กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบเสนอโครงการกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่น

กปท.7

แบบจัดทำแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ปันแต รหัส กปท. L3321

อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง

ตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2561 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ข้อ 16 (2) “ให้พิจารณาอนุมัติโครงการ หรือกิจกรรม ให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของกองทุนตามข้อ 10”

อาศัยอำนาจของประกาศ ฯ ข้อ 10 “เงินกองทุนหลักประกันสุขภาพตามข้อ 7 วรรคหนึ่ง ให้ใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมเป็นค่าใช้จ่ายตามแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ที่คณะกรรมการกองทุนอนุมัติ” จึงได้จัดทำแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ประจำปีงบประมาณ 2567 โดยมีรายละเอียด ดังนี้

1.
ชื่อ
check_box_outline_blank
แผนงาน
check_box
โครงการ
check_box_outline_blank
กิจกรรม
โครงการพัฒนาระบบบูรณาการป้องกันและควบคุมโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน รพ.สต.ปันแต ปีงบประมาณ 2567
2.
ชื่อ
check_box_outline_blank
หน่วยงาน
check_box_outline_blank
องค์กร
check_box_outline_blank
กลุ่มประชาชน
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปันแต
3.
หลักการและเหตุผล

โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง(NCDs) เป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญทั่วโลกรวมทั้งประเทศไทยด้วยพบว่าอัตราชุกของโรคเหล่านี้มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง และโรคหลอดเลือดสมององค์การอนามัยโลก (WHO)รายงานว่า ในปี 2552 ผู้ป่วยโรคเบาหวานมีจำนวน 108 ล้านคน เพิ่มขึ้นเป็น 422ล้านคน ในปี 2557 มีผู้เสียชีวิตจากโรคเบาหวาน 1.5 ล้านคน นอกจากนี้ ยังพบว่าประชากรทั่วโลกที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป ป่วยด้วยโรคเบาหวานเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 4.7 เป็นร้อยละ 8.5 หรือเมื่อเปรียบเทียบแล้ว พบว่า ปัจจุบันประชากรวัยผู้ใหญ่ 1 ใน 11 คนป่วยเป็นโรคเบาหวาน จากการกำเนินงานเพื่อตอบสนอง Service Plan สาขาโรคไม่ติดต่อเรื้อรังในปีงบประมาณ 2566 พบว่าจังหวัดพัทลุงมีอัตราตายของผู้ป่วยเบาหวานร้อยละ 3.95อำเภอควนขนุนมีอัตราตาย ร้อยละ 4.39 และ มีแนวโน้มผู้ป่วยโรคเบาหวานสูงขึ้นทุกๆปี จากสถิติตั้งแต่ 2561 – 2566ความชุกของผู้ป่วยเบาหวานมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นดังนี้ 4.615, 5.158, 5.483, 5.481 ต่อแสนประชากร ตามลำดับเนื่องมาจากปัจจัยเสี่ยงที่คุกคามภาวะสุขภาพเช่นพฤติกรรมการดำรงชีวิตที่อาจทำให้เกิดความเครียด ภาวะโภชนาการเกินการขาดการออกกำลังกาย จากสถิติการเกิดโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงของ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปันแตอำเภอควนขนุนจังหวัดพัทลุงพบว่าประชากรอายุ 35ปี ขึ้นไปที่ยังไม่เป็นเบาหวานจำนวน 2,352 คน ได้รับการคัดกรองเจาะน้ำตาลปลายนิ้วจำนวน 2,214 คนคิดเป็นร้อยละ 94.13 เป็นกลุ่มเสี่ยงจำนวน 534 คน พบผู้ป่วยรายใหม่จำนวน 20 คนคิดเป็นร้อยละ3.74 ในส่วนของผู้ป่วยเบาหวานสามารถควบคุมระดับน้ำตาลได้ดีจำนวน 169 คนคิดเป็นร้อยละ 46.69 สำหรับการคัดกรองโรคความดันโลหิตสูงพบว่าประชากรอายุ 35 ปีขึ้นไปที่ยังไม่เป็นโรคความดันโลหิตสูงจำนวน 1,959 คนได้รับการคัดกรอง จำนวน 1,827คนคิดเป็นร้อยละ 93.26 เป็นกลุ่มเสี่ยงจำนวน 459 คนพบผู้ป่วยรายใหม่จำนวน 61คนคิดเป็นร้อยละ 13.28 ในส่วนของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงสามารถควบคุมระดับความดันโลหิตได้ดีจำนวน 508 คนคิดเป็นร้อยละ 64.96 เพื่อให้การดำเนินงานการป้องกันและควบคุมจัดการงานโรคไม่ติดต่อเรื่อรัง NCDs เป็นไปอย่างต่อเนื่อง เราต้องอาศัยการทำงานร่วมกันของภาคีเครือข่ายสุขภาพรวมทั้งประชาชนเพื่อพัฒนาระบบบูรณาการการป้องกันและควบคุมจัดการโรคเบาหวาน/โรคความดันโลหิตสูงเพื่อลดอุบัติการณ์การเกิดผู้ป่วยรายใหม่ลดภาวะแทรกซ้อนจากโรครวมทั้งการลดอัตราตายจากภาวะแทรกซ้อนของโรคอีกด้วย ทางโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปันแต จึงจัดทำโครงการพัฒนาระบบบูรณาการป้องกันและควบคุมโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปันแต ปีงบประมาณ 2567 ขึ้นเพื่อกระตุ้นให้ประชาชนทั่วไปและผู้ป่วยมีความตระหนักและสร้างความรอบรู้ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพตามหลัก 3 อ2 ส เพื่อให้ประชาชนสามารถป้องกันและควบคุมโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตได้

