กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ไพรวัน

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการพัฒนาศักยภาพอาสาสมัครสาธารณสุข และจิตอาสาด้านสุขภาพ ปี 2567 รพ.สต.บ้านกูบู

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ไพรวัน

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล บ้านกูบู

1.นางน้ำฝน พรหมน้อย
2.นางอุทัยพร นาวี
3.นางสาวสาวิตรี แซ่คู่
4.นางสาวหนึ่งฤทัย นอหะมะ
5.นางสาวรอฮานา ยูโซ๊ะ

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านกูบู

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ระบบสาธารณสุขของไทยจะมีความเข้มแข็งได้ ต้องอาศัยความร่วมมือจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทุกภาคส่วนช่วยกันขับเคลื่อนนโยบายด้านสุขภาพ เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนให้ดีขึ้น เน้นให้ทุกภาคส่วนได้ร่วมกันกำหนดแนวทาง การบูรณาการสาธารณสุขมูลฐาน และระบบสุขภาพปฐมภูมิของประเทศไทย ในประเด็นการรักษา การจัดการสภาพแวดล้อมและสังคม เพื่อสร้างความเข้มแข็งระบบสุขภาพภาคประชาชน และเป็นไปตามพระราชบัญญัติระบบสุขภาพปฐมภูมิ พ.ศ.2562 โดยอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ผู้ซึ่งเป็นตัวแทนของกระทรวงสาธารณสุข ในการดูแลด้านสุขภาพประชาชนเบื้องต้น แบบใกล้บ้านใกล้ใจที่มีประสิทธิภาพ ควรได้รับการเติมเต็มศักยภาพของ อสม.และบุคลากรทุกระดับ ให้มีความรู้ด้านการสร้างเสริมสุขภาพ การลดปัจจัยเสี่ยงทางสุขภาพ ช่วยให้ประชาชนในชุมชนมีความรู้ด้านสุขภาพที่เพียงพอ มีพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้อง เจ็บป่วยน้อยลง โดยกำหนดการพัฒนาศักยภาพ อสม.เป็น อสม.หมอประจำบ้าน หรือ หมอคนที่ 1 ตามนโยบาย “คนไทยทุกครอบครัว มีหมอประจำตัว 3 คน” มีบทบาทหน้าที่สำคัญในการ สนับสนุนส่งเสริมและเป็นพี่เลี้ยง ให้ อสค.ดำเนินการเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมไม่ให้เกิดโรคในพื้นที่ ดำเนินการส่งเสริมสุขภาพ ลดอัตราการป่วยโรคเรื้อรัง ปัญหาสุขภาพจิต การป้องกันแก้ไขปัญหายาเสพติด และอุบัติเหตุ ถ่ายทอดความรู้ ความเข้าใจในเรื่องภูมิปัญญาไทย สมุนไพร และมีการใช้เทคโนโลยีการสื่อสารทางการแพทย์ และแอปพลิเคชั่นด้านสุขภาพ ประเมินสุขภาพโดยร่วมเป็นทีมหมอครอบครัว จัดการปัญหาสุขภาพ ทั้งในระดับครอบครัวและชุมชน
ดังนั้นทางโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านกูบูได้เห็นความสำคัญของการพัฒนาศักยภาพของ อสม.โดยจัดทำโครงการพัฒนาศักยภาพอาสาสมัครสาธารณสุข และจิตอาสาด้านสุขภาพ ปี 2567 นี้ขึ้นเพื่อพัฒนาความรู้ด้านสุขภาพ ทั้งด้าน การส่งเสริมสุขภาพประชาชน การป้องกันโรคในชุมชน นำไปสู่การจัดการสุขภาพครอบครัวต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อเสริมสร้างกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้านสุขภาพ ในกลุ่ม อสม.

อสม.เข้าร่วมกิจกรรมร้อยละ 100

0.00
2 เพื่อพัฒนา อสม.ปฎิบัติงานร่วมกันเป็น อสม.หมอประจำบ้าน อย่างมีคุณภาพ

อสม.ได้รับความรู้และสามารถฝึกปฎิบัติได้ร้อยละ 70

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 38
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/06/2024

กำหนดเสร็จ 31/08/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 1.จัดกิจกรรมให้ความรู้ฟื้นฟูวิชาการและฝึกทักษะ ด้านส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค รักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพ

ชื่อกิจกรรม
1.จัดกิจกรรมให้ความรู้ฟื้นฟูวิชาการและฝึกทักษะ ด้านส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค รักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

-ฝึกปฎิบัติการดูแลผู้ป่วยที่บ้าน การวัดความดันโลหิตสูง และการเจาะน้ำตาลที่ปลายนิ้ว

-ให้บริการเชิงรุกในหมู่บ้านโดยแยกตามเขตรับผิดชอบของแต่ละ อสม. โดยการเยี่ยมบ้าน ให้บริการวัดความดันโลหิตสูง ในกลุ่มผู้สูงอายุติดบ้าน ติดเตียง

งบประมาณ

-ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 38 คนๆละ 2 มื้อๆละ 35 บาทเป็นเงิน 2,660.- บาท

-ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 38 คนๆละ 1 มื้อๆละ 65 บาท เป็นเงิน 2,470.- บาท

-ค่าเครื่องวัดความดันโลหิตสูง จำนวน 5 เครื่อง x 3,000 บาทเป็นเงิน 15,000.- บาท

-เครื่องชั่งน้ำหนัก จำนวน 5 เครื่อง x 700 บาท เป็นเงิน 3,500.- บาท

รวมเป็นเงิน 23,630.- บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มิถุนายน 2567 ถึง 31 สิงหาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
23630.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 23,630.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ประชาชนกลุ่มอาชีพเกษตรกรรมมีความรู้ในการป้องกันโรคจากการทำงาน
2. ทราบถึงสถานการณ์สารเคมีกำจัดศัตรูพืชตกค้างในเลือดของกลุ่มเกษตรกรในพื้นที่
3. ประชาชนสามารถเลือกซื้อที่ปลอดภัยจากการสารเคมี


>