กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.กำแพง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โรงเรียนปากปิง กำจัดขยะปรับปรุงสิ่งแวดล้อมห่างไกลโรค

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.กำแพง

โรงเรียนบ้านปากปิง

1.นางญาดานุ้ยไฉน ( โทร0872874847) ผู้ประสานงานคนที่ 1
2.นางสาวณัฐธิชา ศรีภูวดล (โทร0872844882) ผู้ประสานงานคนที่ 2
3.นางสาวพิทยารัตน์เพชรเพ็ง
4.นางอารีวรรณหลงสลำ
5.นางปอซอร์จิ้วจวบ

โรงเรียนบ้านปากปิง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนอนามัยและสิ่งแวดล้อม

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของนักเรียนโรงเรียนบ้านปากปิงที่มีพฤติกรรมแยกขยะไม่ถูกต้อง

 

75.00

สุขภาพและสิ่งแวดล้อมมีความสัมพันธ์กับการที่บุคคลมีสุขภาพที่ดีได้นั้นต้องมีพฤติกรรมสุขภาพที่ดีมีวิธีป้องกันโรคที่ถูกต้องและเหมาะสมการอาศัยอยู่ในสถานที่ที่มีสิ่งแวดล้อมที่ดียังเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อภาวะสุขภาพแต่ในปัจจุบันมนุษย์ได้สร้างปัญหามลพิษทางสิ่งแวดล้อมขึ้นมากมายส่งผลกระทบต่อสุขภาพทำให้บุคคลเกิดการเจ็บป่วยและเกิดโรคที่บั่นทอนสุขภาพอนามัยได้แก่ โรคระบบทางเดินอาหาร โรคจากสัตว์แมลง โรคจากการติดเชื้อ โรคภูมิแพ้ โรคปวดศีรษะคลื่นไส้และอาเจียนเกิดจากกลิ่นเน่า โรคมะเร็งเนื่องจากได้รับสารพิษต่อเนื่องเป็นระยะเวลานาน และผลกระทบต่อระบบต่าง ๆ ภายในร่างกาย

ซึ่งปัจจุบันมีปริมาณขยะเกิดขึ้นในโรงเรียนและชุมชนเป็นจำนวนมากซึ่งประกอบด้วย ขยะอินทรีย์ได้แก่เศษอาหาร เศษผัก ผลไม้ ฯลฯ ขยะรีไซเคิลได้แก่ ขวดน้ำ ขวดแก้ว กล่องนม ขวดน้ำผลไม้ ฯลฯ และขยะทั่วไป ได้แก่ ถุงพลาสติก ถุงขนม ฯลฯ ขยะอันตราย ได้แก่ หลอดไฟแบบต่างๆ ถ่านไฟฉาย กระป่องสเปรย์ ฯลฯ จากการสำรวจขยะในโรงเรียนในแต่ละวันมีปริมาณขยะทั่วไป ประมาณ 10 กิโลกรัมต่อวันขยะประเภทอินทรีย์ประมาณ 3 กิโลกรัมต่อวัน ขยะรีไซเคิ้ล ประมาณ 5 กิโลกรัมต่อวัน ขยะอันตรายประมาณ 0.5 กิโลกรัมต่อวัน และประเภทขยะเปียกที่เหลือจากนักเรียนรับประทานอาหารกลางวัน ประมาณ 3 กิโลกรัมต่อวัน ซึ่งมีนักเรียนที่สามารถแยกขยะอย่างถูกวิธี คิดเป็นร้อยละ 25 ของนักเรียนทั้งหมด จากการจัดการขยะที่ไม่ถูกต้องทำให้ส่งผลต่อสุขภาพของนักเรียน และเป็นแหล่งที่มาของการเกิดโรคต่างๆที่มากจากขยะ ซึ่งในปีการศึกษา 2566 ที่ผ่านมา มีนักเรียนที่เจ็บป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก จำนวน 5 ราย คิดเป็นร้อยละ 4.76 จะเห็นได้ว่าจากขยะในโรงเรียนกลายเป็นแหล่งที่สามารถเพาะพันธ์ลูกน้ำยุงลายส่งผลให้นักเรียนเกิดการเจ็บป่วย

