กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการปันยิ้มสร้างสุข ผู้สูงวัยเสริมพลังกายและใจห่างไกลโรค ประจำปี 2567
รหัสโครงการ 67-L3339-03-01
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 3 สนับสนุนการจัดกิจกรรมของ ศูนย์เด็กเล็ก/ผู้สูงอายุ/คนพิการ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตและส่งเสริมอาชีพผู้สูงอายุตำบลหารเทา
วันที่อนุมัติ 13 กุมภาพันธ์ 2567
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กรกฎาคม 2567 - 30 กันยายน 2567
กำหนดวันส่งรายงาน 15 ตุลาคม 2567
งบประมาณ 216,300.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ ศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตและส่งเสริมอาชีพผู้สูงอายุตำบลหารเทา
พี่เลี้ยงโครงการ นางวาลัยพร ด้วงคง
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลหารเทา อำเภอปากพะยูน จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานผู้สูงอายุ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มผู้สูงอายุ 339 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้สูงอายุ :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัจจุบันโครงสร้างประชากรของประเทศไทยได้เข้าสู่สังคมผู้สูงวัยที่มีจำนวนเพิ่มมากขึ้น ส่งผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคมทั้งระดับครัวเรือนและระดับประเทศ จากอัตราส่วนภาระพึ่งพิงหรือภาระโดยรวมของประชากรวัยทำงาน ที่จะต้องเลี้ยงดูประชากรวัยสูงอายุที่มีจำนวนเพิ่มขึ้นนี้ จึงกลายเป็นปัญหาสำคัญในด้านการจัดสวัสดิการและดูแลสุขภาพของผู้สูงวัย เนื่องจากวัยสูงอายุจะมีภาวะความเสื่อมของร่างกายและอวัยวะต่างๆ ซึ่งมีความเสี่ยงที่จะเกิดโรคต่างๆได้ง่ายขึ้น รวมถึงผลกระทบทางด้านจิตใจความเครียดสะสม ความเหงาและความรู้สึกโดดเดี่ยวที่อาจเกิดขึ้นได้ เช่น ความรู้สึกน้อยใจด้อยคุณค่าตนเองหรือภาวะซึมเศร้า เนื่องจากการขาดการดูแลเอาใจใส่จากสมาชิกในครอบครัว จากการที่สมาชิกในครอบครัวมีภาระความจำเป็นและเร่งรีบในการทำงานประกอบอาชีพ จึงมีเวลาดูแลเอาใจใส่ผู้สูงอายุได้น้อยลง หรือการที่ผู้สูงวัยบางคนต้องอยู่อาศัยในบ้านเพียงลำพัง เป็นปัจจัยหนึ่งที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพทางร่างกายและจิตใจของผู้สูงอายุ ด้วยเหตุนี้การแก้ไขปัญหาด้านการดูแลผู้สูงอายุจึงเป็นอีกหนึ่งเรื่องที่ทุกภาคส่วนของสังคมต้องร่วมมือกันและให้ความสำคัญในการดำเนินการ
ศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตและส่งเสริมอาชีพผู้สูงอายุเทศบาลตำบลหารเทา ตระหนักถึงความสำคัญของผู้สูงวัย และมุ่งหวังที่จะส่งเสริมสุขภาพและคุณค่าในชีวิตของบุคคลกลุ่มนี้ ให้มีสุขภาพที่ดีและมีคุณภาพชีวิตที่เต็มไปด้วยความสุขอยู่เสมอ เป็นทรัพยากรบุคคลที่สูงวัยอย่างทรงคุณค่าในชุมชน อีกทั้งเชื่อว่าการดำเนินการเช่นนี้จะช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายในการดูแลสุขภาพของผู้สูงวัยได้อีกทางหนึ่ง จึงได้จัดทำโครงการ “ปันยิ้มสร้างสุขผู้สูงวัย เสริมพลังกายและใจห่างไกลโรค” ประจำปีงบประมาณ 2567 ขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อดำเนินกิจกรรมเสริมสร้างสุขภาวะและการจัดการเชิงรุกในการดูแลสุขภาพของผู้สูงวัย เน้นการฝึกอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพทั้งด้านร่างกายและจิตใจ การออกกำลังกายที่เหมาะสมตามวัย การละเล่นแลกเปลี่ยนเรียนรู้สร้างสัมพันธ์ทางสังคมที่ดี และส่งเสริมความร่วมมือทุกภาคส่วนของชุมชนในการดูแลผู้สูงวัยอย่างยั่งยืนต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อส่งเสริมให้ผู้สูงวัยมีความรู้การดูแลสุขภาพตนเองทั้งร่างกายและจิตใจ

 

0.00
2 2.เพื่อส่งเสริมให้ผู้สูงวัยมีความรู้การออกกำลังกายอย่างเหมาะสมตามวัย

 

0.00
3 3.เพื่อส่งเสริมให้ผู้สูงวัยรวมกลุ่มมีกิจกรรมการละเล่นเสริมสร้างสุขภาพผูกความสัมพันธ์ในชุมชน

 

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 216,300.00 0 0.00
1 - 31 ก.ค. 67 ประชุมคณะทำงาน ศพอส. เจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้อง และภาคีเครือข่าย 0 3,750.00 -
1 - 31 ก.ค. 67 จัดอบรมให้ความรู้ สาธิตและฝึกปฏิบัติแก่ผู้สูงวัย 0 111,120.00 -
1 - 31 ส.ค. 67 จัดกิจกรรม เดินรณรงค์การออกกำลังกาย นันทนาการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การละเล่นพื้นบ้านปันยิ้มสร้างสุข เสริมสร้างสุขภาพผูกความสัมพันธ์ให้ผู้สูงวัย 0 101,430.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

ผู้สูงวัยที่ผ่านโครงการ “ปันยิ้มสร้างสุขผู้สูงวัย เสริมพลังกายและใจห่างไกลโรค” จะเป็นผู้สูงวัยที่ห่างไกลภัยความเหงาและความโดดเดี่ยว มีความรู้ความเข้าใจในการออกกำลังกายที่เหมาะสมตามวัยได้อย่างถูกต้องปลอดภัย มีความสามารถเบื้องต้นในการดูแลสุขภาพตนเองทั้งร่างกายและจิตใจอย่างมีความสุขอยู่เสมอ ลดภาวะพึ่งพิงและค่าใช้จ่ายที่จำเป็นในการดูแลรักษา มีปฏิสัมพันธ์ทางสังคมที่ดีทั้งระดับครอบครัวและชุมชนที่อาศัยอยู่ เสริมสร้างความสัมพันธ์สามารถแลกเปลี่ยนเรียนรู้ถึงวิธีการดูแลสุขภาพ และเป็นแบบอย่างถ่ายทอดแก่ผู้สูงวัยรายอื่นในชุมชนได้ต่อไป

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 19 ม.ค. 2567 00:00 น.