4.
วัตถุประสงค์(เพื่อการจัดบริการสร้างเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค ฟื้นฟูสมรรถภาพ และรักษาพยาบาลระดับปฐมภูมิเชิงรุก รวมถึงการจัดกระบวนการหรือกิจกรรมเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพ และการป้องกันโรค)
  • 1. เพื่อแก้ปัญหาประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน
    ตัวชี้วัด : ร้อยละของประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวานลดลง
    ขนาดปัญหา เป้าหมาย 25.00
  • 2. เพื่อแก้ปัญหาประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคหลอดเลือดสมอง (CVA)
    ตัวชี้วัด : ร้อยละประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคหลอดเลือดสมอง (CVA) ลดลง
    ขนาดปัญหา เป้าหมาย 4.00
  • 3. เพื่อให้ประชาชนกลุ่มเป้าหมายเข้าถึงบริการคัดกรองโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน
    ตัวชี้วัด : ร้อยละประชาชนกลุ่มเป้าหมายเข้าถึงบริการคัดกรองโรคความดันและโรคเบาหวาน
    ขนาดปัญหา เป้าหมาย 96.00
  • 4. เพื่อให้ผู้ป่วยโรคเบาหวานสามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ดี
    ตัวชี้วัด : ร้อยละของผู้ป่วยโรคเบาหวานสามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ดีไม่น้อยกว่าร้อยละ 50
    ขนาดปัญหา เป้าหมาย 50.00
  • 5. เพื่อให้ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสามารถควบคุมระดับความดันโลหิตได้ดี
    ตัวชี้วัด : ร้อยละของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสามารถควบคุมระดับความดันโลหิตได้ดีไม่น้อยกว่าร้อยละ 60
    ขนาดปัญหา เป้าหมาย 60.00
5.
วิธีดำเนินการ(ให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ตามข้อ 4)
  • 1. กิจกรรม อบรมให้ความรู้ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง/เบาหวาน
    รายละเอียด

    กิจกรรม อบรมให้ความรู้ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง/เบาหวาน
    1. จัดหากลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง/เบาหวาน เพื่อเข้าร่วมโครงการ 2. จัดหาวิทยากรให้ความรู้เรื่องการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม 3.จัดอบรให้ความรู้ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพโรคความดันโลหิตสูง/เบาหวาน จำนวน 1 วัน 4. ประเมินภาวะสุขภาพหลังปรับเปลี่ยนพฤติกรรม-ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับผู้เข้าร่วมอบรมและผู้จัด จำนวน 220 คน x 1 มื้อ x 25 บาทเป็นเงิน 5,500 บาท

    งบประมาณ 5,500.00 บาท
  • 2. 5.2 สร้างกระแสในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม รักสุขภาพ รายละเอียด กิจกรรม1. ประชาสัมพันธ์รณรงค์การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม รักสุขภาพในกลุ่มเสี่ยง/สงสัยเป็น โรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน2. จัดกิจกรรมสร้างกระแสการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม รักสุขภาพโดยการ
    รายละเอียด

    5.2 สร้างกระแสในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม รักสุขภาพ รายละเอียด กิจกรรม1. ประชาสัมพันธ์รณรงค์การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม รักสุขภาพในกลุ่มเสี่ยง/สงสัยเป็น โรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน 2. จัดกิจกรรมสร้างกระแสการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม รักสุขภาพโดยการออกกำลังกาย แบบแอโรบิค 3. ตรวจสุขภาพกลุ่มเสี่ยง/สงสัยเป็นโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานที่สมัครใจ เข้าร่วมกิจกรรมรักสุขภาพสร้างกระแสในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม รักสุขภาพโดยการรณรงค์การออกกำลังกายและตรวจสุขภาพ เพื่อเข้าร่วมกิจกรรมรักสุขภาพ

