กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลเมืองคอหงส์

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการทำปุ๋ยหมักในเข่งย่อยสลายด้วยจุลินทรีย์ท้องถิ่น เพื่อสุขภาพที่ดีและปลอดภัย

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลเมืองคอหงส์

งานศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร ฝ่ายส่งเสริมและพัฒนาอาชีพ กองสวัสดิการสังคม เทศบาลเมืองคอหงส์

นายรวี ไกรมุ่ย ตำแหน่ง นักวิชาการเกษตรชำนาญการ

ตำบลคอหงส์ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานมลพิษจากสิ่งแวดล้อม

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของชุมชนสามารถจัดการขยะอินทรีย์ได้ถูกต้อง

 

0.00

จากปัญหาสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นในชุมชน ซึ่งมีต้นทางมาจากขยะครัวเรือนเป็นส่วนใหญ่ การจัดการขยะครัวเรือนโดยการพัฒนาเทคโนโลยีการต่างๆที่สามารถเปลี่ยนขยะให้มีมูลค่า และใช้ประโยชน์ทางการเกษตร จึงเป็นทางเลือกที่สามารถ
จัดการขยะให้ยั่งยืน เป็นแนวทางการแก้ไขปัญหาจากต้นทางในศาสตร์เกษตรธรรมชาติ จุลินทรีย์ท้องถิ่น หรือ IMO (Indigenous Microorganism) ช่วยในการย่อยสลายทรีย์ที่มีอยู่ในดินทั้งบนผิวดินและใต้ดิน อีกทั้งช่วยในการกำจัดจุสินทรีย์ที่ก่อให้เกิดการเน่าเหม็นต่างๆ ดังนั้น ระบบจัดการขยะอินทรีย์เป็นปุยหมักที่ใช้การย่อยสลายจากจุลทรีย์ท้องถิ่น จึงเป็นการนำขยะอินทรีย์มาใช้ประโยชน์ใหม่ จึงช่วยลดปริมาณขยะอินทรีย์ได้

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่ออบรมให้ความรู้ เรื่อง การจัดการขยะอินทรีย์ประเภทวัสดุจากพืชครัวเรือนมิให้เป็นแหล่งเพาะพันธุ์เชื้อโรค

ร้อยละ 50 ของผู้เข้าร่วมโครงการสามารถจัดการขยะอินทรีย์ได้ถูกต้องเพิ่มขึ้น

0.00
2 เพื่อนำขยะอินทรีย์ประเภทวัสดุจากพืชในครัวเรือนมาทำปุ๋ยหมักอินทรีย์ เพื่อใช้ประโยชน์ในการปลูกพืชผักปลอดภัย สร้างการบริโภคที่ปลอดภัยในครัวเรือน และมีสุขภาพที่ดี

ร้อยละ 50 ของครัวเรือน มีการนำปุ๋ยอินทรีย์ที่ได้จากการหมักมาใช้ในการปลูกพืชผักปลอดภัย สร้างการบริโภคที่ปลอดภัย และมีสุขภาพที่ดีเพิ่มขึ้น

0.00
3 เพื่อลดปริมาณขยะครัวเรือน

ร้อยละ 50 ของครัวเรือนกลุ่มเป้าหมายมีขยะอินทรีย์ในครัวเรือนลดลง

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/04/2024

กำหนดเสร็จ 15/09/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมดำเนินการถ่ายทอดองค์ความรู้ และสนับสนุนปัจจัยการผลิตเข่งหมักปุ๋ย สำหรับกลุ่มเป้าหมายที่เป็นครัวเรือนต้นแบบชุมชน และสนับสนุนปัจจัยการผลิตพืชผักปลอดภัย

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมดำเนินการถ่ายทอดองค์ความรู้ และสนับสนุนปัจจัยการผลิตเข่งหมักปุ๋ย สำหรับกลุ่มเป้าหมายที่เป็นครัวเรือนต้นแบบชุมชน และสนับสนุนปัจจัยการผลิตพืชผักปลอดภัย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ดำเนินการถ่ายทอดองค์ความรู้ และสนับสนุนปัจจัยการผลิตเข่งหมักปุ๋ย สำหรับกลุ่มเป้าหมายที่เป็นครัวเรือนต้นแบบชุมชน และสนับสนุนปัจจัยการผลิตพืชผักปลอดภัย เพื่อนำไปทดลองปฏิบัติในพื้นที่ของตนเอง ให้แก่กลุ่มเป้าหมายโดยฝ่ายพัฒนาชุมชนดำเนินการกำหนดกลุ่มเป้าหมายตัวแทนครัวเรือนต้นแบบขยะปั้นปุ๋ย จำนวน 10 ชุมชน ๆ ละ 10 ครัวเรือน
  • ถ่ายทอดองค์ความรู้เรื่องการเก็บจุลินทรีย์ท้องถิ่นจากแหล่งธรรมชาติ เพื่อนำมาใช้ประโยชน์ในการทำปุ๋ยหมักในเข่ง (ฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ)
  • ถ่ายทอดองค์ความรู้เรื่อง การนำปุ๋ยหมักมาใช้ประโยชน์ในการผลิตผักปลอดภัย

ค่าใช้จ่าย
1. ค่าใบความรู้ จำนวน 100 ชุด x 50 บาท เป็นเงิน 5,000 บาท
2. ค่าป้ายไวนิล จำนวน 1 ผืน ขนาด 2.4 x 4.5 เมตร x 180 บาท เป็นเงิน 1,944 บาท
3. ค่าเข่งเบอร์ 1 จำนวน 100 ใบ x 220 บาท เป็นเงิน 22,000 บาท
4. ค่าวัสดุเก็บจุลินทรีย์ท้องถิ่น จำนวน 100 ชุด x 200 บาท เป็นเงิน 20,000 บาท
5. ค่าปุ๋ยคอก จำนวน 100 กระสอบ x 90 บาท เป็นเงิน 9,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
57944.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 57,944.00 บาท

หมายเหตุ :
ทุกรายการสามารถถัวเฉลี่ยได้

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ประชาชนที่เข้าร่วมโครงการสามารถนำองค์ความรู้ไปปฏิบัติในพื้นที่ของตนเอง เกิดระบบการจัดการขยะอินทรีย์เป็นปุ๋ยหมักนำมาใช้ประโยชน์ในการปลูกพืชผักปลอดภัย ช่วยลดแหล่งอาหารและลดการเพาะขยายพันธุ์ของสัตว์ที่เป็นพาหะนำโรค ช่วยตัดวงจรการระบาดของโรคระบาดในพื้นที่เทศบาลเมืองคอหงส์
2. ประชาชนมีองค์ความรู้ เรื่องการจัดการขยะอินทรีย์ในครัวเรือนด้วยนวัตกรรมและเทคโนโลยีจนสามารถนำไปปฏิบัติในครัวเรือนของตนเองได้
3. ประชาชนสามารถผลิตพืชอาหารปลอดภัยที่ส่งผลให้สุขภาพดี ช่วยลดความเจ็บป่วยที่เกิดจากการบริโภคอาหารที่มีการปนเปื้อนจากสารตกค้างที่ใช้ในการป้องกันและกำจัดศัตรูพืช
4. มีต้นแบบในการจัดการขยะครัวเรือนในแต่ละชุมชน ที่จะสามารถขยายผลไปยังครัวเรือนอื่นๆ ในพื้นที่เทศบาลเมืองคอหงส์ได้


>