกันและมีพฤติกรรมของสุขภาพอนามัยที่ถูกต้อง
2. นักเรียนที่เป็นเหาได้รับการกำจัดเหาที่โรงเรียน


>