2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
3. สถานการณ์
สุขภาพจิตเป็นการที่บุคคลรับรู้คุณค่าในตนเอง สามารถจัดการควบคุมตนเองได้อย่างเหมาะสม ปราศจากความกังวลไม่สมเหตุสมผล และสามารถเผชิญปัญหาหรือความเครียดได้อย่างเหมาะสม นอกจากนี้ในด้านสังคม สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้ ยอมรับและพึงพอใจในการใช้ชีวิตของตนเอง ซึ่งปัจจัยที่มีผลต่อสุขภาพจิตของบุคคลสามารถแบ่งเป็นปัจจัยภายใน เช่นลักษณะนิสัย บุคลิกภาพ การจัดการปัญหา เป็นต้น ส่วนปัจจัยภายนอกและสภาพแวดล้อม เช่น ปัญหาสัมพันธภาพในครอบครัว เศรษฐกิจ ภาระหนี้สิน ปัญหาการเมือง การไม่มีที่อยู่อาศัย ปัญหาอาชญากรรมและสารเสพติด เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีกลุ่มเสี่ยงที่มีแนวโน้มที่จะเกิดปัญหาสุขภาพจิตที่พบได้บ่อย ได้แก่ ผู้ป่วยเรื้อรัง ผู้พิการ เป็นต้น เนื่องจากข้อจำกัดในการดำรงชีวิตเพิ่มมากขึ้นกว่าบุคคลทั่วไป จึงทำให้เกิดความเครียดหรือปัญหาสุขภาพจิตอื่นได้ง่ายกว่าบุคคลทั่วไป
ในพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลบางเขา พบว่าหลายๆครอบครัวผู้สูงอายุ เด็กเล็กมักถูกทอดทิ้งโดยมีสาเหตุจากการที่บุตรหลานไปทำงานต่างถิ่นในประเทศมาเลเซียหรือต่างจังหวัด บางครอบครัวมีการสูญเสียบุตรหลาน ผู้นำครอบครัวจากเหตุการณ์ความไม่สงบในพื้นที่ ผู้สูงอายุถูกลดคุณค่าและบทบาทในการดำเนินชีวิตส่งผลให้เกิดความเครียดและอาจนำไปสู่ปัญหาสุขภาพได้ จากสภาพปัญหาดังกล่าวการแก้ไขปัญหาในเบื้องต้นควรเริ่มจากสถาบันครอบครัวที่จะแก้ปัญหาการลดช่องว่างระหว่างวัยซึ่งนับเป็นปัญหาหลักที่เกี่ยวข้องต่อการดูแลทางด้านจิตใจ เช่น การเอาใจใส่พูดคุยอย่างสม่ำเสมอ การให้ความรักความเคารพ การยกย่องยอมรับนับถือ การพาผู้สงอายุ ไปท่องเที่ยวตามโอกาสและสถานที่ที่เหมาะสม การแสดงให้เห็นความสำคัญตามวันสำคัญต่าง ๆการดูแลด้านสังคม เช่น การแสดงความยินดีที่จะพาผู้สูงอายุไปร่วมกิจกรรมทางสังคมที่เหมาะสม ตามที่ผู้สูงอายุต้องการ เป็นต้น การดูแลด้านเศรษฐกิจ โดยการดูแลเอาใจใส่ช่วยเหลือในด้านการเงินอย่างเพียงพอและสม่ำเสมอ และไม่ควรเบียดเบียนด้านการเงินของผู้สูงอายุ นอกจากนี้ ครอบครัวควรให้ความสำคัญ และความสนใจในนำเทคโนโลยีสื่อสารสมัยใหม่มาใช้กับผู้สูงอายุ อย่างเหมาะสม เพื่อลดปัญหาช่องว่างระหว่างวัย ใช้เป็นเครื่องมือในการสื่อสารกับสมาชิกในครอบครัว ช่วยให้ ผู้สูงอายุอยู่ในสังคมและครอบครัวได้อย่างมีศักดิ์ศรี และมีคุณค่าในตนเอง รวมถึงการใช้เทคโนโลยีเพื่อการเรียนรู้ประสบการณ์แปลกใหม่ ค้นหาข้อมูลต่าง ๆ ในการดูแลสุขภาพ ในการส่งเสริมคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ
4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด
- บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
- ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
5. กลุ่มเป้าหมาย
6. ระยะเวลาดำเนินงาน
วันเริ่มต้น 17/01/2024
กำหนดเสร็จ 29/03/2024
7. วิธีการดำเนินงาน
- กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
- งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด
หมายเหตุ :
8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง
ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?1. ลดอัตราการเกิดปัญหาสุขภาพจิตหรือการเจ็บป่วยทางจิตในพื้นที่
2. ประชาชนสามารถจัดการปัญหาเกี่ยวกับสุขภาพทางจิต สุขภาพทางกาย สุขภาพทางใจ ที่ก่อให้เกิดโรคเครียด โรคซึมเศร้า ฯลฯ ได้อย่างถูกวิธี
3. สร้างขวัญและกำลังใจให้แก่กลุ่มเปราะบาง ผู้ป่วยเรื้อรัง ผู้พิการ และผู้ยากไร้