กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลหารเทา

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการปันยิ้มสร้างสุข ผู้สูงวัยเสริมพลังกายและใจห่างไกลโรค ประจำปี 2567

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลหารเทา

ศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตและส่งเสริมอาชีพผู้สูงอายุตำบลหารเทา

1 นายสวัสดิ์ จอมนุ้ย
2 นายชำนาญ จันทร์ดำ
3 นายถาวรชุมปรางค์
4 นายประชา สงเขียว
5 นายวิจิตร สุขเอียด

อาคารอเนกประสงค์เทศบาลตำบลหารเทา (ตลาดโค้ง)

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานผู้สูงอายุ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ปัจจุบันโครงสร้างประชากรของประเทศไทยได้เข้าสู่สังคมผู้สูงวัยที่มีจำนวนเพิ่มมากขึ้น ส่งผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคมทั้งระดับครัวเรือนและระดับประเทศ จากอัตราส่วนภาระพึ่งพิงหรือภาระโดยรวมของประชากรวัยทำงาน ที่จะต้องเลี้ยงดูประชากรวัยสูงอายุที่มีจำนวนเพิ่มขึ้นนี้ จึงกลายเป็นปัญหาสำคัญในด้านการจัดสวัสดิการและดูแลสุขภาพของผู้สูงวัย เนื่องจากวัยสูงอายุจะมีภาวะความเสื่อมของร่างกายและอวัยวะต่างๆ ซึ่งมีความเสี่ยงที่จะเกิดโรคต่างๆได้ง่ายขึ้น รวมถึงผลกระทบทางด้านจิตใจความเครียดสะสม ความเหงาและความรู้สึกโดดเดี่ยวที่อาจเกิดขึ้นได้ เช่น ความรู้สึกน้อยใจด้อยคุณค่าตนเองหรือภาวะซึมเศร้า เนื่องจากการขาดการดูแลเอาใจใส่จากสมาชิกในครอบครัว จากการที่สมาชิกในครอบครัวมีภาระความจำเป็นและเร่งรีบในการทำงานประกอบอาชีพ จึงมีเวลาดูแลเอาใจใส่ผู้สูงอายุได้น้อยลง หรือการที่ผู้สูงวัยบางคนต้องอยู่อาศัยในบ้านเพียงลำพัง เป็นปัจจัยหนึ่งที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพทางร่างกายและจิตใจของผู้สูงอายุ ด้วยเหตุนี้การแก้ไขปัญหาด้านการดูแลผู้สูงอายุจึงเป็นอีกหนึ่งเรื่องที่ทุกภาคส่วนของสังคมต้องร่วมมือกันและให้ความสำคัญในการดำเนินการ
ศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตและส่งเสริมอาชีพผู้สูงอายุเทศบาลตำบลหารเทา ตระหนักถึงความสำคัญของผู้สูงวัย และมุ่งหวังที่จะส่งเสริมสุขภาพและคุณค่าในชีวิตของบุคคลกลุ่มนี้ ให้มีสุขภาพที่ดีและมีคุณภาพชีวิตที่เต็มไปด้วยความสุขอยู่เสมอ เป็นทรัพยากรบุคคลที่สูงวัยอย่างทรงคุณค่าในชุมชน อีกทั้งเชื่อว่าการดำเนินการเช่นนี้จะช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายในการดูแลสุขภาพของผู้สูงวัยได้อีกทางหนึ่ง จึงได้จัดทำโครงการ “ปันยิ้มสร้างสุขผู้สูงวัย เสริมพลังกายและใจห่างไกลโรค” ประจำปีงบประมาณ 2567 ขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อดำเนินกิจกรรมเสริมสร้างสุขภาวะและการจัดการเชิงรุกในการดูแลสุขภาพของผู้สูงวัย เน้นการฝึกอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพทั้งด้านร่างกายและจิตใจ การออกกำลังกายที่เหมาะสมตามวัย การละเล่นแลกเปลี่ยนเรียนรู้สร้างสัมพันธ์ทางสังคมที่ดี และส่งเสริมความร่วมมือทุกภาคส่วนของชุมชนในการดูแลผู้สูงวัยอย่างยั่งยืนต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อส่งเสริมให้ผู้สูงวัยมีความรู้การดูแลสุขภาพตนเองทั้งร่างกายและจิตใจ