ดังนั้นทางโรงเรียนจึงเล็งเห็นถึงความสำคัญในการให้ความรู้เกี่ยวกับการคัดแยกขยะตั้งแต่ต้นทางให้กับนักเรียนในโรงเรียน เพื่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจในการคัดแยกขยะอย่างถูกวิธี ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยลดปริมาณขยะในโรงเรียนและลดปัญหาขยะที่ตกค้างในชุมชนได้อีกทางหนึ่งอีกทั้งยังเป็นการลดการใช้ทรัพยากรธรรมชาติ ลดการใช้พลังงานและลดมลพิษที่จะเกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่นักเรียนในโรงเรียนจะร่วมมือกันลดและแก้ไขปัญหาขยะมูลฝอยที่เกิดขึ้นด้วยการคัดแยกขยะให้ถูกประเภทและนำวัสดุที่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้เข้าสู่กระบวนการรีไซเคิลเพื่อใช้ทรัพยากรธรรมชาติได้อย่างคุ้มค่าและยั่งยืนต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อลดปริมาณขยะในโรงเรียนและชุมชน
  1. ร้อยละ 70 ของโรงเรียนและชุมชนมีปริมาณขยะลดลง

  2. นักเรียนร้อยละ 80 สามารถคัดแยกขยะได้อย่างถูกวิธี

70.00 70.00
2 นักเรียน ผู้ปกครอง ครูบุคลากรทางการศึกษา มีความรู้เกี่ยวกับการคัดแยกขยะและโรคที่มาจากขยะเพิ่มขึ้น

ร้อยละ 80 นักเรียน ผู้ปกครอง ครูและบุคลากรทางการศึกษามีความรู้ เกี่ยวกับการคัดแยกขยะและโรคที่มากับขยะเพิ่มขึ้น

80.00 0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 23
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 82
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/06/2024

กำหนดเสร็จ 31/12/2025

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 จัดแกนนำ(อถล)และเก็บข้อมูลขยะในโรงเรียน

ชื่อกิจกรรม
จัดแกนนำ(อถล)และเก็บข้อมูลขยะในโรงเรียน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

รายละเอียดกิจกรรม

  1. คัดเลือกนักเรียนแกนนำชั้นป.4-6 ห้องละ 5 คน

  2. ให้นักเรียนแกนนำเป็นผู้ประสานในห้องเรียนกับครูประจำชั้น

  3. จดบันทึกปริมาณขยะในทุกวัน

เป้าหมาย

  • นักเรียนแกนนำ อถล.จำนวน 15 คน

งบประมาณ

แบบบันทึกปริมาณขยะ 15 เล่ม เล่มละ 25 บาท เป็นเงิน 375 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
20 พฤษภาคม 2567 ถึง 31 ธันวาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
375.00

กิจกรรมที่ 2 จัดอบรมการจัดการขยะ

ชื่อกิจกรรม
จัดอบรมการจัดการขยะ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

รายละเอียดกิจกรรม

จัดอบรมให้ความเรื่องขยะให้แก่ ครู นักเรียน บุคลากร ผู้ปกครอง หลักสูตร 1 วัน (วันหยุดราชการ)

เป้าหมาย

  • นักเรียนชั้นป.1 - ป.6ทั้งหมด 85 คน

  • บุคลากรทางการศึกษา 13 คน

  • ผู้ปกครอง (ระดับชั้นอนุบาล2 - 3) 20 คน

งบประมาณ

  • ค่าป้ายไวนิลขนาด 1.5 X 3 ม. เป็นเงิน 675 บาท

  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 118 คน ๆ ละ 2 มื้อ ๆ ละ 25 บาท เป็นเงิน 5,900 บาท

  • ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 118 คนๆ ละ 1 มื้อๆ ละ 65 บาท เป็นเงิน 7,670 บาท

