กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ปันแต

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการพัฒนาระบบบูรณาการป้องกันและควบคุมโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน รพ.สต.ปันแต ปีงบประมาณ 2567

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ปันแต

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปันแต

หมู่ที่ 1-13 ตำบลปันแต อำเภอควนขนุนจังหวัดพัทลุง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน

 

24.11
2 ร้อยละประชาชนที่มีอายุ 35 ปี ขึ้นไป ได้รับการคัดกรองโรคเบาหวาน

 

94.13
3 ร้อยละผู้ป่วยเบาหวานสามารถควบคุมระดับน้ำตาลได้ดี

 

46.69
4 ร้อยละประชาชนที่มีอายุ 35 ปี ขึ้นไป ได้รับการคัดกรองโรคความดันโลหิตสูง

 

93.26
5 ร้อยละของประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูง

 

25.12
6 ร้อยละผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงสามารถควบคุมความดันโลหิตได้ดี

 

64.96
7 ร้อยละประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคหลอดเลือดสมอง (CVA)

 

14.86

โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง(NCDs) เป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญทั่วโลกรวมทั้งประเทศไทยด้วยพบว่าอัตราชุกของโรคเหล่านี้มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง และโรคหลอดเลือดสมององค์การอนามัยโลก (WHO)รายงานว่า ในปี 2552 ผู้ป่วยโรคเบาหวานมีจำนวน 108 ล้านคน เพิ่มขึ้นเป็น 422ล้านคน ในปี 2557 มีผู้เสียชีวิตจากโรคเบาหวาน 1.5 ล้านคน นอกจากนี้ ยังพบว่าประชากรทั่วโลกที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป ป่วยด้วยโรคเบาหวานเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 4.7 เป็นร้อยละ 8.5 หรือเมื่อเปรียบเทียบแล้ว พบว่า ปัจจุบันประชากรวัยผู้ใหญ่ 1 ใน 11 คนป่วยเป็นโรคเบาหวาน จากการกำเนินงานเพื่อตอบสนอง Service Plan สาขาโรคไม่ติดต่อเรื้อรังในปีงบประมาณ 2566 พบว่าจังหวัดพัทลุงมีอัตราตายของผู้ป่วยเบาหวานร้อยละ 3.95อำเภอควนขนุนมีอัตราตาย ร้อยละ 4.39 และ มีแนวโน้มผู้ป่วยโรคเบาหวานสูงขึ้นทุกๆปี จากสถิติตั้งแต่ 2561 – 2566ความชุกของผู้ป่วยเบาหวานมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นดังนี้ 4.615, 5.158, 5.483, 5.481 ต่อแสนประชากร ตามลำดับเนื่องมาจากปัจจัยเสี่ยงที่คุกคามภาวะสุขภาพเช่นพฤติกรรมการดำรงชีวิตที่อาจทำให้เกิดความเครียด ภาวะโภชนาการเกินการขาดการออกกำลังกาย
จากสถิติการเกิดโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงของ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปันแตอำเภอควนขนุนจังหวัดพัทลุงพบว่าประชากรอายุ 35ปี ขึ้นไปที่ยังไม่เป็นเบาหวานจำนวน 2,352 คน ได้รับการคัดกรองเจาะน้ำตาลปลายนิ้วจำนวน 2,214 คนคิดเป็นร้อยละ 94.13 เป็นกลุ่มเสี่ยงจำนวน 534 คน พบผู้ป่วยรายใหม่จำนวน 20 คนคิดเป็นร้อยละ3.74 ในส่วนของผู้ป่วยเบาหวานสามารถควบคุมระดับน้ำตาลได้ดีจำนวน 169 คนคิดเป็นร้อยละ 46.69 สำหรับการคัดกรองโรคความดันโลหิตสูงพบว่าประชากรอายุ 35 ปีขึ้นไปที่ยังไม่เป็นโรคความดันโลหิตสูงจำนวน 1,959 คนได้รับการคัดกรอง จำนวน 1,827คนคิดเป็นร้อยละ 93.26 เป็นกลุ่มเสี่ยงจำนวน 459 คนพบผู้ป่วยรายใหม่จำนวน 61คนคิดเป็นร้อยละ 13.28 ในส่วนของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงสามารถควบคุมระดับความดันโลหิตได้ดีจำนวน 508 คนคิดเป็นร้อยละ 64.96 เพื่อให้การดำเนินงานการป้องกันและควบคุมจัดการงานโรคไม่ติดต่อเรื่อรัง NCDs เป็นไปอย่างต่อเนื่อง เราต้องอาศัยการทำงานร่วมกันของภาคีเครือข่ายสุขภาพรวมทั้งประชาชนเพื่อพัฒนาระบบบูรณาการการป้องกันและควบคุมจัดการโรคเบาหวาน/โรคความดันโลหิตสูงเพื่อลดอุบัติการณ์การเกิดผู้ป่วยรายใหม่ลดภาวะแทรกซ้อนจากโรครวมทั้งการลดอัตราตายจากภาวะแทรกซ้อนของโรคอีกด้วย ทางโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปันแต จึงจัดทำโครงการพัฒนาระบบบูรณาการป้องกันและควบคุมโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปันแต ปีงบประมาณ 2567 ขึ้นเพื่อกระตุ้นให้ประชาชนทั่วไปและผู้ป่วยมีความตระหนักและสร้างความรอบรู้ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพตามหลัก 3 อ2 ส เพื่อให้ประชาชนสามารถป้องกันและควบคุมโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตได้

