กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการนักเรียนเทศบาลโก-ลกเหาไม่มี สุขอนามัยดี ชีวีมีสุข ประจำปี 2567
รหัสโครงการ 67-L6961-1-12
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก
วันที่อนุมัติ 29 มกราคม 2567
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กุมภาพันธ์ 2567 - 31 มีนาคม 2567
กำหนดวันส่งรายงาน 30 เมษายน 2567
งบประมาณ 26,570.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวพนิดา รัตนสุริยา
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลสุไหงโก-ลก อำเภอสุไหง-โกลก จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 129 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

ระบุ

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคเหาเป็นปัญหาสาธารณสุขทั่วโลก แต่เหาที่พบบ่อยในเด็กวัย 3-12 ปี คือ เหาศีรษะซึ่งเหาเป็นปรสิตภายนอกที่อาศัยอยู่บนศีรษะของมนุษย์ โดยวงจรชีวิตของเหาศีรษะจะอยู่บนศีรษะของมนุษย์ตลอดชีวิตของมัน โดยจะดูดกินเลือดของโฮสต์เป็นอาหาร โรคเหาจะตรวจพบไข่เหาที่เส้นผมบริเวณท้ายทอยและหลังหู โดยมีอาการคันศีรษะ บางรายอาจไม่แสดงอาการ ส่วนภาวะแทรกซ้อนที่พบได้จากการติดเชื้อเหา ได้แก่ การติดเชื้อแบคทีเรียซ้ําซ้อน ตุ่มหนองที่บริเวณศีรษะ (อรจุฑา ชยางศุ, 2562) เด็กที่เป็นเหาจะมีอาการคันมาก อาจเกาจนหนังศีรษะถลอก อักเสบ และเป็นแผลติดเชื้อได้ นอกจากนี้ยังทำให้เด็กเสียสมาธิในการเรียน บางรายจะมีอาการคันศีรษะมาก และพบตัวเหาและไข่เหาซึ่งเห็นเป็นจุดขาว ๆ ติดอยู่บนบริเวณโคนผมและเส้นผม บางรายอาจมีอาการคันมากตอนกลางคืน จนนอนหลับพักผ่อนไม่เพียงพอ เหาทำให้เกิดแผลที่หนังศีรษะเนื่องจากการเกาเพื่อลดอาการคัน ซึ่งทำให้เกิดการติดเชื้อแบคทีเรียได้
ลักษณะการติดต่อของเหาในเด็กนักเรียนเกิดได้ทั้งทางตรงและทางอ้อมการติดต่อโดยตรงจากคนหนึ่งสู่อีกคนหนึ่งเมื่อนักเรียนอยู่ใกลาชิดกัน (Direct fomite transmission)หรือการติดต่อกันโดยทางอ้อมผ่านการใช้หวี ไดร์เป่าผม หมวก หรือหมอนร่วมกัน (Indirectfomite transmission) ซึ่งการรักษาโรคเหาในปัจจุบัน สามารถใช้ยาฆ่าเหาแบบทา ซึ่งมีประสิทธิภาพที่ค่อนข้างดี โดยทาลงบนผมที่แห้งให้ทั่วศีรษะ ทิ้งไว้ 10 นาที ล้างออกด้วยน้ำสะอาด อาจทำซ้ำเมื่อครบ 1 สัปดาห์
ซึ่งจากการตรวจสุขภาพเด็กนักเรียนชั้น ป.1-4 ประจำปีการศึกษา 2566 จำนวนทั้งหมด 865 คน พบว่ามีนักเรียนที่เป็นเหา จำนวน 129 คน (ผู้ชาย 1 คน ผู้หญิง 128 คน) คิดเป็นร้อยละ 15 กองสาธารสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก จึงเห็นความสำคัญที่ต้องกำจัดเหาให้แก่นักเรียนในโรงเรียน และให้สุขศึกษาแก่นักเรียนเพื่อสุขภาอนามัยที่แข็งแรง จึงได้จัดทำโครงการนักเรียนเทศบาลโก-ลกเหาไม่มี สุขอนามัยดี ชีวีมีสุข ประจำปี 2567 ขึ้นเพื่อรณรงค์กำจัดโรคเหาในนักเรียน โดยมุ่งหวังให้นักเรียนกลุ่มเป้าหมายเห็นความสำคัญของการดูแลรักษาความสะอาดของร่างกายและศีรษะ ที่จะช่วยป้องกันโรคเหาและลดการแพร่ระบาดของโรคเหาต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อส่งเสริมให้นักเรียนมีความรู้เรื่องโรคเหา การป้องกันและมีพฤติกรรมของสุขภาพอนามัยที่ถูกต้อง

ร้อยละของนักเรียนมีความรู้เรื่องโรคเหา การป้องกันและมีพฤติกรรมของสุขภาพอนามัยที่ถูกต้อง

60.00 80.00
2 เพื่อให้นักเรียนที่เป็นเหาได้รับการกำจัดเหาที่โรงเรียน

ร้อยละของนักเรียนที่เป็นเหาได้รับการกำจัดเหาที่โรงเรียน

100.00 80.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 26,570.00 0 0.00
1 ก.พ. 67 - 31 มี.ค. 67 เหาหาย สบายหัว 0 26,570.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. นักเรียนมีความรู้เรื่องโรคเหา การป้องกันและมีพฤติกรรมของสุขภาพอนามัยที่ถูกต้อง
  2. นักเรียนที่เป็นเหาได้รับการกำจัดเหาที่โรงเรียน
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 2 ม.ค. 2567 00:00 น.