กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ไพรวัน

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการอบรมผู้ป่วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อน ปี 2567 รพ.สต.บ้านกูบู

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ไพรวัน

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านกูบู

1.นางน้ำฝน พรหมน้อย
2.นางอุทัยพร นาวี
3.นางสาวสาวิตรี แซ่คู่
4.นางสาวหนึ่งฤทัย นอหะมะ
5.นางสาวรอฮานา ยูโซ๊ะ

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านกูบู

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ปัจจุบันทั่วโลกให้ความสำคัญกับการจัดการโรคไม่ติดต่อเรื้อรังมากขึ้นเนื่องจากสภาวะเป็นอยู่และวิถีชีวิตที่เปลี่ยนไปทำให้ผู้ป่วยกลุ่มนี้มีจำนวนเพิ่มมากขึ้น จากสภาพสังคมปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ และเทคโนโลยีอย่างรวดเร็ว ทำให้วิถีชีวิตความเป็นอยู่เปลี่ยนตามสภาพจากเดิมทำให้พฤติกรรมของแต่ละคนเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ไม่ถูกต้อง เช่นพฤติกรรมการบริโภคอาหาร พฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองอันนำไปสู่การทำให้ผู้ป่วยเกิดภาวะทนทุกข์ทรมานและทำให้เกิดการสูญเสียทั้งทรัพย์สินและชีวิต ข้อมูลทางระบาดวิทยาพบว่าจำนวนผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรังทั่วโลกเพิ่มขึ้นอย่างมากมายการดูแลโรคไม่ติดต่อเรื้อรังนั้นไม่ได้จำกัดระบบการทำงานต่างๆของร่างกายเริ่มจะเสื่อมโทรมลงและมีโอกาสที่จะเจ็บป่วยได้ง่ายมากขึ้นโดยเฉพาะอย่างยิ่งโรคเรื้อรัง ได้แก่โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง และโรคไขมันในเลือดผิดปกติโรคหลอดเลือดหัวใจ แต่ขึ้นอยู่กับการดูแลตนเองของผู้ป่วยและการตรวจภาวะแทรกซ้อน นอกจากยังมีการติดตามเยี่ยมผู้ป่วยที่บ้าน เพื่อจะได้ทราบปัญหา ของการดูแลตนเอง และร่วมหารือ หาแนวทางการแก้ไขปัญหาสุขภาพ กับผู้ป่วยแต่ละราย ปัจจุบันผู้ป่วยที่มารับบริการดูแล รักษาโรคเรื้อรังดังกล่าวมีจำนวนมาก และมากขึ้นเรื่อยๆ แต่ผู้ป่วยส่วนใหญ่ ก็ยังไม่ได้รับบริการ ดูแลภาวะแทรกซ้อนได้อย่างครบถ้วนและการรักษาส่วนใหญ่ ยังเน้นโรงพยาบาลเป็นศูนย์กลาง ทำให้ไม่เกิดความยั่งยืนในระบบการดูแลสุขภาพผู้ป่วยและครอบครัวมีศักยภาพ ในการดูแลตนเองน้อยแต่ในความเป็นจริงการที่สามารถให้ประชาชน กลุ่มเสี่ยง ผู้ป่วยตระหนักในการดูแลตนเองมีความรู้สร้างทัศนคติ จะสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรม และปฎิบัติตัวให้ห่างจากการเกิดโรคและภาวะแทรกซ้อนของผู้ป่วยเพื่อลดงบประมาณในการรักษาผู้ป่วยได้เป็นจำนวนมาก

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ผู้ป่วยเบาหวาน ความดันโลหิตสูง มีความรู้ในการดูแลตนเองจากภาวะแทรกซ้อนได้อย่างถูกต้อง

1.ผู้ป่วยมีความรู้ ความเข้าใจในการป้องกันภาวะแทรกซ้อนของโรคเรื้อรัง ได้อย่างถูกต้องเหมาะสมร้อยละ 80

0.00
2 เพื่อลดอัตราการเกิดโรคแทรกซ้อนทาง ตา ไต เท้า ในผู้ป่วยโรคเบาหวาน /ความดันโลหิตสูง

2.ร้อยละของผู้ป่วยเบาหวาน/ความดันโลหิตสูงที่มี CVD risk>=20 เปอร์เซ็นต์ หลังได้รับการปรับเปลี่ยนความเสี่ยงCVD risk ลดลง

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 40
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/07/2024

กำหนดเสร็จ 31/07/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 1.กิจกรรมอบรมให้ความรู้ในการปฎิบัติตัวในกลุ่มผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อน

ชื่อกิจกรรม
1.กิจกรรมอบรมให้ความรู้ในการปฎิบัติตัวในกลุ่มผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • จัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้บุคคลต้นแบบที่สามารถควบคุมภาวะสุขภาพให้ดีขึ้น

งบประมาณ

  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับกลุ่มเป้าหมาย จำนวน 40 คนๆละ 2 มื้อๆละ 35.- บาท เป็นเงิน 2,800.- บาท

  • ค่าอาหารกลางวันสำหรับกลุ่มเป้าหมาย จำนวน 40 คนๆละ 1 มื้อๆ ละ 65.- บาท เป็นเงิน 2,600- บาท

รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 5,400.- บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กรกฎาคม 2567 ถึง 31 กรกฎาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
5400.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 5,400.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ผู้ป่วยเบาหวาน ความดันโลหิตสูง มีความรู้ในการดูแลตนเองจากภาวะแทรกซ้อนได้อย่างถูกต้อง
2. ลดอัตราการเกิดโรคแทรกซ้อนทาง ตา ไต เท้า ในผู้ป่วยโรคเบาหวาน /ความดันโลหิตสูง


>