 

0.00
2 2.เพื่อส่งเสริมให้ผู้สูงวัยมีความรู้การออกกำลังกายอย่างเหมาะสมตามวัย

 

0.00
3 3.เพื่อส่งเสริมให้ผู้สูงวัยรวมกลุ่มมีกิจกรรมการละเล่นเสริมสร้างสุขภาพผูกความสัมพันธ์ในชุมชน

 

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ 339
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/07/2024

กำหนดเสร็จ 30/09/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ประชุมคณะทำงาน ศพอส. เจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้อง และภาคีเครือข่าย

ชื่อกิจกรรม
ประชุมคณะทำงาน ศพอส. เจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้อง และภาคีเครือข่าย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.1 ประชุมคณะทำงาน วางแผนการดำเนินงานโครงการฯ ประกอบด้วย คณะกรรมการ ศพอส. 39 คน เจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้อง 2 คน รวมจำนวน41คน
- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม1 มื้อ ๆ ละ 30 บาท จำนวน 41 คน เป็นเงิน 1,230 บาท 2.2 ประชุมคณะทำงานและภาคีเครือข่าย เตรียมความพร้อมดำเนินงานโครงการ ประกอบด้วย กำนัน/ผู้ใหญ่บ้าน จำนวน 11 คน , ตัวแทน รพ.สต. จำนวน 4 คน , ตัวแทน อสม. จำนวน 11 คน , ผู้บริหารและสมาชิกสภาเทศบาล จำนวน 17 คน , คณะกรรมการ ศพอส. จำนวน 39 คน และเจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้อง จำนวน 2 คน รวมทั้งสิ้น จำนวน84 คน
-ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 1 มื้อ ๆ ละ 30 บาท จำนวน 84 คน เป็นเงิน 2,520บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กรกฎาคม 2567 ถึง 31 กรกฎาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
3750.00

กิจกรรมที่ 2 จัดอบรมให้ความรู้ สาธิตและฝึกปฏิบัติแก่ผู้สูงวัย

ชื่อกิจกรรม
จัดอบรมให้ความรู้ สาธิตและฝึกปฏิบัติแก่ผู้สูงวัย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

รายละเอียดกิจกรรม
1 การฝึกอบรมให้ความรู้ แบ่งกลุ่มสาธิตและฝึกปฏิบัติ การดูแลสุขภาพทั้งด้านร่างกายและจิตใจ
2 การฝึกอบรมให้ความรู้แบ่งกลุ่มสาธิตและฝึกปฏิบัติการออกกำลังกายที่เหมาะสมตามวัย
กลุ่มเป้าหมายผู้เข้าร่วมโครงการประกอบด้วย คณะกรรมการ ศพอส. และผู้สูงวัย จำนวน 339 คน ใช้เวลาฝึกอบรม 2 วัน
วันที่ 1
(1) ค่าอาหาร สำหรับผู้สูงวัย 300 คน วิทยากร 3 คน และคณะกก.ศพอส. 39 คน เป็นจำนวน 342 คน ๆ ละ 1 มื้อ ๆ ละ 70 บาท เป็นเงิน 23,940 บาท
(2) ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม สำหรับผู้สูงวัย 300 คน วิทยากร 3 คน และคณะกก.ศพอส. 39 คน เป็นจำนวน 342 คน ๆ ละ 2 มื้อๆละ 30 บาท เป็นเงิน 20,520 บาท
(3) ค่าสมนาคุณวิทยากร จำนวน 6 คน ๆ ละ 3 ชั่วโมง ๆ ละ 600 บาท เป็นเงิน 10,800 บาท
(4) ค่าไวนิลป้ายโครงการ ขนาด 1.2 x 2.5 เมตร จำนวน ๑ ป้าย เป็นเงิน 600 บาท
วันที่ 2
(1) ค่าอาหาร สำหรับผู้สูงวัย 300 คน วิทยากร 3 คน และคณะ กก.ศพอส. 39 คน เป็นจำนวน 342 คน ๆ ละ 1 มื้อ ๆ ละ 70 บาท เป็นเงิน 23,940 บาท
(2) ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม สำหรับผู้สูงวัย 300 คน วิทยากร 3 คน และคณะกก.ศพอส. 39 คน เป็นจำนวน 342 คน ๆ ละ 2 มื้อ ๆ ละ 30 บาท เป็นเงิน 20,520 บาท
(3) ค่าสมนาคุณวิทยากร จำนวน 6 คน ๆ ละ 3 ชั่วโมง ๆ ละ 600 บาท เป็นเงิน 10,800 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กรกฎาคม 2567 ถึง 31 กรกฎาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
111120.00

