กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลเทพา

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการเฝ้าระวัง รณรงค์ ป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก เทศบาลตำบลเทพา

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลเทพา

กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลตำบลเทพา

พื้นที่เทศบาลตำบลเทพา

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง

 

100.00

ด้วยโรคไข้เลือดออก เป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศมานานแล้ว โดยมียุงลายเป็นพาหะ เนื่องจากโรคนี้มีแนวโน้มการระบาดในช่วงฤดูฝนของทุกปี และพบว่าประชากรที่ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกมากที่สุดโดยสถิติจากผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกในอำเภอเทพา จังหวัดสงขลาปี พ.ศ.2566 กลุ่มนักเรียนนักศึกษา ที่มีอายุ 10 -14 ปีมีอัตราการป่วยมากที่สุด รองลงมากลุ่มนักเรียนนักศึกษา ที่มีอายุ 5 - 9ปีปัจจุบันยังพบผู้ป่วยไข้เลือดออกในผู้ใหญ่และมีการเกิดโรคตลอดทั้งปีอีกด้วย การดำเนินงานควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกให้ประสบผลสำเร็จและเกิดประสิทธิภาพนั้นจำเป็นต้องระดมความร่วมมือจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องในการกำจัดลูกน้ำยุงลายที่เป็นพาหะนำโรคและรณรงค์ให้ชุมชนตระหนักถึงความสำคัญของปัญหาโรคไข้เลือดออกและร่วมมือกันเฝ้าระวังป้องกันการแพร่ระบาดของโรคการป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออกอย่างมีประสิทธิภาพ ควรต้องเตรียมพร้อมควบคุม กำจัดยุงลายก่อนจะถึงช่วงฤดูกาลระบาดของโรค เพื่อลดจำนวนประชากรยุงลายในพื้นที่ และเมื่อมีเหตุระบาดของโรคไข้เลือดออกจะต้องเร่งดำเนินการควบคุมโดยการพ่นยุงรอบบ้านผู้ป่วยในรัศมี 100 เมตร ภายในเวลา 24 ชั่วโมง เพื่อเป็นการควบคุมไม่ให้ยุงลายไปแพร่เชื้อแก่บุคคลอื่น หรือชุมชนรอบข้าง กรอบกับตามพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ.2496 แก้ไขเพิ่มเติมถึงฉบับที่ 13 พ.ศ. 2552 มาตรา 50(4) การป้องกันและระงับโรคติดต่อ ซึ่งเทศบาลมีหน้าที่ที่จะต้องดำเนินการในการป้องกันโรคติดต่อเผ้าระวังและระงับโรคติดต่อ
เทศบาลตำบลเทพาเป็นพื้นที่หนึ่งที่พบผู้ป่วย เพื่อเป็นการเฝ้าระวังและควบคุมการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกรวมทั้งเป็นการป้องกันและทำลายแหล่งเพาะพันธ์ยุงลายรวมถึงการกำจัดลูกน้ำยุงลายที่เป็นพาหนะนำโรคไข้เลือดออกในครัวเรือน หมู่บ้าน วัด โรงเรียน อย่างต่อเนื่อง กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลตำบลเทพา จึงได้จัดทำโครงการเฝ้าระวัง รณรงค์ ป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก เทศบาลตำบลเทพาขึ้น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 ข้อที่ 1. เพื่อป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกไม่ให้ระบาดในพื้นที่

ผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกในพื้นที่ลดลง เทียบกับต่อแสนประชากร

0.00
2 ข้อที่ 2.เพื่อเป็นการทำลายแหล่งเพาะพันธ์ยุงลายในชุมชน โรงเรียน วัด มัสยิด

พื้นที่แหล่งน้ำที่มีน้ำขังเน่าเสียและมีลูกน้ำยุงลายลดจำนวนลง

0.00
3 ข้อที่ 3.เพื่อให้ประชาชนมีความรู้เรื่องโรคและวิธีการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออก

ประชาชนในพื้นที่มีความรู้ความเข้าใจในการป้องกันโรคไข้เลือดออก

0.00
4 ข้อที่ 4.เพื่อสร้างความร่วมมือและส่งเสริมการทำงานร่วมกับชุมชนและภาคีเครือข่ายในการแก้ไขปัญหาโรคไข้เลือดออก

ได้รับความร่วมมือในการแก้ไขปัญหาจากภาคีเครือข่ายในการป้องกันและระงับโรคไข้เลือดออก

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/02/2024

กำหนดเสร็จ 31/10/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมพ่นหมอกควันกำจัดยุงลาย

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมพ่นหมอกควันกำจัดยุงลาย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

พ่นหมอกควันโรงเรียนในพื้นที่จำนวน 3 แห่ง,ศพด. จำนวน 2 แห่ง,มัสยิด จำนวน 1 แห่ง,วัด จำนวน 1 แห่ง รวม 7 แห่งโดยออกพ่นหมอกควันก่อนเปิดภาคการเรียน จำนวน 2 ครั้งต่อปี -พ่นหมอกควันในพื้นที่ที่มีการระบาดของยุงลายในรัศมีพื้นที่ 100 เมตร -พ่นหมอกควันตามสถานที่กำหนด จำนวน 7 แห่ง
ครั้งที่ 1 เป็นเงิน 2,800.-บาท -พ่นหมอกควันตามสถานที่กำหนด จำนวน 7 แห่ง ครั้งที่ 2เป็นเงิน2,800.-บาท - ค่าน้ำมันดีเซล20ลิตรๆละ 30 บาทเป็นเงิน600บาท - ค่าน้ำมันเบนซินจำนวน20 ลิตรๆละ 35 บาทเป็นเงิน700 บาท พ่นหมอกควันในพื้นที่ที่มีการระบาดของยุงลายในรัศมีพื้นที่ 100 เมตร(กรณีควบคุมโรคภายใน 24 ชั่วโมง) ครั้งละ 2 คน คนละ 200 บาท จำนวน 35 ครั้ง เป็นเงิน 14,000.บาท - ค่าน้ำมันดีเซล1ลิตรๆละ 30 บาทจำนวน 35 ครั้ง เป็นเงิน1,050บาท - ค่าน้ำมันเบนซินจำนวน1 ลิตรๆละ 35 บาท จำนวน 35 ครั้งเป็นเงิน1,225 บาท -น้ำยาเคมีกำจัดยุง 25% เป็นเงิน5,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
9 พฤษภาคม 2567 ถึง 30 ตุลาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
28175.00

กิจกรรมที่ 2 2. กิจกรรมแจกทรายอะเบทแจกทรายอะเบท

ชื่อกิจกรรม
2. กิจกรรมแจกทรายอะเบทแจกทรายอะเบท
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ทรายอะเบท 1% ชนิดถัง 14 ถัง
ถังละ 350 บาท  เป็นเงิน 4,900 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2567 ถึง 30 มกราคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
4900.00

กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมรณรงค์ประชาสัมพันธ์การควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออก

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมรณรงค์ประชาสัมพันธ์การควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออก
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ป้ายไวนิล ขนาด 1 x 2 จำนวน 2 ป้าย  เป็นเงิน 600บาท - เอกสารความรู้เรื่องโรคไข้เลือดออก 200 ฉบับ x 5 บาท =1,000 บาท - ค่าใช้จ่ายเบ็ดเตล็ด เป็นเงิน  325 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2567 ถึง 30 ตุลาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
1925.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 35,000.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. สามารถควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกไม่ให้ระบาดในพื้นที่
2. สามารถทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายในชุมชน โรงเรียน วัด และมัสยิด
3. ประชาชนมีความรู้เรื่องโรคและวิธีการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออก
4. ประชาชนตลอดจนหน่วยงานเห็นความสำคัญและมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาโรคไข้เลือดออก


>