กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพ เทศบาลตำบลแหลมโตนด

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

อบรมการดูแลผู้สูงอายุ ( Care Giver : CG ) ใหม่ เขตอำเภอควนขนุน ปี 2567

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพ เทศบาลตำบลแหลมโตนด

สสอ.ควนขนุน

ตำบลแหลมโตนด

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานผู้สูงอายุ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ประเทศไทยได้มีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากร ที่มีสัดส่วนประชากรสูงอายุเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งในปี 2564 ปะเทศไทยได้ก้าวเข้าสู่สังคมสูงอายุอย่างสมบูรณ์ สัดส่วนประชากร 60 ปีขึ้นไปร้อยละ 20 ของประชากรทั้งหมดและคาดประมาณว่าในปี 2574 จะก้าวสู่การเป็นสังคมสูงอายุระดับสุดยอด คือประชากร 60 ปีขึ้นไป ร้อยละ 28 ของประชากรทั้งหมดและประเทศไทยได้ให้ความสำคัญกับการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุอย่างต่อเนื่องซึ่งปรากฏอยู่ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. ๒๕๔๒ ในการจัดสวัสดิการผู้สูงอายุแผนผู้สูงอายุแห่งชาติฉบับที่ ๒ (๒๕๔๕-๒๕๖๔) และยุทธศาสตร์การพัฒนาสุขภาพผู้สูงอายุของกระทรวงสาธารณสุขการพัฒนาระบบบริการสุขภาพทุกระดับและตั้งแต่ปี 2559 ถึง ปัจจุบัน รัฐบาลได้มีนโยบายการพัฒนาระบบดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุขสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงในพื้นที่ (Long Term Care : LTC) โดยมีเป้าหมายสำคัญคือทำอย่างไรจะป้องกันไม่ให้ผู้สูงอายุที่ยังแข็งแรงมีการเจ็บป่วยต้องไปอยู่ในภาวะพึ่งพิง และจะทำอย่างไรผู้สูงอายุที่อยู่ในภาวะพึ่งพิงจะได้รับการดูแลอย่างเหมาะสมโดยดำเนินการร่วมกันระหว่างกระทรวงสาธารณสุข สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.)และองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น ซึ่งคาดหวังว่าผู้สูงอายุที่ติดบ้านติดเตียง จะได้รับการดุแลจากทีมสหสาขาวิชาชีพ จากหน่วยบริการปฐมภูมิและโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล โดยมีอาสาสมัครในการดูแลผู้สูงอายุ (Caregiver : Cg) และผู้จัดการระบบบริการดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุข (LTC manager)
ร่วมกันจัดทำแผนในการดูแลผู้สูงอายุเป็นรายบุคคล
พื้นที่อำเภอควนขนุนได้มีท้องถิ่นทุกแห่งได้สมัครเข้าร่วมการดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุขสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงในพื้นที่ (Long Term Care : LTC)พร้อมทั้งได้พัฒนา Cg ให้มีอย่างครอบคลุมตั้งแต่ปี 2561 และในสถานการณ์ปัจจุบันมีผู้สูงอายุในพื้นที่ร้อยละ 24.01ซึ่งจัดเป็นสังคมผู้สูงอายุสมบูรณ์ กลุ่มผู้สูงอายุติดบ้านและติดเตียงคิดเป็นร้อยละ 3.29 ของประชากรผู้สูงอายุทั้งหมด โดยในปี 2566 ผู้สูงอายุและผู้พิการอยู่ในภาวะพึ่งพิงมีการดูแลตามแผนการดูแลจำนวน 779 คน จากCgจำนวน 128คน คิดเป็น สัดส่วน1 : 6.01พบว่ามี 12 องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ที่มีความจำเป็นในการพัฒนาศักยภาพ Cg ทั้งจากสถานการณ์การเพิ่มขึ้นของกลุ่มพึ่งพิง และการคงสภาพของ Cgดังนั้นเพื่อผู้ให้มีภาวะพึ่งพิงระยะยาวได้รับการดูแลตามมารตรฐานอย่างทั่วถึงเป็นไปตามชุดสิทธิประโยชน์

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ผู้ดูแลผู้สูงอายุมีความรู้ ความเข้าใจ เรื่องการดูแลสุขภาพอนามัยผู้สูงอายุและปฏิบัติต่อผู้สูงอายุได้อย่างถูกต้อง

อาสาสมัครที่เข้าอบรม มีความรู้ จากการประเมินความรู้และมี ทักษะจากการฝึกปฏิบัติผ่านเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรการดูแลผู้สูงอายุหลักสูตร 70 ชั่วโมง กรมอนามัย ที่ถูกต้องมากกว่าร้อยละ 80

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/12/2023

กำหนดเสร็จ 31/03/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ประชุมเตรียมความพร้อม

ชื่อกิจกรรม
ประชุมเตรียมความพร้อม
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ประชุมเตรียมความพร้อมระหว่างหน่วยงานท้องถิ่นและสาธารณสุข

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 ธันวาคม 2566 ถึง 31 มกราคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

หน่วยงานท้องถิ่นและสาธารณสุขเข้าร่วมประขุมเตรียมความพร้อม

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 2 อบรมตามโครงการ

ชื่อกิจกรรม
อบรมตามโครงการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

อบรมตามโครงการสร้างหลักสูตรการดูแลผู้สูงอายุหลักสูตร 70 ชั่วโมง กรมอนามัยจำนวน 12 คนๆละ 2,500 บาท เป็นเงิน30,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มกราคม 2567 ถึง 31 มีนาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

อาสาสมัครที่เข้าอบรม มีความรู้ จากการประเมินความรู้และมี ทักษะจากการฝึกปฏิบัติผ่านเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรการดูแลผู้สูงอายุหลักสูตร 70 ชั่วโมง กรมอนามัย ที่ถูกต้องมากกว่าร้อยละ 80

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
30000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 30,000.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

ผู้สูงอายุและผู้พิการที่มีภาวะพึ่งพิงระยะยาวได้รับการดูแลสุขภาพตามแผนการดูแลอย่างต่อเนื่องอย่างครอบคลุมโดยอาสาผู้ดูแลผู้สูงอายุ


>