  • ค่าเอกสารประกอบการอบรม จำนวน 118 ชุด ๆ ละ 60 บาท เป็นเงิน 7,080 บาท

  • ค่าตอบแทนวิทยากรจำนวน 5 ชั่วโมง 30 นาที ชั่วโมงละ 600 บาท เป็นเงิน 3,300 บาท

รวมเป็นเงิน 24,625 บาท

กำหนดการ (จัดอบรมวันหยุดราชการ)

08.00 - 09.00 น. ลงทะเบียนผู้เข้าอบรม

09.00 - 09.30 น. พิธีเปิดกิจกรรม โดยผู้อำนวยการสถานศึกษา

09.30 - 10.30 น. บรรยาย เรื่องการจัดการขยะอย่างถูกวิธี

10.30 - 10.45 น.รับประทานอาหารว่าง

10.45 - 12.15 น.บรรยายเรื่อง การจัดการขยะอย่างถูกวิธี (ต่อ)

12.15 - 13.00 น.รับประทานอาหารกลางวัน

13.00 - 14.30 น.บรรยายเรื่อง การจัดการขยะอย่างถูกวิธี (ต่อ)

14.30 - 14.45 น. รับประทานอาหารว่าง

14.45 - 16.15 น. บรรยายเรื่อง การจัดการขยะอย่างถูกวิธี (ต่อ)

16.15 - 16.00 น.พิธีปิด

ระยะเวลาดำเนินงาน
16 พฤษภาคม 2567 ถึง 31 กรกฎาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ครู นักเรียน บุคลากรทางการศึกษา และผู้ปกครอง เข้าใจการจัดการขยะและแยกขยะได้ร้อยละ 80

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
24625.00

กิจกรรมที่ 3 ประชาสัมพันธ์การคัดแยกขยะอย่างถูกวิธีและโรคที่มากับขยะ

ชื่อกิจกรรม
ประชาสัมพันธ์การคัดแยกขยะอย่างถูกวิธีและโรคที่มากับขยะ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

เดินรณรงค์การคัดแยกขยะและโรคที่มากับขยะ นำกิจกรรมโดยแกนนำ(อถล)

งบประมาณ

1.ป้ายรณรงค์เกี่ยวกับการคัดแยกขยะอย่างถูกวิธี และโรคที่มากับขยะ
- ไวนิลดขนาด 1.5 × 3 ราคาป้ายละ 675 บาทจำนวน ...3... ป้ายเป็นเงิน 2,025 บาท

  • ป้ายโฟมบอร์ดสติ๊กเกอร์ขนาด 80×90 ราคาป้ายละ 500 บาท จำนวน ...4. ป้ายจำนวน ...2,000.. บาท

เป็นเงิน 4,025 บาท

เป้าหมาย

  • นักเรียน 105 คน

  • ครูและบุคลากร 13 คน

ระยะเวลาดำเนินงาน
16 พฤษภาคม 2567 ถึง 31 กรกฎาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.นักเรียน ผู้ปกครองเเละบุคลากรทางการศึกษาโรงเรียนบ้านปากปิงรู้เเนวทางการดำเนินการกำจัดขยะอย่างถูกวิธีและโรคที่มากับขยะ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
4025.00

กิจกรรมที่ 4 จัดตั้งธนาคารขยะ

ชื่อกิจกรรม
จัดตั้งธนาคารขยะ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

รายละเอียดกิจกรรม

  1. จัดตั้งธนาคารขยะภายในโรงเรียน

  2. จัดทำระเบียบของธนาคารขยะในโรงเรียน

  3. จัดตั้งคณะทำงานธนาคารขยะจะมีการรับซื้อขยะจากห้องเรียนนักเรียน หรือผู้ปกครองนำมาขายโดยแกนนำ (อถล)

