กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.เมาะมาวี

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการลดโรคเบาหวานพิชิตความอ้วน ตามวิถีชุมชน เทิดพระเกิยรติ 72 พรรษา ประจำปี 2567

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.เมาะมาวี

รพ.สต.เมาะมาวี

ตำบลเมาะมาวี อำเภอยะรัง จังหวัดปัตตานี

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอาหารและโภชนาการ , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง , แผนงานสุขภาพจิต

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

โรคเบาหวาน เป็นโรคเรื้อรังที่เป็นปัญหาสำคัญด้านสาธารณสุขของทุกประเทศ และมีแนวโน้ม เพิ่มมากขึ้นทุกปี สมาพันธ์เบาหวานระหว่างประเทศ(International Diabetes Federation: IDF) คาดการว่าในปี พ.ศ. 2568 ทั่วโลกจะมีอัตราความชุกของโรคเบาหวานชนิดที่ 1 ในเด็กอายุไม่เกิน 14 ปี 6.85 ต่อประชากรแสนคนและในผู้ใหญ่ (อายุ 20-79 ปี) 5,684.93 ต่อประชากรแสนคน ซึ่งในกลุ่มนี้ประมาณร้อยละ 2.23 ไม่ได้รับการตรวจวินิจฉัยและอัตราตรวจพบประชาชนกลุ่มเสี่ยงต่อโรคเบาหวานในผู้ใหญ่ 4,356.16ต่อจำนวนประชากรแสนคน ซึ่งในกลุ่มนี้จะกลายเป็นโรคเบาหวานในโอกาสต่อไป เมื่อถึงสิ้นปี พ.ศ.2569 จะมีอัตราผู้เสียชีวิตจากโรคเบาหวานสูงถึง 68.49 ต่อประชากรแสนคน หรือร้อยละ 1.20 และมีค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษาอยู่ระหว่าง 23.94-42.59 ล้านล้านบาทหรือคิดเป็นร้อยละ 5-20 ของค่าใช้จ่ายต่อสุขภาพโดยรวม และ
หากไม่ได้รับการแก้ไขคาดว่าจะมีอัตราผู้ป่วยด้วยโรคเบาหวานทั่วโลกในปีพ.ศ.2583ทำให้แนวโน้มของอัตราผู้ป่วยด้วยโรคเรื้อรังเพิ่มสูงขึ้นโดยเฉพาะโรคเบาหวานที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลของรัฐเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
ปัจจุบันโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเมาะมาวี มีอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านที่รับผิดชอบทั้งสิ้น 84 คน ซึ่งเป็นบุคคลต้นแบบในการทำงานด้านสุขภาพในชุมชนเพื่อขับเคลื่อนโยบายตำบลจัดการสุขภาพและหมู่บ้านปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ จากผลการคัดกรองสุขภาพในปี พ.ศ.2566 พบว่ามีกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน เจาะปลายนิ้วมีน้ำตาลในเลือดสูง จำนวน 28 คน คิดเป็นร้อยละ 33.33 ตรวจร่างกายพบว่า มีรอบเอวและ BMI เกินเกณฑ์ จำนวน 60 คน หรือคิดเป็นร้อยละ 70.5
จากข้อมูลข้างต้น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเมาะมาวี ได้เล็งเห็นความสำคัญของปัญหาโรคเบาหวานและโรคอ้วน ในอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านและประชาชนกลุ่มเสี่ยงเบาหวาน ซึ่งหากไม่ได้รับการแก้ไขแล้ว จะเกิดปัญหาสุขภาพ มีอัตราการป่วยด้วยโรคเบาหวาน และมีภาวะน้ำหนักเกินหรือโรคอ้วนเพิ่มสูงขึ้น รวมถึงภาวะแทรกซ้อนอื่นๆ จากผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง เช่น โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน ภาวะไขมันเลือดสูง โรคมะเร็ง และโรคหลอดเลือดสมอง ซึ่งจะส่งผลต่อคุณภาพชีวิตและความสูญเสียทางเศรษฐกิจภายใจครอบครัว เนื่องจากค่าใช้จ่ายในการรักษาสุขภาพที่มีจำนวนเงินเพิ่มสูงขึ้นอีกด้วย แต่หากสามารถแก้ปัญหา โดยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ในกลุ่มเสี่ยงเบาหวานและกลุ่มปัญหาภาวะน้ำหนักเกินได้ ก็จะทำให้ลดอัตราการป่วยด้วยโรคเบาหวานและโรคเรื้อรังอื่นๆตามมา ดังนั้นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเมาะมาวี จึงได้จัดทำโครงการลดโรคเบาหวาน พิชิตความอ้วน ตามวิธีชุมชน ปีงบประมาณ 2567 ขึ้นเพื่อแก้ปัญหาดังกล่าว

