2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
3. สถานการณ์
เด็กเป็นทรัพยากรที่ทรงคุณค่า และมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการพัฒนาประเทศชาติในอนาคต การพัฒนาเด็กให้ได้รับความพร้อมด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์สังคม และสติปัญญา จึงนับเป็นภารกิจสำคัญ ที่หน่วยงานซึ่งรับผิดชอบจะต้องตะหนักและให้ความสนใจ การนำเด็กไปโรงเรียนหรือสถานรับเลี้ยงเด็ก ทำให้เด็กเจ็บป่วยได้ง่าย เพราะศูนย์เด็กเล็กและโรงเรียนอนุบาลเป็นสถานที่ที่เด็กอยู่รวมกันเป็นจำนวนมาก ซึ่งพฤติกรรมเด็กที่อยู่ร่วมกันเป็นจำนวนมากในศูนย์เด็กเล็กและโรงเรียนอนุบาล ส่งผลต่อการแพร่กระจายโรคได้ง่าย เช่น การเล่น การคลุกคลีใช้ของร่วมกัน ทำให้ปนเปื้อนและแพร่กระจายเชื้อโรคได้ง่าย หากเด็กเจ็บป่วยก็จะส่งผลกระทบต่อสุขภาพโดยรวมของเด็ก รวมทั้งการเจริญเติบโตพัฒนาการของเด็ก โรคที่พบบ่อยในเด็ก ได้แก่ โรคมือ เท้า ปาก โรคไข้เลือดออก โรคไอกรน โรคRSV โรคอุจจาระร่วง โรคตาแดง โรคหวัด ไข้หวัดใหญ่และโรคหัด การป้องกันดูแลอย่างถูกต้องจะช่วยให้เด็กไปโรงเรียนได้อย่างสนุกสนานและปลอดภัยจากโรคติดต่อที่สามารถป้องกันได้
กองการศึกษาศาสนาและวัฒนธรรมองค์การบริหารส่วนตำบลปุโละปุโยได้เล็งเห็นความสำคัญของการเฝ้าระวังป้องกันควบคุมโรคไม่ให้เชื้อโรคแพร่กระจาย และลดการป่วยของเด็ก จึงได้ดำเนินโครงการเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมโรคติดต่อในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กองค์การบริหารส่วนตำบลปุโละปุโย เพื่อให้บรรลุภารกิจในการป้องกันควบคุมโรคและผลักดันให้ศูนย์เด็กเล็กและโรงเรียนอนุบาลมีแนวทางและกลไกการเฝ้าระวัง ป้องกันและควบคุมโรคที่ดี จึงได้จัดแนวทางการป้องกันควบคุมโรคติดต่อในศูนย์เด็กเล็กและโรงเรียนอนุบาล สำหรับครูผู้ดูแลเด็ก เจ้าหน้าที่สาธารณสุข เจ้าหน้าที่ท้องถิ่นและผู้ที่สนใจ ให้ได้รับความรู้ความเข้าใจและสามารถนำไปปฏิบัติได้อย่างถูกต้องเหมาะสม เกิดระบบการเฝ้าระวังป้องกันควบคุมโรคติดต่อที่มีประสิทธิภาพ มีการตรวจคัดกรองแยกเด็กป่วยได้รวดเร็ว และมีการรายงานเด็กป่วยที่มีประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้น การเจ็บป่วยลดลงและไม่มีการระบาดของโรคติดต่อในศูนย์เด็กเล็กและโรงเรียนอนุบาล ส่งผลให้การพัฒนาเด็กเป็นไปอย่างมีคุณภาพ ปลอดภัยจากโรคและมาตราฐาน เหมาะสมกับวัยต่อไป
4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด
- บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
- ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
1. ครูผู้ดูแลเด็ก ผู้ปกครอง เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง และประชาชนทั่วไป มีความรู้ในการเฝ้าระวังและควบคุมโรคมือ เท้า ปาก โรคไข้เลือดออก โรคไอกรน โรคRSV โรคอุจจาระร่วง โรคตาแดง และโรคหัดที่อาจเกิดขึ้นในเด็กเล็ก
2. ลดอัตราการป่วยเเละเสียชีวิตด้วยโรค มือ เท้า ปาก โรคไข้เลือดออก โรคไอกรน โรคRSV โรคอุจจาระร่วง โรคตาแดง โรคหัด โรคไข้หวัดและไข้หวัดใหญ่ ที่เกิดขึ้นในเด็กเล็ก
5. กลุ่มเป้าหมาย
6. ระยะเวลาดำเนินงาน
วันเริ่มต้น 19/06/2024
กำหนดเสร็จ 30/09/2024
7. วิธีการดำเนินงาน
- กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
- งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด
หมายเหตุ :
8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง
ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?1. ครูผู้ดูแลเด็ก ผู้ปกครองมีความรู้ ความเข้าใจเเละเฝ้าระวังและควบคุมโรคมือ เท้า ปาก โรคไข้เลือดออก โรคไอกรน โรคRSV โรคอุจจาระร่วง โรคตาแดง และโรคหัดที่อาจเกิดขึ้นในเด็กเล็ก
2. ครูผู้ดูแลเด็ก ผู้ปกครองมีความรู้ ความเข้าใจและร่วมกันป้องกันเกี่ยวกับโรคมือ เท้า ปาก โรคไข้เลือดออก โรคไอกรน โรคRSV โรคอุจจาระร่วง โรคตาแดง และโรคหัดที่อาจเกิดขึ้นในเด็กเล็กได้อย่างถูกต้อง
3. ลดอัตราการป่วยด้วยโรคมือ เท้า ปาก โรคไข้เลือดออก โรคไอกรน โรคRSV โรคอุจจาระร่วง โรคตาแดง และโรคหัดที่อาจเกิดขึ้นในเด็กเล็ก
4. ลดอัตราการบาดเจ็บและเสียชีวิตจากโรคต่าง ๆ