กิจกรรมธนาคารขยะมีดังนี้

3.1 รับซื้อ - รับบริจาคขยะในทุกวันอังคาร

3.2 คัดแยกประเภทขยะ

3.3 นำขยะไปขายต่อที่โรงรับซื้อของเก่าโดยนำเงินรายได้ไปเข้ากองทุนรายได้สถานศึกษา

เป้าหมาย

  • ธนาคารขยะในโรงเรียน จำนวน 1 แห่ง

งบประมาณ

  • กรงเหล็กแยกขยะรีไซเคิลพร้อมป้ายจำนวน 1 ชุด ๆ ขนาด 80 * 40 * 120 cm ชุดละ 9,000 บาท เป็นเงิน 9,000 บาท

  • ถุงดำ จำนวน 20 แพ็ค ๆ ละ 55 บาท เป็นเงิน 1,100 บาท

  • เข่งหรือตะกร้าใส่ขยะ จำนวน 4 ใบ ๆ ละ 199 บาท เป็นเงิน 796 บาท

  • กระดานไวท์บอร์ด ขนาด 60 * 80 จำนวน 1 อัน ๆ ละ 890 บาท เป็นเงิน 890 บาท

  • ปากกาไวท์บอร์ด จำนวน 1 กล่อง ๆ ละ 280 บาท เป็นเงิน 280 บาท

  • คัตเตอร์ขนาดใหญ่ จำนวน 1 กล่องๆ ละ 660 บาท เป็นเงิน 660 บาท

  • ใบมีดคัตเตอร์ จำนวน 1 กล่องๆ ละ 240 บาท เป็นเงิน 240 บาท

  • ตาชั่งปริง 15 กิโลกรัม จำนวน 1 เครื่องๆ ละ 1,150 บาท เป็นเงิน 1,150 บาท

รวมเป็นเงิน 14,116 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
16 พฤษภาคม 2567 ถึง 20 มีนาคม 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

มีธนาคารขยะจำนวน 1 ห้อง มีที่รับซื้อขยะและที่เก็บขยะมีมาตรฐาน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
14116.00

กิจกรรมที่ 5 การจัดการขยะอินทรีย์ในโรงเรียนและชุมชน

ชื่อกิจกรรม
การจัดการขยะอินทรีย์ในโรงเรียนและชุมชน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

รายละเอียดกิจกรรม

1.ให้ความรู้เกี่ยวการทำน้ำหมักชีวภาพ

2.ครูและนักเรียนร่วมกันทำน้ำหมักชีวภาพ

เป้าหมาย

  • นักเรียนชั้นป.1-ป.6 จำนวน 85 คน

  • ครูและบุคลากร 13 คน

    • ผู้ปกครอง(ชั้นอนุบาล2-3) จำนวน 20 คน

งบประมาณ

  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 118 คนๆละ 1 มื้อๆละ 25 บาท เป็นเงิน 2,950 บาท

  • ค่าตอบแทนวิทยากร 1 ท่าน จำนวน 2 ชั่วโมงๆละ 600 บาท เป็นเงิน 1,200 บาท

  • ค่าป้ายไวนิล ขนาด 1.5 x 3.0 เมตร จำนวน 1 ผืน เป็นเงิน 700 บาท

  • กากน้ำตาลขนาดจำนวน 10 ลิตร จำนวน 1 แกลอนๆ ละ 350 บาท เป็นเงิน 350 บาท

  • หัวเชื้อขนาดจำนวน 5 ลิตร จำนวน..1..แกลอนๆ ละ 350 บาท เป็นเงิน 350 บาท

  • ถังหมัก ขนาด 200 ลิตร จำนวน 5 ใบ ใบละ 850 บาท เป็นเงิน 4,250 บาท

กำหนดการการให้ความรู้ ส่งเสริมการทำน้ำหมักชีวภาพจากเศษอาหารและขยะมูลฝอย

8.00 - 9.00 น.ลงทะเบียนส่งเสริมการทำน้ำหมักชีวภาพจากเศษอาหารและขยะมูลฝอย

9.00 - 09.30 น. พิธีเปิดกิจกรรม

09.30 - 10.30 น. กิจกรรมส่งเสริมการทำน้ำหมักชีวภาพจากเศษอาหารและขยะมูลฝอย

10.30 - 11.00 น. พักรับประทานอาหารว่างและเครื่องดื่ม

11.00 - 12.00 น กิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการให้ความรู้การคัดแยกขยะแก่ผู้ร่วมโครงการ