    1. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม สำหรับวิทยากรและผู้เข้าร่วมอบรมจำนวน 55 คน x 1 มื้อ x
      5 วัน x 25 บาทเป็นเงิน 6,875บาท
    2. ค่าตอบแทนวิทยากร จำนวน 15 ชั่วโมง ๆ ละ 300 บาทเป็นเงิน 4,500 บาท
    3. ค่าอุปกรณ์ออกกำลังกาย (ตาราง 9 ช่อง) จำนวน 20 แผ่น x 100บาท
      เป็นเงิน 2,000 บาท
    งบประมาณ 13,375.00 บาท
  • 3. 5.2 กิจกรรม ให้ความรู้ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมผู้ป่วยเบาหวาน/โรคความดันโลหิตสูง ในวันคลินิกโรคผู้ป่วยเรื้อรัง
    รายละเอียด
    1. กิจกรรม ให้ความรู้ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมผู้ป่วยเบาหวาน/โรคความดันโลหิตสูง  ในวันคลินิกโรคผู้ป่วยเรื้อรัง
    2. ให้ความรู้เรื่องการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อน ในวันรับบริการคลินิกโรคเรืัอรัง ทุกวันจันทร์ โดยเจ้าหน้าที่สาธารณสุข
    งบประมาณ 0.00 บาท
  • 4. 5.3 สื่อสารความเสี่ยง ป้องกันโรคหลอดเลือดสมอง
    รายละเอียด

    กิจกรรม  1. ประชาสัมพันธ์สื่อสารความเสี่ยงโรคหลอดเลือดสมองสัญญาณเตือนโรคหลอดเลือดสมอง
    2.ประเมิน CVD risk ผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง 3. ผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูงที่มีความเสี่ยง CVD risk ได้รับการปรับเปลี่ยน พฤติกรรมอย่างเข้มข้นและติดตามเยี่ยมบ้านจนมีพยาธิสภาพดีขึ้น 1. ค่าป้ายไวนิลโรลอัพ ขนาดไม่น้อยกว่า 60x 160 ซม. พร้อมขาตั้ง จำนวน 1 ชุด
    เป็นเงิน 1,000 บาท

    งบประมาณ 1,000.00 บาท
6.
กลุ่มเป้าหมาย และกิจกรรม(เลือกได้มากกว่า 1 ข้อ)
6.1. กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด จำนวน คน

6.2. กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน จำนวน คน

6.3. กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน จำนวน คน

6.4. กลุ่มวัยทำงาน จำนวน คน

6.5. กลุ่มผู้สูงอายุ จำนวน คน

6.6. กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง จำนวน คน

6.7. กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ จำนวน คน

6.8. กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง จำนวน คน

6.9. สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] จำนวน คน

7.
ระยะเวลาดำเนินการ(ควรระบุตามการดำเนินงานจริง)

ตั้งแต่ วันที่ 1 มีนาคม 2567 ถึง 31 สิงหาคม 2567

8.
สถานที่ดำเนินการ

หมู่ที่ 1-13 ตำบลปันแต อำเภอควนขนุนจังหวัดพัทลุง

9.
งบประมาณ(ให้สอดคล้องกับวิธีดำเนินการ ที่ตั้งไว้ตามข้อ 5)

รวมงบประมาณโครงการ 19,875.00 บาท

10.
ผลที่คาดว่าจะได้รับ(ให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ตามข้อ 4)
  1. ร้อยละของประชากรกลุ่มเป้าหมายมีความเสี่ยงโรคเบาหวานลดลง
    1. ร้อยละของผู้ป่วยโรคเบาหวานสามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ดีไม่น้อยกว่าร้อยละ 50
    2. ร้อยละของผู้ป่วยโรความดันโลหิตสูงสามารถควบคุมระดับความดันโลหิตได้ดีไม่น้อยกว่า ร้อยละ 80
11.
คำรับรองความซ้ำซ้อนของงบประมาณ

ข้าพเจ้า ................................................................ ตำแหน่ง.................................................... หน่วยงาน................................................................................ หมายเลขโทรศัพท์......................................................... ในฐานะของผู้เสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

ขอรับรองว่า แผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ที่เสนอขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพ ในครั้งนี้

  • check_box_outline_blank ไม่ได้ซ้ำซ้อนกับงบประมาณที่ได้รับจากแหล่งอื่น
  • check_box_outline_blank สอดคล้องกับแผนสุขภาพชุมชน ของ กปท.
  • check_box_outline_blank รับทราบถึงกฎ ระเบียบ ข้อบังคับ และวิธีการดำเนินงานตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2561 และที่แก้ไขเพิ่มเติม แล้ว


ลงชื่อ............................................................ผู้เสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

      (............................................................)

