กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการพัฒนาระบบการแพทย์ปฐมภูมิโดยเครือข่ายระบบสุขภาพคลินิกหมอครอบครัว โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านท่าควาย ปีงบประมาณ 2567

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลโคกม่วง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการพัฒนาระบบการแพทย์ปฐมภูมิโดยเครือข่ายระบบสุขภาพคลินิกหมอครอบครัว โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านท่าควาย ปีงบประมาณ 2567

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลโคกม่วง

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านท่าควาย

ในเขตพื้นที่รับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านท่าควาย

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 จำนวนผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง

 

37.00
2 จำนวนโรคหลอดเลือดหัวใจ

 

31.00
3 จำนวนผู้ป่วยโรคเบาหวาน

 

144.00
4 จำนวนผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง

 

307.00

สำนักงานเขตสุขภาพที่ ๑๒ มีนโยบายการพัฒนาระบบบริการสุขภาพปฐมภูมิ (Excellence Primary Care) ที่เชื่อมประสานกับการแผนพัฒนาระบบบริการ (Service Plan) และการใช้ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศด้านสาธารณสุข (Digital Health: Telemedicine, Teleconsult) โดยกำหนดตัวชี้วัดในการประเมินผลการดำเนินงานระบบสุขภาพปฐมภูมิเข้มแข็ง จำนวน ๖ ตัวชี้วัด ประกอบด้วย ๑) ผู้ป่วย DM รับยา ๓ ตัวที่ควบคุมไม่ได้ ได้รับคำปรึกษากับแพทย์เฉพาะทาง ร้อยละ ๘๐, ๒) ผู้ป่วย HT รับยา ๓ ตัวที่ควบคุมไม่ได้ ได้รับคำปรึกษากับแพทย์เฉพาะทาง ร้อยละ ๘๐, ๓) ผู้ป่วย Stroke เข้าถึงระบบบริการ Door to ER ภายใน ๖๐ นาที ร้อยละ ๘๐, ๔) ผู้ป่วย STEMI เข้าถึงระบบบริการ Door to ER ภายใน ๖๐ นาที ร้อยละ ๘๐ และการสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพของประชาชนในพื้นที่

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านท่าควาย จากการดำเนินงานเฝ้าระวังอาการของโรคหลอดเลือดสมอง และโรคหลอดเลือดหัวใจ พบผู้ป่วย จำนวน 37 ราย และ 31 ราย ตามลำดับ ผู้ป่วยโรคเบาหวาน และ โรคความดันโลหิตสูง จำนวน 144 ราย และ 307 ราย ตามลำดับจึงมีความจำเป็นจัดทำโครงพัฒนาระบบการแพทย์ปฐมภูมิโดยเครือข่ายระบบสุขภาพคลินิกหมอครอบครัว โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านท่าควาย ปีงบประมาณ 2567

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อพัฒนาศักยภาพทีมสามหมอในการวางแผนการดำเนินงานขับเคลื่อนระบบสุขภาพปฐมภูมิ

ร้อยละการขึ้นทะเบียนประชาชน (รายบุคคล) สามหมอรู้จักคุณ

60.00 80.00
2 เพื่อสร้างความรอบรู้ให้แก่ประชาชน โรค Stroke และ STEMI

ร้อยละผู้ที่มีอาการของโรค Stroke และ STEMI เข้ารับบริการที่ห้องฉุกเฉินโรงพยาบาล ภายใน 60 นาที

50.00 80.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 50
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]
กลุ่มเป้าหมายจำแนกเพิ่มเติม
กลุ่มเครือข่าย อสม. 78
ครัวเรือนในเขตรับผิดชอบ 850

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 17/01/2024

กำหนดเสร็จ 30/09/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 อบรมให้ความรู้เครือข่าย อสม. เรื่องการดำเนินงานในชุมชุม เกี่ยวกับการบูรณาการดูแลสุขภาพประชาชน ระบบ 3 หมอ

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้เครือข่าย อสม. เรื่องการดำเนินงานในชุมชุม เกี่ยวกับการบูรณาการดูแลสุขภาพประชาชน ระบบ 3 หมอ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กำหนดการอบรม

เวลา 13.00–15.00 น. - การส่งเสริมสุขภาพ การป้องกันโรค การรักษา การฟื้นฟู ในทุกกลุ่มวัย ในระบบ 3 หมอ

เวลา 15.00–15.10 น.พักรับประทานอาหารว่าง

เวลา 15.10–15.130 น. - ประเด็นถาม ตอบ / การวัดความรอบรู้

งบประมาณ

  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 78 คนๆ 1 มื้อๆ 25 บาท เป็นเงิน 1,950 บาท

  • ค่าวิทยากร จำนวน 1 ชั่วโมงๆ ละ 600 บาทเป็นเงิน 600 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
2550.00

กิจกรรมที่ 2 อบรมให้ความรู้เครือข่าย อสม. เรื่องการเฝ้าระวังอาการของโรคหลอดเลือดสมอง และโรคหลอดเลือดหัวใจ