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อแก้ปัญหาประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน

ร้อยละของประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวานลดลง

25.00
2 เพื่อแก้ปัญหาประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคหลอดเลือดสมอง (CVA)

ร้อยละประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคหลอดเลือดสมอง (CVA) ลดลง

4.00
3 เพื่อให้ประชาชนกลุ่มเป้าหมายเข้าถึงบริการคัดกรองโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน

ร้อยละประชาชนกลุ่มเป้าหมายเข้าถึงบริการคัดกรองโรคความดันและโรคเบาหวาน

96.00
4 เพื่อให้ผู้ป่วยโรคเบาหวานสามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ดี

ร้อยละของผู้ป่วยโรคเบาหวานสามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ดีไม่น้อยกว่าร้อยละ 50

50.00
5 เพื่อให้ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสามารถควบคุมระดับความดันโลหิตได้ดี

ร้อยละของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสามารถควบคุมระดับความดันโลหิตได้ดีไม่น้อยกว่าร้อยละ 60

60.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 315
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 50
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/03/2024

กำหนดเสร็จ 31/08/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรม อบรมให้ความรู้ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง/เบาหวาน

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรม อบรมให้ความรู้ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง/เบาหวาน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรม อบรมให้ความรู้ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง/เบาหวาน
1. จัดหากลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง/เบาหวาน เพื่อเข้าร่วมโครงการ 2. จัดหาวิทยากรให้ความรู้เรื่องการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม 3.จัดอบรให้ความรู้ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพโรคความดันโลหิตสูง/เบาหวาน จำนวน 1 วัน 4. ประเมินภาวะสุขภาพหลังปรับเปลี่ยนพฤติกรรม-ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับผู้เข้าร่วมอบรมและผู้จัด จำนวน 220 คน x 1 มื้อ x 25 บาทเป็นเงิน 5,500 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2567 ถึง 31 สิงหาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  • ผลผลิต จำนวนผู้เข้ารับการอบรมครบตามเป้าหมาย
  • ผลลัพธ์  ลดการเกิดโรคเบาหวาน/ความดันโลหิตสูง รายใหม่
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
5500.00

กิจกรรมที่ 2 5.2 สร้างกระแสในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม รักสุขภาพ รายละเอียด กิจกรรม1. ประชาสัมพันธ์รณรงค์การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม รักสุขภาพในกลุ่มเสี่ยง/สงสัยเป็น โรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน2. จัดกิจกรรมสร้างกระแสการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม รักสุขภาพโดยการ

ชื่อกิจกรรม
5.2 สร้างกระแสในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม รักสุขภาพ รายละเอียด กิจกรรม1. ประชาสัมพันธ์รณรงค์การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม รักสุขภาพในกลุ่มเสี่ยง/สงสัยเป็น โรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน2. จัดกิจกรรมสร้างกระแสการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม รักสุขภาพโดยการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

5.2 สร้างกระแสในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม รักสุขภาพ รายละเอียด กิจกรรม1. ประชาสัมพันธ์รณรงค์การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม รักสุขภาพในกลุ่มเสี่ยง/สงสัยเป็น โรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน 2. จัดกิจกรรมสร้างกระแสการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม รักสุขภาพโดยการออกกำลังกาย แบบแอโรบิค 3. ตรวจสุขภาพกลุ่มเสี่ยง/สงสัยเป็นโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานที่สมัครใจ เข้าร่วมกิจกรรมรักสุขภาพสร้างกระแสในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม รักสุขภาพโดยการรณรงค์การออกกำลังกายและตรวจสุขภาพ เพื่อเข้าร่วมกิจกรรมรักสุขภาพ

