กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

directions_run

โครงการพัฒนาระบบการแพทย์ปฐมภูมิโดยเครือข่ายระบบสุขภาพคลินิกหมอครอบครัว โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านท่าควาย ปีงบประมาณ 2567

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการพัฒนาระบบการแพทย์ปฐมภูมิโดยเครือข่ายระบบสุขภาพคลินิกหมอครอบครัว โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านท่าควาย ปีงบประมาณ 2567
รหัสโครงการ 67-L3312-1-04
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านท่าควาย
วันที่อนุมัติ 17 มกราคม 2567
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 17 มกราคม 2567 - 30 กันยายน 2567
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2567
งบประมาณ 32,240.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายภานุวัฒน์ พรหมสังคหะ
พี่เลี้ยงโครงการ นางวาลัยพร ด้วงคง
พื้นที่ดำเนินการ พื้นที่ รพ.สต.บ้านท่าควาย
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 50 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 จำนวนผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง
37.00
2 จำนวนโรคหลอดเลือดหัวใจ
31.00
3 จำนวนผู้ป่วยโรคเบาหวาน
144.00
4 จำนวนผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง
307.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

สำนักงานเขตสุขภาพที่ ๑๒ มีนโยบายการพัฒนาระบบบริการสุขภาพปฐมภูมิ (Excellence Primary Care) ที่เชื่อมประสานกับการแผนพัฒนาระบบบริการ (Service Plan) และการใช้ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศด้านสาธารณสุข (Digital Health: Telemedicine, Teleconsult) โดยกำหนดตัวชี้วัดในการประเมินผลการดำเนินงานระบบสุขภาพปฐมภูมิเข้มแข็ง จำนวน ๖ ตัวชี้วัด ประกอบด้วย ๑) ผู้ป่วย DM รับยา ๓ ตัวที่ควบคุมไม่ได้ ได้รับคำปรึกษากับแพทย์เฉพาะทาง ร้อยละ ๘๐, ๒) ผู้ป่วย HT รับยา ๓ ตัวที่ควบคุมไม่ได้ ได้รับคำปรึกษากับแพทย์เฉพาะทาง ร้อยละ ๘๐, ๓) ผู้ป่วย Stroke เข้าถึงระบบบริการ Door to ER ภายใน ๖๐ นาที ร้อยละ ๘๐, ๔) ผู้ป่วย STEMI เข้าถึงระบบบริการ Door to ER ภายใน ๖๐ นาที ร้อยละ ๘๐ และการสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพของประชาชนในพื้นที่

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านท่าควาย จากการดำเนินงานเฝ้าระวังอาการของโรคหลอดเลือดสมอง และโรคหลอดเลือดหัวใจ พบผู้ป่วย จำนวน 37 ราย และ 31 ราย ตามลำดับ ผู้ป่วยโรคเบาหวาน และ โรคความดันโลหิตสูง จำนวน 144 ราย และ 307 ราย ตามลำดับจึงมีความจำเป็นจัดทำโครงพัฒนาระบบการแพทย์ปฐมภูมิโดยเครือข่ายระบบสุขภาพคลินิกหมอครอบครัว โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านท่าควาย ปีงบประมาณ 2567

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อพัฒนาศักยภาพทีมสามหมอในการวางแผนการดำเนินงานขับเคลื่อนระบบสุขภาพปฐมภูมิ

ร้อยละการขึ้นทะเบียนประชาชน (รายบุคคล) สามหมอรู้จักคุณ

60.00 80.00
2 เพื่อสร้างความรอบรู้ให้แก่ประชาชน โรค Stroke และ STEMI

ร้อยละผู้ที่มีอาการของโรค Stroke และ STEMI เข้ารับบริการที่ห้องฉุกเฉินโรงพยาบาล ภายใน 60 นาที

50.00 80.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)

วัตถุประสงค์ข้อที่ 1 : เพื่อพัฒนาศักยภาพทีมสามหมอในการวางแผนการดำเนินงานขับเคลื่อนระบบสุขภาพปฐมภูมิ

รวม 0 0.00 0 0.00

วัตถุประสงค์ข้อที่ 2 : เพื่อสร้างความรอบรู้ให้แก่ประชาชน โรค Stroke และ STEMI

รวม 0 0.00 0 0.00

ไม่ระบุวัตถุประสงค์

??/??/???? อบรมให้ความรู้เครือข่าย อสม. เรื่องการดำเนินงานในชุมชุม เกี่ยวกับการบูรณาการดูแลสุขภาพประชาชน ระบบ 3 หมอ 2,550.00 -
??/??/???? อบรมให้ความรู้เครือข่าย อสม. เรื่องการเฝ้าระวังอาการของโรคหลอดเลือดสมอง และโรคหลอดเลือดหัวใจ 2,550.00 -
??/??/???? อบรมให้ความรู้ผู้ป่วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อควบคุมความดันโลหิต ระดับน้ำตาลในเลือด และลดภาวะแทรกซ้อน จำนวน 50 คน 8,740.00 -
??/??/???? ประชาสัมพันธ์ให้ความรู้แก่ประชาชนในชุมชน เกี่ยวกับการแลสุขภาพประชาชน ระบบ 3 หมอ การเฝ้าระวังอาการของโรคหลอดเลือดสมอง และโรคหลอดเลือดหัวใจ 18,400.00 -
??/??/???? ติดตามและประเมินผลกิจกรรมตามโครงการ 0.00 -

หมายเหตุ : งบประมาณ และ ค่าใช้จ่าย รวมทุกวัตถุประสงค์อาจจะไม่เท่ากับงบประมาณรวมได้

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.ปัญหาสุขภาพที่สำคัญได้รับการดูแลตามหลักเวชศาสตร์ครอบครัวโดยสามหมอมีแนวโน้มดีขึ้น 2.ประชาชนในพื้นที่ใช้บริการในหน่วยบริการปฐมภูมิเพิ่มขึ้น ลดแออัดในโรงพยาบาล 3.ประชาชนมีความรอบรู้ด้านสุขภาพเพิ่มขึ้นสามารถพึงตนเองด้านสุขภาพได้

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 9 ม.ค. 2567 09:13 น.