โครงการสุขภาพจิตพิชิตสุขภาพใจ ลดช่องว่างระหว่างวัย เพิ่มความเข้าใจในครอบครัว ประจำปีงบประมาณ 2567
ชื่อโครงการ | โครงการสุขภาพจิตพิชิตสุขภาพใจ ลดช่องว่างระหว่างวัย เพิ่มความเข้าใจในครอบครัว ประจำปีงบประมาณ 2567 |
รหัสโครงการ | 67-L3067-01-04 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อมอบต.บางเขา |
วันที่อนุมัติ | 17 มกราคม 2567 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 17 มกราคม 2567 - 30 กันยายน 2567 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 30 กันยายน 2567 |
งบประมาณ | 29,430.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นางอุบล วัฒนศักดิ์ภูบาล |
พี่เลี้ยงโครงการ | นายมูหะหมัด วันสุไลมาน |
พื้นที่ดำเนินการ | พื้นที่ ตำบลบางเขา อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี |
ละติจูด-ลองจิจูด | place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ | ||
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ | 30 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ : |
||
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง | 30 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง : |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
สุขภาพจิตเป็นการที่บุคคลรับรู้คุณค่าในตนเอง สามารถจัดการควบคุมตนเองได้อย่างเหมาะสม ปราศจากความกังวลไม่สมเหตุสมผล และสามารถเผชิญปัญหาหรือความเครียดได้อย่างเหมาะสม นอกจากนี้ในด้านสังคม สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้ ยอมรับและพึงพอใจในการใช้ชีวิตของตนเอง ซึ่งปัจจัยที่มีผลต่อสุขภาพจิตของบุคคลสามารถแบ่งเป็นปัจจัยภายใน เช่นลักษณะนิสัย บุคลิกภาพ การจัดการปัญหา เป็นต้น ส่วนปัจจัยภายนอกและสภาพแวดล้อม เช่น ปัญหาสัมพันธภาพในครอบครัว เศรษฐกิจ ภาระหนี้สิน ปัญหาการเมือง การไม่มีที่อยู่อาศัย ปัญหาอาชญากรรมและสารเสพติด เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีกลุ่มเสี่ยงที่มีแนวโน้มที่จะเกิดปัญหาสุขภาพจิตที่พบได้บ่อย ได้แก่ ผู้ป่วยเรื้อรัง ผู้พิการ เป็นต้น เนื่องจากข้อจำกัดในการดำรงชีวิตเพิ่มมากขึ้นกว่าบุคคลทั่วไป จึงทำให้เกิดความเครียดหรือปัญหาสุขภาพจิตอื่นได้ง่ายกว่าบุคคลทั่วไป
ในพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลบางเขา พบว่าหลายๆครอบครัวผู้สูงอายุ เด็กเล็กมักถูกทอดทิ้งโดยมีสาเหตุจากการที่บุตรหลานไปทำงานต่างถิ่นในประเทศมาเลเซียหรือต่างจังหวัด บางครอบครัวมีการสูญเสียบุตรหลาน ผู้นำครอบครัวจากเหตุการณ์ความไม่สงบในพื้นที่ ผู้สูงอายุถูกลดคุณค่าและบทบาทในการดำเนินชีวิตส่งผลให้เกิดความเครียดและอาจนำไปสู่ปัญหาสุขภาพได้ จากสภาพปัญหาดังกล่าวการแก้ไขปัญหาในเบื้องต้นควรเริ่มจากสถาบันครอบครัวที่จะแก้ปัญหาการลดช่องว่างระหว่างวัยซึ่งนับเป็นปัญหาหลักที่เกี่ยวข้องต่อการดูแลทางด้านจิตใจ เช่น การเอาใจใส่พูดคุยอย่างสม่ำเสมอ การให้ความรักความเคารพ การยกย่องยอมรับนับถือ การพาผู้สงอายุ ไปท่องเที่ยวตามโอกาสและสถานที่ที่เหมาะสม การแสดงให้เห็นความสำคัญตามวันสำคัญต่าง ๆ การดูแลด้านสังคม เช่น การแสดงความยินดีที่จะพาผู้สูงอายุไปร่วมกิจกรรมทางสังคมที่เหมาะสม ตามที่ผู้สูงอายุต้องการ เป็นต้น การดูแลด้านเศรษฐกิจ โดยการดูแลเอาใจใส่ช่วยเหลือในด้านการเงินอย่างเพียงพอและสม่ำเสมอ และไม่ควรเบียดเบียนด้านการเงินของผู้สูงอายุ นอกจากนี้ ครอบครัวควรให้ความสำคัญ และความสนใจในนำเทคโนโลยีสื่อสารสมัยใหม่มาใช้กับผู้สูงอายุ อย่างเหมาะสม เพื่อลดปัญหาช่องว่างระหว่างวัย ใช้เป็นเครื่องมือในการสื่อสารกับสมาชิกในครอบครัว ช่วยให้ ผู้สูงอายุอยู่ในสังคมและครอบครัวได้อย่างมีศักดิ์ศรี และมีคุณค่าในตนเอง รวมถึงการใช้เทคโนโลยีเพื่อการเรียนรู้ประสบการณ์แปลกใหม่ ค้นหาข้อมูลต่าง ๆ ในการดูแลสุขภาพ ในการส่งเสริมคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | เพื่อให้ผู้เข้าร่วมโครงการได้เห็นถึงสาเหตุของปัญหาสุขภาพในแต่ละวัน ปัญหาสุขภาพจิต ในครอบครัว และภาวะเครียด สามารถแก้ปัญหาได้อย่างถูกวิธี
|
60.00 | 80.00 |
2 | เพื่อส่งเสริมให้คนในครอบครัวมีเวลาให้กันและกันเข้าใจกันเพื่อสร้างความเป็นอยู่ที่ดีสำหรับคนทุกวัย
|
60.00 | 80.00 |
3 | เพื่อเป็นการลดช่องว่างของคน สามวัย ที่มีความคิดต่างกันให้มองถึงความห่วงใยซึ่งกันและกันในทางบวก
|
60.00 | 80.00 |
วันที่ | ชื่อกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) | งบกิจกรรม (บาท) | ทำแล้ว | ใช้จ่ายแล้ว (บาท) | |
---|---|---|---|---|---|---|
1 มี.ค. 67 | ประชุมเตรียมความพร้อมคณะทำงาน | 20 | 700.00 | ✔ | 700.00 | |
1 - 30 เม.ย. 67 | สำรวจและเยี่ยมเยียน | 0 | 2,000.00 | ✔ | 2,000.00 | |
1 ส.ค. 67 - 30 ก.ย. 67 | อบรมให้ความรู้ | 55 | 15,630.00 | ✔ | 15,630.00 | |
1 ส.ค. 67 - 30 ก.ย. 67 | เยี่ยมเยียนกลุ่มเปราะบาง | 0 | 11,100.00 | - | ||
รวม | 75 | 29,430.00 | 3 | 18,330.00 |
- ลดอัตราการเกิดปัญหาสุขภาพจิตหรือการเจ็บป่วยทางจิตในพื้นที่
- ประชาชนสามารถจัดการปัญหาเกี่ยวกับสุขภาพทางจิต สุขภาพทางกาย สุขภาพทางใจ ที่ก่อให้เกิดโรคเครียด โรคซึมเศร้า ฯลฯ ได้อย่างถูกวิธี
- สร้างขวัญและกำลังใจให้แก่กลุ่มเปราะบาง ผู้ป่วยเรื้อรัง ผู้พิการ และผู้ยากไร้
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 22 ม.ค. 2567 09:52 น.