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้เครือข่าย อสม. เรื่องการเฝ้าระวังอาการของโรคหลอดเลือดสมอง และโรคหลอดเลือดหัวใจ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กำหนดการอบรม

เวลา 13.00–15.00 น.- การเฝ้าระวังอาการของโรคหลอดเลือดสมอง และโรคหลอดเลือดหัวใจ- การช่วยเหลือผู้ป่วย และการส่งต่ออย่างทันเวลา

เวลา 15.00–15.10 น.พักรับประทานอาหารว่าง

เวลา 15.10–15.30 น. - ประเด็นถาม ตอบ / การวัดความรอบรู้

งบประมาณ

  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 78 คนๆ 1 มื้อๆ 25 บาท เป็นเงิน 1,950 บาท

  • ค่าวิทยากร จำนวน 1 ชั่วโมงๆ ละ 600 บาทเป็นเงิน 600 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
2550.00

กิจกรรมที่ 3 อบรมให้ความรู้ผู้ป่วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อควบคุมความดันโลหิต ระดับน้ำตาลในเลือด และลดภาวะแทรกซ้อน จำนวน 50 คน

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้ผู้ป่วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อควบคุมความดันโลหิต ระดับน้ำตาลในเลือด และลดภาวะแทรกซ้อน จำนวน 50 คน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กำหนดการอบรม ครั้งที่ 1 เดือน มีนาคม 2567

เวลา 13.00–14.00 น.- ความรู้เรื่องโรคเบาหวาน และความดันโลหิตสูง

เวลา 14.00–14.10 น.พักรับประทานอาหารว่าง

เวลา 14.10–15.00 น. - สาธิตเมนูอาหารสุขภาพ อาหารลดปริมาณโซเดียม

งบประมาณ

  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 50 คนๆ ละ 1 มื้อๆ ละ 25 บาทเป็นเงิน1,250บาท

  • ค่าเครื่องตรวจความเค็ม จำนวน 1 เครื่องๆ ละ 4,990บาท

กำหนดการอบรม ครั้งที่ 2 เดือน เมษายน 2567

เวลา 13.00–14.00 น. - ความรู้เรื่องการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม 3 อ. 2 ส.

เวลา 14.00–14.10 น.พักรับประทานอาหารว่าง

เวลา 14.10–15.00 น. - สาธิตเมนูอาหารสุขภาพ อาหารลดปริมาณน้ำตาล

งบประมาณ

  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 50 คนๆ ละ 1 มื้อๆ ละ 25 บาทเป็นเงิน1,250บาท

กำหนดการอบรม ครั้งที่ 3 เดือน พฤษภาคม 2567

เวลา 13.00–14.00 น. - ความรู้เรื่องภาวะแทรกซ้อนที่เกิดจากการควบคุมโรคได้ไม่ดี

เวลา 14.00–14.10 น.พักรับประทานอาหารว่าง

เวลา 14.10–15.00 น. - อาการของโรคหลอดเลือดสมอง และโรคหลอดเลือดหัวใจ

งบประมาณ

  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 50 คนๆ ละ 1 มื้อๆ ละ 25 บาทเป็นเงิน1,250บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
8740.00

กิจกรรมที่ 4 ประชาสัมพันธ์ให้ความรู้แก่ประชาชนในชุมชน เกี่ยวกับการแลสุขภาพประชาชน ระบบ 3 หมอ การเฝ้าระวังอาการของโรคหลอดเลือดสมอง และโรคหลอดเลือดหัวใจ

ชื่อกิจกรรม
ประชาสัมพันธ์ให้ความรู้แก่ประชาชนในชุมชน เกี่ยวกับการแลสุขภาพประชาชน ระบบ 3 หมอ การเฝ้าระวังอาการของโรคหลอดเลือดสมอง และโรคหลอดเลือดหัวใจ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าป้ายไวนิล ขนาด 1.2 x 2.4 จำนวน 8 ผืนๆ ละ 600 บาท เป็นเงิน 4,800 บาท

  • ค่าจ้างทำโปสเตอร์สติกเกอร์ ขนาด A4 จำนวน 850 แผ่นๆ ละ 16 บาท เป็นเงิน 13,600 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
18400.00

กิจกรรมที่ 5 ติดตามและประเมินผลกิจกรรมตามโครงการ

ชื่อกิจกรรม
ติดตามและประเมินผลกิจกรรมตามโครงการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

-  ประเมินผลการขึ้นทะเบียนของประชาชน 3 หมอรู้จักคุณ

-  ประเมินผลผู้ที่มีอาการของโรค Stroke และ STEMI เข้ารับบริการฉุกเฉินภายใน 60 นาที

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 32,240.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.ปัญหาสุขภาพที่สำคัญได้รับการดูแลตามหลักเวชศาสตร์ครอบครัวโดยสามหมอมีแนวโน้มดีขึ้น
2.ประชาชนในพื้นที่ใช้บริการในหน่วยบริการปฐมภูมิเพิ่มขึ้น ลดแออัดในโรงพยาบาล
3.ประชาชนมีความรอบรู้ด้านสุขภาพเพิ่มขึ้นสามารถพึงตนเองด้านสุขภาพได้


>