กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการเฝ้าระวัง รณรงค์ ป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก เทศบาลตำบลเทพา
รหัสโครงการ 67-L5190-1-03
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลตำบลเทพา
วันที่อนุมัติ 8 มกราคม 2567
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กุมภาพันธ์ 2567 - 31 ตุลาคม 2567
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2567
งบประมาณ 35,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลเทพา อำเภอเทพา จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.827196,100.968025place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
100.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ด้วยโรคไข้เลือดออก เป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศมานานแล้ว โดยมียุงลายเป็นพาหะ เนื่องจากโรคนี้มีแนวโน้มการระบาดในช่วงฤดูฝนของทุกปี และพบว่าประชากรที่ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกมากที่สุดโดยสถิติจากผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกในอำเภอเทพา จังหวัดสงขลาปี พ.ศ.2566 กลุ่มนักเรียนนักศึกษา ที่มีอายุ 10 -14 ปีมีอัตราการป่วยมากที่สุด รองลงมากลุ่มนักเรียนนักศึกษา ที่มีอายุ 5 - 9ปีปัจจุบันยังพบผู้ป่วยไข้เลือดออกในผู้ใหญ่และมีการเกิดโรคตลอดทั้งปีอีกด้วย การดำเนินงานควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกให้ประสบผลสำเร็จและเกิดประสิทธิภาพนั้นจำเป็นต้องระดมความร่วมมือจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องในการกำจัดลูกน้ำยุงลายที่เป็นพาหะนำโรคและรณรงค์ให้ชุมชนตระหนักถึงความสำคัญของปัญหาโรคไข้เลือดออกและร่วมมือกันเฝ้าระวังป้องกันการแพร่ระบาดของโรคการป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออกอย่างมีประสิทธิภาพ ควรต้องเตรียมพร้อมควบคุม กำจัดยุงลายก่อนจะถึงช่วงฤดูกาลระบาดของโรค เพื่อลดจำนวนประชากรยุงลายในพื้นที่ และเมื่อมีเหตุระบาดของโรคไข้เลือดออกจะต้องเร่งดำเนินการควบคุมโดยการพ่นยุงรอบบ้านผู้ป่วยในรัศมี 100 เมตร ภายในเวลา 24 ชั่วโมง เพื่อเป็นการควบคุมไม่ให้ยุงลายไปแพร่เชื้อแก่บุคคลอื่น หรือชุมชนรอบข้าง กรอบกับตามพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ.2496 แก้ไขเพิ่มเติมถึงฉบับที่ 13 พ.ศ. 2552 มาตรา 50(4) การป้องกันและระงับโรคติดต่อ ซึ่งเทศบาลมีหน้าที่ที่จะต้องดำเนินการในการป้องกันโรคติดต่อเผ้าระวังและระงับโรคติดต่อ
เทศบาลตำบลเทพาเป็นพื้นที่หนึ่งที่พบผู้ป่วย เพื่อเป็นการเฝ้าระวังและควบคุมการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกรวมทั้งเป็นการป้องกันและทำลายแหล่งเพาะพันธ์ยุงลายรวมถึงการกำจัดลูกน้ำยุงลายที่เป็นพาหนะนำโรคไข้เลือดออกในครัวเรือน หมู่บ้าน วัด โรงเรียน อย่างต่อเนื่อง กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลตำบลเทพา จึงได้จัดทำโครงการเฝ้าระวัง รณรงค์ ป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก เทศบาลตำบลเทพาขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 ข้อที่ 1. เพื่อป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกไม่ให้ระบาดในพื้นที่

ผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกในพื้นที่ลดลง เทียบกับต่อแสนประชากร

0.00
2 ข้อที่ 2.เพื่อเป็นการทำลายแหล่งเพาะพันธ์ยุงลายในชุมชน โรงเรียน วัด มัสยิด

พื้นที่แหล่งน้ำที่มีน้ำขังเน่าเสียและมีลูกน้ำยุงลายลดจำนวนลง

0.00
3 ข้อที่ 3.เพื่อให้ประชาชนมีความรู้เรื่องโรคและวิธีการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออก

ประชาชนในพื้นที่มีความรู้ความเข้าใจในการป้องกันโรคไข้เลือดออก

0.00
4 ข้อที่ 4.เพื่อสร้างความร่วมมือและส่งเสริมการทำงานร่วมกับชุมชนและภาคีเครือข่ายในการแก้ไขปัญหาโรคไข้เลือดออก

ได้รับความร่วมมือในการแก้ไขปัญหาจากภาคีเครือข่ายในการป้องกันและระงับโรคไข้เลือดออก

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 35,000.00 0 0.00
1 มี.ค. 67 - 30 ม.ค. 67 2. กิจกรรมแจกทรายอะเบทแจกทรายอะเบท 0 4,900.00 -
1 มี.ค. 67 - 30 ต.ค. 67 กิจกรรมรณรงค์ประชาสัมพันธ์การควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออก 0 1,925.00 -
9 พ.ค. 67 - 30 ต.ค. 67 กิจกรรมพ่นหมอกควันกำจัดยุงลาย 0 28,175.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. สามารถควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกไม่ให้ระบาดในพื้นที่
  2. สามารถทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายในชุมชน โรงเรียน วัด และมัสยิด
  3. ประชาชนมีความรู้เรื่องโรคและวิธีการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออก
  4. ประชาชนตลอดจนหน่วยงานเห็นความสำคัญและมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาโรคไข้เลือดออก
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 20 ธ.ค. 2566 00:00 น.