ตำแหน่ง ............................................................

วันที่-เดือน-พ.ศ. ..................................................
- เห็นชอบ/อนุมัติ
- ให้เสนอขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพ


ลงชื่อ............................................................หัวหน้าหน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มประชาชน

      (............................................................)

ตำแหน่ง ............................................................

วันที่-เดือน-พ.ศ. ..................................................

กปท.8

แบบเสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ปันแต รหัส กปท. L3321

อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง

วัน...........เดือน............................................ พ.ศ. ............
เรื่อง ขอเสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ประจำปีงบประมาณ 2567
เรียน ประธานกรรมการกองทุนสุขภาพตำบล อบต.ปันแต
เอกสารแนบ แบบจัดทำแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม (แบบ กปท.7) จำนวน 1 ชุด

ตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2561 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ข้อ 10 “เงินกองทุนหลักประกันสุขภาพตามข้อ 7 วรรคหนึ่ง ให้ใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมเป็นค่าใช้จ่ายตามแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ที่คณะกรรมการกองทุนอนุมัติ” นั้น

หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มประชาชน ได้ดำเนินการจัดทำแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม มาเพื่อขอรับการสนับสนุนงบประมาณ กปท. ตามเอกสารแนบ

จึงเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณาอนุมัติ

ลงชื่อ .................................................. หัวหน้าหน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มประชาชน

(...........................................................)

ตำแหน่ง ...............................................

วันที่-เดือน-พ.ศ. ......................................

กปท.9

แบบอนุมัติแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ปันแต รหัส กปท. L3321

อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง

วัน...........เดือน............................................ พ.ศ. ............
ผลการพิจารณาแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

ตามมติการประชุมคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพ ครั้งที่ ....................... เมื่อวันที่ .................................................... สรุปผลการพิจารณาแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ดังนี้

1. ความสอดคล้องกับแผนสุขภาพชุมชน
check_box_outline_blank
สอดคล้อง
check_box_outline_blank
ไม่สอดคล้อง
ความเห็นเพิ่มเติม..................................................................................................................................
2. ความซ้ำซ้อนของงบประมาณกองทุน ฯ กับงบประมาณจากแหล่งอื่น
check_box_outline_blank
ซ้ำซ้อน
check_box_outline_blank
ไม่ซ้ำซ้อน
ความเห็นเพิ่มเติม..................................................................................................................................
3. ความเสี่ยงจากผลประโยชน์ทับซ้อน
check_box_outline_blank
เสี่ยง
check_box_outline_blank
ไม่เสี่ยง
ความเห็นเพิ่มเติม..................................................................................................................................
4. เป็นหน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มประชาชน ที่มีสิทธิขอรับงบประมาณ (ตามประกาศ ฯ พ.ศ. 2561 ข้อ 10) (เลือกเพียง 1 ข้อ)
5. ประเภทการสนับสนุน (ตามประกาศ ฯ พ.ศ. 2561 ข้อ 10) (เลือกเพียง 1 ข้อ)
6.งบประมาณที่เสนอ จำนวน 19,875.00 บาท
check_box_outline_blank
อนุมัติงบประมาณ เนื่องจากแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม
check_box_outline_blank
ประชาชนได้รับผลประโยชน์
check_box_outline_blank
ตรงตามวัตถุประสงค์ของกองทุนฯ
check_box_outline_blank
ผู้รับผิดชอบงานมีศักยภาพ
check_box_outline_blank
ค่าใช้จ่ายมีความคุ้มค่า
จึงเห็นควรสนับสนุน เป็นเงิน จำนวน ........................................ บาท
ความเห็นเพิ่มเติม..................................................................................................................................
check_box_outline_blank
ไม่อนุมัติงบประมาณ
เพราะ...................................................................................................................................................
check_box_outline_blank
ให้รายงานผลการดำเนินงานแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม
ภายในวันที่................................................(ตามแบบฟอร์ม ฯ กปท.10)
check_box_outline_blank
ให้ อปท. แจ้งผู้เสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ทราบผล เพื่อดำเนินการ ต่อไป
ลงชื่อ ....................................................................

(....................................................................)

ตำแหน่ง เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบการประชุม

วันที่-เดือน-พ.ศ. ....................................................

ลงชื่อ ....................................................................

ตำแหน่ง ....................................................................

วันที่-เดือน-พ.ศ. ..................................................