  1. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม สำหรับวิทยากรและผู้เข้าร่วมอบรมจำนวน 55 คน x 1 มื้อ x
    5 วัน x 25 บาทเป็นเงิน 6,875บาท
  2. ค่าตอบแทนวิทยากร จำนวน 15 ชั่วโมง ๆ ละ 300 บาทเป็นเงิน 4,500 บาท
  3. ค่าอุปกรณ์ออกกำลังกาย (ตาราง 9 ช่อง) จำนวน 20 แผ่น x 100บาท
    เป็นเงิน 2,000 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2567 ถึง 31 สิงหาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  • ผลผลิต จำนวนกลุ่มเสี่ยง/กลุ่มสงสัยเป็นโรคเบาหวาน/โรคความดันโลหิตสูง  เข้าร่วมกิจกรรม ครบตามจำนวน         - ผลลัพธ์ กลุ่มเสี่ยง/กลุ่มสงสัยเป็นโรคเบาหวาน/โรคความดันโลหิตสูง สามารถควบคุมระดับ ความดันและระดับน้ำตาลได้
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
13375.00

กิจกรรมที่ 3 5.2 กิจกรรม ให้ความรู้ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมผู้ป่วยเบาหวาน/โรคความดันโลหิตสูง ในวันคลินิกโรคผู้ป่วยเรื้อรัง

ชื่อกิจกรรม
5.2 กิจกรรม ให้ความรู้ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมผู้ป่วยเบาหวาน/โรคความดันโลหิตสูง ในวันคลินิกโรคผู้ป่วยเรื้อรัง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. กิจกรรม ให้ความรู้ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมผู้ป่วยเบาหวาน/โรคความดันโลหิตสูง  ในวันคลินิกโรคผู้ป่วยเรื้อรัง
  2. ให้ความรู้เรื่องการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อน ในวันรับบริการคลินิกโรคเรืัอรัง ทุกวันจันทร์ โดยเจ้าหน้าที่สาธารณสุข
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2567 ถึง 31 สิงหาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  • ผลผลิต จำนวนผู้เข้ารับการอบรมครบตามเป้าหมาย
  • ผลลัพธ์ 1. ผู้ป่วยโรคเรื้อรังมีพฤติกรรมสุขภาพที่ดี             2. ผู้ป่วยสามารถควบคุมระดับความดันและระดับน้ำตาลได้ดี
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 4 5.3 สื่อสารความเสี่ยง ป้องกันโรคหลอดเลือดสมอง

ชื่อกิจกรรม
5.3 สื่อสารความเสี่ยง ป้องกันโรคหลอดเลือดสมอง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรม  1. ประชาสัมพันธ์สื่อสารความเสี่ยงโรคหลอดเลือดสมองสัญญาณเตือนโรคหลอดเลือดสมอง
2.ประเมิน CVD risk ผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง 3. ผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูงที่มีความเสี่ยง CVD risk ได้รับการปรับเปลี่ยน พฤติกรรมอย่างเข้มข้นและติดตามเยี่ยมบ้านจนมีพยาธิสภาพดีขึ้น 1. ค่าป้ายไวนิลโรลอัพ ขนาดไม่น้อยกว่า 60x 160 ซม. พร้อมขาตั้ง จำนวน 1 ชุด
เป็นเงิน 1,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2567 ถึง 31 สิงหาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  • ผลผลิต 1.จำนวนผู้ป่วยเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ได้รับการประเมิน CVD risk         2.จำนวนผู้ป่วยเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม         - ผลลัพธ์ 1.จำนวนผู้ป่วยเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ควบคุมระดับความดันและระดับน้ำตาล ได้ดี         2. จำนวนผู้ป่วยโรความดันโลหิตสูง/เบาหวาน มีพฤติกรรมสุขภาพที่ดี
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
1000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 19,875.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ร้อยละของประชากรกลุ่มเป้าหมายมีความเสี่ยงโรคเบาหวานลดลง
2. ร้อยละของผู้ป่วยโรคเบาหวานสามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ดีไม่น้อยกว่าร้อยละ 50
3. ร้อยละของผู้ป่วยโรความดันโลหิตสูงสามารถควบคุมระดับความดันโลหิตได้ดีไม่น้อยกว่า ร้อยละ 80


>