กิจกรรมที่ 3 จัดกิจกรรม เดินรณรงค์การออกกำลังกาย นันทนาการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การละเล่นพื้นบ้านปันยิ้มสร้างสุข เสริมสร้างสุขภาพผูกความสัมพันธ์ให้ผู้สูงวัย

ชื่อกิจกรรม
จัดกิจกรรม เดินรณรงค์การออกกำลังกาย นันทนาการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การละเล่นพื้นบ้านปันยิ้มสร้างสุข เสริมสร้างสุขภาพผูกความสัมพันธ์ให้ผู้สูงวัย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

แบ่งกลุ่ม จำนวน 6 กลุ่ม เพื่อทำกิจกรรม
1. กิจกรรมเดินรณรงค์การออกกำลังกายเพื่อเสริมสร้างสุขภาพอย่างเหมาะสมสำหรับผู้สูงวัย
2. กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ กิน – อยู่ อย่างไรให้ 100 ปี
3. กิจกรรมการละเล่นพื้นบ้านเพื่อสุขภาพและเสริมสร้างความสัมพันธ์ระหว่างผู้สูงวัยในชุมชน
กลุ่มเป้าหมายผู้เข้าร่วมโครงการประกอบด้วย คณะกรรมการ ศพอส. และผู้สูงวัย จำนวน 339 คน ใช้เวลาจัดกิจกรรม 1 วัน
(1) ค่าอาหาร สำหรับผู้สูงวัย 300 คนวิทยากร 12 คน และคณะกรรมการ ศพอส. 39 คน เป็นจำนวน 351 คน ๆ ละ 1 มื้อ ๆ ละ 70 บาท เป็นเงิน24,570 บาท
(2) ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม สำหรับผู้สูงวัย วิทยากร และคณะกรรมการ ศพอส.จำนวน 351 คน ๆ ละ 2 มื้อ ๆ ละ 30 บาท เป็นเงิน21,060 บาท
(3) ค่าสมนาคุณวิทยากร จำนวน 6 คน ๆ ละ 6 ชั่วโมง ๆ ละ 600 บาท เป็นเงิน 21,600 บาท
(4) ค่าเช่าอุปกรณ์ต่างๆในการฝึกอบรม เช่น เต้นท์ โต๊ะ เก้าอี้ เครื่องเสียง เป็นเงิน 25,000 บาท
(5) ค่าอุปกรณ์การละเล่นพื้นบ้าน เป็นเงิน 5,000 บาท (6) ค่าไวนิลป้ายประชาสัมพันธ์รณรงค์ จำนวน 7 ป้าย เป็นเงิน 4,200 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 สิงหาคม 2567 ถึง 31 สิงหาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
101430.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 216,300.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

ผู้สูงวัยที่ผ่านโครงการ “ปันยิ้มสร้างสุขผู้สูงวัย เสริมพลังกายและใจห่างไกลโรค” จะเป็นผู้สูงวัยที่ห่างไกลภัยความเหงาและความโดดเดี่ยว มีความรู้ความเข้าใจในการออกกำลังกายที่เหมาะสมตามวัยได้อย่างถูกต้องปลอดภัย มีความสามารถเบื้องต้นในการดูแลสุขภาพตนเองทั้งร่างกายและจิตใจอย่างมีความสุขอยู่เสมอ ลดภาวะพึ่งพิงและค่าใช้จ่ายที่จำเป็นในการดูแลรักษา มีปฏิสัมพันธ์ทางสังคมที่ดีทั้งระดับครอบครัวและชุมชนที่อาศัยอยู่ เสริมสร้างความสัมพันธ์สามารถแลกเปลี่ยนเรียนรู้ถึงวิธีการดูแลสุขภาพ และเป็นแบบอย่างถ่ายทอดแก่ผู้สูงวัยรายอื่นในชุมชนได้ต่อไป


>