กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการลดโรคเบาหวานพิชิตความอ้วน ตามวิถีชุมชน เทิดพระเกิยรติ 72 พรรษา ประจำปี 2567
รหัสโครงการ 67-L3031-1-003
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ รพ.สต.เมาะมาวี
วันที่อนุมัติ 31 มกราคม 2567
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มีนาคม 2567 - 30 กันยายน 2567
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 23,800.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายมูฮำหมัดเฟาซี ลาเต๊ะ
พี่เลี้ยงโครงการ นายมะรอกี เวาะเล็ง
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลเมาะมาวี อำเภอยะรัง จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด 6.589183,101.347691place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอาหารและโภชนาการ , แผนงานสุขภาพจิต , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 50 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคเบาหวาน เป็นโรคเรื้อรังที่เป็นปัญหาสำคัญด้านสาธารณสุขของทุกประเทศ และมีแนวโน้ม เพิ่มมากขึ้นทุกปี สมาพันธ์เบาหวานระหว่างประเทศ(International Diabetes Federation: IDF) คาดการว่าในปี พ.ศ. 2568 ทั่วโลกจะมีอัตราความชุกของโรคเบาหวานชนิดที่ 1 ในเด็กอายุไม่เกิน 14 ปี 6.85 ต่อประชากรแสนคนและในผู้ใหญ่ (อายุ 20-79 ปี) 5,684.93 ต่อประชากรแสนคน ซึ่งในกลุ่มนี้ประมาณร้อยละ 2.23 ไม่ได้รับการตรวจวินิจฉัยและอัตราตรวจพบประชาชนกลุ่มเสี่ยงต่อโรคเบาหวานในผู้ใหญ่ 4,356.16ต่อจำนวนประชากรแสนคน ซึ่งในกลุ่มนี้จะกลายเป็นโรคเบาหวานในโอกาสต่อไป เมื่อถึงสิ้นปี พ.ศ.2569 จะมีอัตราผู้เสียชีวิตจากโรคเบาหวานสูงถึง 68.49 ต่อประชากรแสนคน หรือร้อยละ 1.20 และมีค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษาอยู่ระหว่าง 23.94-42.59 ล้านล้านบาทหรือคิดเป็นร้อยละ 5-20 ของค่าใช้จ่ายต่อสุขภาพโดยรวม และ หากไม่ได้รับการแก้ไขคาดว่าจะมีอัตราผู้ป่วยด้วยโรคเบาหวานทั่วโลกในปีพ.ศ.2583ทำให้แนวโน้มของอัตราผู้ป่วยด้วยโรคเรื้อรังเพิ่มสูงขึ้นโดยเฉพาะโรคเบาหวานที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลของรัฐเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ปัจจุบันโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเมาะมาวี มีอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านที่รับผิดชอบทั้งสิ้น 84 คน ซึ่งเป็นบุคคลต้นแบบในการทำงานด้านสุขภาพในชุมชนเพื่อขับเคลื่อนโยบายตำบลจัดการสุขภาพและหมู่บ้านปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ จากผลการคัดกรองสุขภาพในปี พ.ศ.2566 พบว่ามีกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน เจาะปลายนิ้วมีน้ำตาลในเลือดสูง จำนวน 28 คน คิดเป็นร้อยละ 33.33 ตรวจร่างกายพบว่า มีรอบเอวและ BMI เกินเกณฑ์ จำนวน 60 คน หรือคิดเป็นร้อยละ 70.5
จากข้อมูลข้างต้น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเมาะมาวี ได้เล็งเห็นความสำคัญของปัญหาโรคเบาหวานและโรคอ้วน ในอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านและประชาชนกลุ่มเสี่ยงเบาหวาน ซึ่งหากไม่ได้รับการแก้ไขแล้ว จะเกิดปัญหาสุขภาพ มีอัตราการป่วยด้วยโรคเบาหวาน และมีภาวะน้ำหนักเกินหรือโรคอ้วนเพิ่มสูงขึ้น รวมถึงภาวะแทรกซ้อนอื่นๆ จากผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง เช่น โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน ภาวะไขมันเลือดสูง โรคมะเร็ง และโรคหลอดเลือดสมอง ซึ่งจะส่งผลต่อคุณภาพชีวิตและความสูญเสียทางเศรษฐกิจภายใจครอบครัว เนื่องจากค่าใช้จ่ายในการรักษาสุขภาพที่มีจำนวนเงินเพิ่มสูงขึ้นอีกด้วย แต่หากสามารถแก้ปัญหา โดยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ในกลุ่มเสี่ยงเบาหวานและกลุ่มปัญหาภาวะน้ำหนักเกินได้ ก็จะทำให้ลดอัตราการป่วยด้วยโรคเบาหวานและโรคเรื้อรังอื่นๆตามมา ดังนั้นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเมาะมาวี จึงได้จัดทำโครงการลดโรคเบาหวาน พิชิตความอ้วน ตามวิธีชุมชน ปีงบประมาณ 2567 ขึ้นเพื่อแก้ปัญหาดังกล่าว

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้กลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ควบคุมน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ (DTXZ100 mg%

อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน และประชาชนกลุ่มเสี่ยงที่มีผลการตรวจน้ำตาลในเลือดสูง (DTX ≥ 100 mg% ) สามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมควบคุมลดระดับน้ำตาลในเลือด อยู่ในระดับปกติ(DTX ≤ 100 mg% ) อย่างน้อยร้อยละ 50

0.00 0.00
2 เพื่อให้กลุ่มที่มีน้ำหนักเกิน (BMI) สามารถลดน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ปกติเกิน (วัดรอบเอวชายไม่เกิน 90 และผู้หญิง เอวเกิน 80 cm)

อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน เจ้าหน้าที่ และประชาชนที่มีภาวะน้ำหนักเกินเกณฑ์มีค่า BMI หรือน้ำหนักตัวลดลงจากเดิม 2 เปอร์เซ็น

0.00 0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 23,800.00 0 0.00
2 พ.ค. 67 กิจกรรมเตรียมความพร้อม 0 0.00 -
9 พ.ค. 67 กิจกรรมจัดอบรมกลุ่มเสี่ยงเบาหวานและกลุ่มที่มีน้ำหนัก เกินหรือ BMI เกิน 0 16,300.00 -
3 มิ.ย. 67 กิจกรรมติดตามตรวจน้ำตาลในเลือด/ชั่งน้ำหนักของผู้เข้าร่วมโครงการ ในเดือนที่ 2 0 1,750.00 -
1 - 31 ก.ค. 67 กิจกรรมติดตามตรวจน้ำตาลในเลือด/ชั่งน้ำหนักของผู้เข้าร่วมโครงการ ในเดือนที่ 3 0 5,750.00 -
2 ก.ย. 67 กิจกรรมติดตามประเมินผล 0 0.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. กลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ควบคุมน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ (DTXZ100 mg%
  2. กลุ่มที่มีน้ำหนักเกิน (BMI) สามารถลดน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ปกติเกิน (วัดรอบเอวชายไม่เกิน 90 และผู้หญิง เอวเกิน 80 cm)
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 16 ม.ค. 2567 00:00 น.