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้กลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ควบคุมน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ (DTXZ100 mg%

อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน และประชาชนกลุ่มเสี่ยงที่มีผลการตรวจน้ำตาลในเลือดสูง (DTX ≥ 100 mg% ) สามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมควบคุมลดระดับน้ำตาลในเลือด อยู่ในระดับปกติ(DTX ≤ 100 mg% ) อย่างน้อยร้อยละ 50

0.00 0.00
2 เพื่อให้กลุ่มที่มีน้ำหนักเกิน (BMI) สามารถลดน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ปกติเกิน (วัดรอบเอวชายไม่เกิน 90 และผู้หญิง เอวเกิน 80 cm)

อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน เจ้าหน้าที่ และประชาชนที่มีภาวะน้ำหนักเกินเกณฑ์มีค่า BMI หรือน้ำหนักตัวลดลงจากเดิม 2 เปอร์เซ็น

0.00 0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 50
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/05/2024

กำหนดเสร็จ 31/07/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมเตรียมความพร้อม

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมเตรียมความพร้อม
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ไม่ใช้งบประมาณ

ระยะเวลาดำเนินงาน
2 พฤษภาคม 2567 ถึง 2 พฤษภาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมจัดอบรมกลุ่มเสี่ยงเบาหวานและกลุ่มที่มีน้ำหนัก เกินหรือ BMI เกิน

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมจัดอบรมกลุ่มเสี่ยงเบาหวานและกลุ่มที่มีน้ำหนัก เกินหรือ BMI เกิน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าวัสดุป้ายไวนิลจัดโครงการ ขนาด 1.2 x 3 เมตรๆละ250 บาท   เป็นเงิน 900 บาท
  • ค่าสื่ออุปกรณ์ป้ายไวนิล ประเภท x-stand ขนาด 80 x 180 ซม. X 2 ชิ้นๆละ 1,200 บาท เป็นเงิน  2,400 บาท
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มผู้เข้าอบรม จำนวน 50 คน  2 มื้อๆละ 35 บาท  เป็นเงิน 3,500 บาท
  • ค่าอาหารกลางวันของผู้เข้าร่วมอบรม จำนวน 50 คน 1 มื้อๆละ  80 บาท เป็นเงิน 4,000 บาท
  • ค่าคู่มือเอกสารประกอบการอบรม จำนวน 50 เล่มๆละ 50 บาท   เป็นเงิน 2,500 บาท
  • ค่าตอบแทนวิทยากร(ภาคทฤษฎีและฝึกปฎิบัติในห้องเรียน) จำนวน 5 ชั่วโมงๆละ 600 บาท x 1 วัน เป็นเงิน 3,000 บาท                รวมเป็นเงินทั้งสิ้น  16,300 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
9 พฤษภาคม 2567 ถึง 9 พฤษภาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
16300.00

กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมติดตามตรวจน้ำตาลในเลือด/ชั่งน้ำหนักของผู้เข้าร่วมโครงการ ในเดือนที่ 2

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมติดตามตรวจน้ำตาลในเลือด/ชั่งน้ำหนักของผู้เข้าร่วมโครงการ ในเดือนที่ 2
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 50 คนๆละ 35 บาท เป็นเงิน 1,750 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
3 มิถุนายน 2567 ถึง 3 มิถุนายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
1750.00

กิจกรรมที่ 4 กิจกรรมติดตามตรวจน้ำตาลในเลือด/ชั่งน้ำหนักของผู้เข้าร่วมโครงการ ในเดือนที่ 3

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมติดตามตรวจน้ำตาลในเลือด/ชั่งน้ำหนักของผู้เข้าร่วมโครงการ ในเดือนที่ 3
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 50 คนๆละ 35 บาท   เป็นเงิน 1,750 บาท
  • ค่าอาหารกลางวันของผู้เข้าร่วมอบรม จำนวน 50 คน 1 มื้อๆละ  80 บาท เป็นเงิน 4,000 บาท

              (รวมเป็นเงินทั้งสิ้น  5,750 บาท)

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กรกฎาคม 2567 ถึง 31 กรกฎาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
5750.00

กิจกรรมที่ 5 กิจกรรมติดตามประเมินผล

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมติดตามประเมินผล
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ไม่ใช้งบประมาณ

ระยะเวลาดำเนินงาน
2 กันยายน 2567 ถึง 2 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 23,800.00 บาท

หมายเหตุ :
สามารถถัวเฉลี่ยได้ทุกรายการ

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. กลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ควบคุมน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ (DTXZ100 mg%
2. กลุ่มที่มีน้ำหนักเกิน (BMI) สามารถลดน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ปกติเกิน (วัดรอบเอวชายไม่เกิน 90 และผู้หญิง เอวเกิน 80 cm)


>