รวมเป็นเงิน 9,800 บาท

  1. ควบคุมดูแลการจัดทำปุ๋ยหมักโดยแกนนำ(อถล)
ระยะเวลาดำเนินงาน
16 พฤษภาคม 2567 ถึง 31 ธันวาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

มีจุดทำขยะอินทรีย์ บริเวณโรงเรียน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
9800.00

กิจกรรมที่ 6 ผักสวนครัวปลอดสารพิษ ผลผลิตจากน้ำหมัก

ชื่อกิจกรรม
ผักสวนครัวปลอดสารพิษ ผลผลิตจากน้ำหมัก
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ปลูกผักปลอดสารพิษโดยใช้น้ำหมักชีวภาพ

งบประมาณ

•เมล็ดผัก เช่น เมล็ดผักบุ้ง ผักกาดขาว มะเขือยาว ถั่วฝักยาว ฯลฯ จำนวน 25 กระป๋องกระป๋องละ 80 บาทเป็นเงิน 2,000 บาท

เป้าหมาย

•นักเรียน 105 คน

•ครูและบุคลากร 13 คน

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มิถุนายน 2567 ถึง 31 ธันวาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

นักเรียนและบุคลากรในโรงเรียนได้รับประทานอาหารปลอดสารพิษ ในโครงการอาหารกลางวันของโรงเรียน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
2000.00

กิจกรรมที่ 7 กิจกรรมการถอดบทเรียน

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมการถอดบทเรียน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ให้นักเรียนเขียนสะท้อนความรู้ สิ่งที่ได้รับและร่วมกันถอดบทเรียนจากการเข้าร่วมโครงการ โดยเขียนลงในกระดาษบรู๊ฟ

  • งบประมาณ
  1. กระดาษ A4 จำนวน 1 ลังๆ ละ 750 บาท เป็นเงิน 750 บาท

  2. กระดาษบรู๊ฟ จำนวน 50 แผ่นๆ ละ 5 บาท คิดเป็นเงิน 250 บาท

  3. ปากกาเมจิก จำนวน 2 แพ็ค แพ็คละ 120 บาท คิดเป็นเงิน 240 บาท

รวมเงิน 1,240 บาท

เป้าหมาย

•นักเรียน 105 คน

•ครูและบุคลากร 13 คน

ระยะเวลาดำเนินงาน
3 มีนาคม 2568 ถึง 31 ธันวาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.ร้อยละ80ของผู้ร่วมโครงการมีความเข้าใจในการคัดแยกขยะ 2. ผูัเข้าร่วมโครงการสามารถถ่ายทอดความรู้ได้

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
1240.00

กิจกรรมที่ 8 จัดทำรูปเล่มรายงานโครงการ

ชื่อกิจกรรม
จัดทำรูปเล่มรายงานโครงการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

รายละเอียดกิจกรรม

  • รายงานผลและนำเสนอโครงการและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ จำนวน 2 ครั้ง

  • ค่าจัดทำรูปเล่มรายงานเมื่อเสร็จสิ้นโครงการ จำนวน 4 เล่มๆละ 250 บาท เป็นเงิน 1000 บาท

รวมเป็นเงิน 1,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
17 มีนาคม 2568 ถึง 31 ธันวาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
1000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 57,181.00 บาท

หมายเหตุ :
งบประมาณสามารถถัวเฉลี่ยได้ทุกรายการ

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

๑. ครู นักเรียน บุคลากรทางศึกษาและผู้ปกครอง สามารถคัดแยกขยะ นำขยะกลับไปใช้ประโยชน์ใหม่และปริมาณขยะในชุมชน และโรงเรียนลดลง
๒. ครู นักเรียน บุคลากรทางศึกษาและผู้ปกครอง มีระบบการจัดการขยะอย่างถูกวิธี


>